CRIME

ปคบ. ร่วมกับ อย. แถลงข่าวทลายเครือข่าย Call Center เฟส 2

หลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตัดต่อแอบอ้างภาพบุคคลมีชื่อเสียงในโฆษณา มูลค่าค่าเสียหาย กว่า 200ล้านบาท

วันนี้ (6 ก.ย. 65) เวลา 10:00 น. ณ กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พล.ต.ต. อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. และคณะ พร้อมด้วย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา และนางอรัญญา เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการ กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่วมกันแถลงข่าว จับกุมเครือข่าย Call Center เปิดบริษัทสร้างข้อมูลเท็จหลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ แอบอ้างบุคคลผู้มีชื่อเสียง เป็นเหตุให้ผู้บริโภคหลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้ามูลค่าความเสียหายกว่า 219 ล้านบาท พร้อมตรวจยึดของกลางได้กว่า 33 รายการ และตรวจสอบพบว่าบริษัทดังกล่าวมีเงินหมุนเวียนมากกว่า 600 ล้านบาท

พ.ต.อ.เนติ ระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 มีดีเจมาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กก.4 บก. ปคบ. ว่าเพจเฟซบุ๊กชื่อ Center for the health of the nation นำรูปถ่ายของตนเอง ไปทำการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ ลดน้ำหนัก Efferin โดยที่ไม่ได้รับรู้หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง

อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนจนทราบว่าบริษัทของกลุ่มผู้ต้องหาเป็นผู้ดำเนินการโฆษณาโดยใช้ ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านช่องทางเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวนหลายรายการ ได้แก่ เครื่องสำอาง เช่น Havita, Calmerol, Bustwell Everlift ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น Efferin, Bravits, Diaherbal, Garcinia Complex, Eranol เป็นต้น

บริษัทดังกล่าว จะใช้รูปแบบการโฆษณาขายสินค้าด้วยข้อความ อันเป็นเท็จ มีการตัดต่อรูปภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง แพทย์หรือสถานพยาบาลชื่อดัง มาใช้ประกอบการโฆษณา และมีการ จัดทำผู้ซื้อสินค้าและผู้รีวิวการใช้ปลอมขึ้น เพื่อหลอกหลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อสรรพคุณของสินค้า จากนั้นฝ่ายขายของ บริษัท ซึ่งทำงานในลักษณะ Call Center ติดต่อโน้มน้าวให้ผู้ซื้อหลงเชื่อตัดสินใจซื้อสินค้าดังกล่าว ภายหลังจากที่ผู้บริโภค ได้ใช้สินค้าก็พบว่าไม่มีสรรพคุณตามที่โฆษณาหลอกลวงไว้แต่อย่างใด

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงรวบรวม พยานหลักฐานเพื่อขอหมายจับกลุ่มผู้ต้องหาดังกล่าว จำนวน 4 ราย ในข้อหาร่วมกันโฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยรวม และข้อหาร่วมกันทุจริตหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์บี่บิดเบือน ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน

ต่อมา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. ได้ทำการจับกุม น.ส.อิสรีย์ และนายพิศิษฐ์ (ขอสงวนนามสกุล) และในวันที่ 29 สิงหาคม 2565 อีก 2ราย ขณะเดินทางกลับจากต่างประเทศ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ประสาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจค้นสถานที่ที่มีความ เกี่ยวข้องกับบริษัทดังกล่าว จำนวน 6 แห่ง พร้อมตรวจยึดพยานหลักฐานต่าง ๆ ในคดี และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย จำนวน 33 รายการ มูลค่า ประมาณ 24 ล้านบาท

จากการสอบปากคำผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย ยังให้การปฎิเสธ แต่ให้การรับว่า บริษัทดังกล่าวจักคั้งขึ้นมาขายผลิตภัณฑ์สุขภาพในลักษณะ Call Centerผ่านระบบออนไลน์ ต่าง ๆ โดยเรื่องโฆษณา ได้มีการจ่ายเงินว่าจ้างโฆษณาให้กับบริษัทต่างประเทศ (เวียดนาม, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) จำนวน 188 ล้านบาท โดยมีการตัดต่อภาพ และสร้างข้อความอันเป็นเท็จในการโฆษณา

อีกทั้งจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 บริษัท มีรายได้จาก การหลอกหลวงขายผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้บริโภค ประมาณ 219 ล้านบาท และตรวจสอบยังพบว่ามีเงินหมุนเวียน มากกว่า 660 ล้านบาท

ด้าน นางอรัญญา เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียน และปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าวย้ำเตือนประชาชน ขออย่าได้หลงเชื่อโฆษณาที่หลอกลวงเกินจริง และสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ มาใช้โดยหวังผลการรักษาโรค เช่น เบาหวาน หลอดเลือดต่อมลูกหมาก เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ปัญหาการได้ยิน ลดริ้วรอยย้อนอายุไป 30 ปี เป็นต้น

นางอรัญญา เปิดเผยต่อว่าในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐาน หรือผลการทดสอบประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์ของ ผลิตภัณฑ์มาสนับสนุน ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่า อาหารหรือเครื่องสำอางไม่มีสรรพคุณรักษาโรค ขอให้ผู้บริโภค คิดไตร่ตรองให้รอบคอบ หากหลงเชื่อซื้อสินค้าที่รักษาไม่ได้จริงตามที่กล่าวอ้าง จะทำให้สูญเสียทั้งเงิน และเสียโอกาสในการ รักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทาง ทั้งนี้มีผลิตภัณฑ์หลายรายการที่ อย. ได้เคยออกข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ศูนย์ ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) และเว็บไซต์ อย. เช็ค ซัวร์ แชร์ แล้ว และจะติดตาม เฝ้าระวัง ข่าวปลอมของผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง หากพบแหล่งผลิตหรือ จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรืออาจไม่ปลอดภัยในการบริโภค ขอให้แจ้งเบาะแสร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

Related Posts

Send this to a friend