PEOPLE

เลขาธิการศาลยุติธรรมเผย อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 9 เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอสังคมเข้าใจการทำหน้าที่ผู้พิพากษา แทรกแซงไม่ได้

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า ได้พูดคุยกับนายเพิ่มศักดิ์ สายสีทอง อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 9 ถึงกรณีที่ถูกพาดพิงในคำแถลงการณ์ของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นศาลจังหวัดยะลาว่า แทรกแซงคำพิพากษา โดยระบุว่า

“ท่านเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่านมองว่าการปฏิบัติหน้าที่ที่ผ่านมา ทำไปตามระบบ ไม่มีเจตนาจะแทรกแซง ท่านพูดคำหนึ่งบอกว่า ถ้าท่านบอกผมยืนยันว่าจะตัดสินอย่างไรก็ออกไปตามนั้นได้ เพียงแต่ที่ท่านทักท้วงเพื่อให้กระบวนการต่างๆพิจารณารอบคอบ แค่นั้นเองครับ ท่านไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น ท่านเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาก ที่ผานมาการสื่อสารอาจคลาดเคลื่อนบ้าง ซึ่งอนุกรรมการวิสามัญจะไปหาความจริงนำมาเสนอต่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เพื่อให้บอกกับสังคมได้ว่าเกิดอะไรขึ้น และจะแก้ไขยังไง”

ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก.ต.ได้แต่งตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. และได้ประชุมนัดแรก วันที่ 8 ต.ค.เพราะกรอบเวลาที่ ก.ต.ให้มี 15 วัน จึงต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลา มีการวางกรอบการทำงาน และลงพื้นที่ แนวทางการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ

ก.ต.ได้วางแนวทางให้ตรวจสอบทุกประเด็นที่เป็นข่าว กระแสวิจารณ์ เน้นไปที่ความอิสระของผู้พิพากษา การแทรกแซงการทำงานของผู้พิพากษามีหรือไม่ รวมทั้งประเด็นอื่นๆที่ วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม กรอบ 15 วันเชื่อว่าทันตามกรอบเวลา ทั้ง 3 ท่าน รู้ว่าเป็นปัญหาสำคัญ

ส่วนการใช้อาวุธปืนในห้องพิจารณาคดี กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำแถลง เป็นเรื่องที่ อนุกรรมการจะไปวางทั้งสองประเด็น การใช้อาวุธปืน และการตรวจคำพิพากษามีการแทรกแซงจริงหรือไม่

กรณีที่พาดพิงถึงผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวเนื่อง มีความเป็นห่วงความโปร่งใส แม้อนุกรรมการจะมาจาก 3 ศาล

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรม

นายสราวุธ กล่าวว่า เรื่องนี้เรายอมรับว่ามีปัญหาเมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้ว แนวทางแก้ไข ก.ต.เป็นคนกำหนดนโยบาย การบริหารงานบุคคล การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นอำนาจของ ก.ต.แม้อธิบดีภาค จะย้ายผู้พิพากษา ถ้าผู้พิพากษาไม่ยินยอม ไม่ได้ ซึ่งอำนาจประธานศาลฏีกายังไม่มี จะทำได้เมื่อ ก.ต.เห็นชอบในที่ประชุม ก.ต.เท่านั้น จะย้ายนอกวาระไม่ได้

“ถ้าไม่ทำตามแล้วจะถูกย้ายไม่ได้ ก.ต.จะให้การคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระ”

กรณีมีการขอให้ย้ายผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นายสราวุธเห็นว่า เป็นประเด็นหลังจากข้อเท็จจริงปรากฏชัด มีสองส่วนในส่วนผู้ได้รับผลกระทบที่รักษาตัวอยู่ ทั้งในสภาพร่างกายและจิตใจ เป็นลำดับแรกที่ต้องดูแลก่อน ส่วนการบริหารงานบุคคล จะให้ท่านอยู่ที่ไหน ก.ต.ต้องพิจารณา มีเหตุผลตอบสังคมได้ ทางโซเซียล ในโลกออนไลน์ มีการแบ่งฝ่ายกันชัดเจน ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พยายามแตกแยกทางความคิด อันตราย ทั้งๆที่ฟังข้อมูลไม่ครบถ้วน

การพาดพิงอธิบดี จะมีการย้ายไหม

เรื่องนี้มีการพูดถึง แต่การย้ายนอกวาระโดยไม่ได้รับความยินยอมทำไม่ได้ ตามกฎหมาย ม.21 พ.ร.บ.ระเบียบตุลาการศาลยุติธรรม 2543 ทำไม่ได้  ดังนั้น กระบวนการต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่กรรมการสอบ ระบบการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษา มีหลักเกณฑ์ชัดเจน ระบบการทำงานมีการตรวจสอบ ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
และการให้ย้ายผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การตรวจสอบที่โปร่งใส ก.ต.จะพิจารณาหลังจากมีข้อเท็จจริงแล้ว

มีการแทรกแซงจริงหรือไม่ เป็นปัญหาที่ต้องหาข้อเท็จจริง แต่ในทางปฏิบัติ คำพิพากษาแทรกแซงไม่ได้อย่างไร

นายสราวุธ ตอบว่า การที่ผู้พิพากษามาทำงานแต่ต้นต้องถวายสัตย์ฯ การทำงานมีองค์คณะ หัวหน้าศาลหรือ อธิบดีจะไปสั่งไม่ได้ ในระบบการตรวจสอบภายในเราสร้างกลไกคุ้มครองประชาชน กำหนดแนวทางเดียวกัน เพื่อเกิดความเป็นธรรมกับสังคม ระบบการตรวจสอบคำพิพากษามีมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองประโยชน์ประชาชน อธิบดีไม่สามารถสั่งอธิบดี เปลี่ยนคำตัดสินตามความเห็นของตัวเอง การทำคำพิพากษา ถ้าความเห็น ต่างกัน คนที่ลงโทษยอมตามคนยกฟ้อง อธิบดีหรือหัวหน้า ถ้ามีเห็นความต่างจากคณะ ก็ทำความเห็นแย้ง

“สิ่งที่อธิบดีทำได้เมื่อแนะนำไปแล้ว องค์คณะบอกยกฟ้อง อธิบดีก็ต้องยอม แล้วให้ทำความเห็นแย้ง เพื่อประโยชน์ในชั้นศาลอุทธรณ์ และฎีกา”

นายสราวุธ ยืนยันด้วยว่า การส่งตรวจร่างการปรับให้แก้ไข ทำได้ การกระทำลักษณะเดียวกัน กระบวนการตรวจตรงนี้วางบรรทัดฐานเป็นแนวทางเดียวกัน ต้องทำตามขั้นตอนตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ไม่ไปแทรกแซงผลคำวินิจฉัย

“กระบวนการอย่างนั้นไม่ใช่การแทรกแซง เป็นการคานอำนาจ ให้ทบทวนโต้แย้ง สำนวนได้ จะยากและซับซ้อนกว่าศาลชั้นต้นด้วยซ้ำ

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรม และ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย The Reporters
กรณีที่ผู้พิพากษาคณากรบอกว่า การส่งร่างไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ และการเผยแพร่เอกสารลับ อ้างเป็นลายเซ็นต์อธิบดี

นายสราวุธ ตอบว่า เอกสารคำพิพากษา เป็นเอกสารลับ การทักท้วงการตรวจใส่ซองลับ ไม่มีใครรู้ได้ ลับเพราะอยู่ในขั้นตอนก่อนอ่านคำพิพากษา ตอนนี้สังคมสับสนไม่รู้เอกสารจริงหรือปลอม เป็นหน้าที่อนุกรรมการวิสามัญตรวจสอบ อธิบดีภาค 9 ไม่เคยชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก เป็นการทำเอกสารปลอม

สำหรับคดีความมั่นคงที่เกิดในจังหวัดชายแดนใต้ ทางศาลยุติธรรม เป็นห่วงไหมคะ

“เรามีระบบรายงาน ศาลยุติธรรมให้ความสนใจสนับสนุนทุกฝ่าย ตำรวจทหารไม่เคยมาแทรกแซงการทำหน้าที่ ศาลมีความเป็นกลาง จะลงโทษตามพยานหลักฐาน ประมวลกม.อาญา จะลงโทษโดยปราศจากข้อสงสัย ศาลใช้หลักการนี้ จะไม่ลงโทษคนโดยมีเหตุสงสัย ไม่แน่ใจจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่ผิดจริง เราลงโทษเขาไม่ได้ ในกระบวนการทำงาน เรามั่นใจว่าผู้พิพากษา ที่ทำงานในพื้นที่ มีอิสระ ผู้พิพากษา 5,000 กว่าคน ที่สำนักงานศาลยุติธรรม ดูแลอยู่ ถ้าร้องเรียนว่ามีการแทรกแซง จะรายงาน ก.ต.เราถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นหลักการสำคัญ

นายสราวุธ ยืนยันว่า ทางศาลพร้อมน้อมรับฟังคำวิจารณ์ ศาลเป็นสถาบันหนึ่งของสังคม เราก็มีส่วนเชื่อมโยงกับประชาชน ถ้ามีข้อเสนอแนะ เราพร้อมรับฟัง น้อมรับ

“ฝากประชาชน การรับฟังข้อมูลข่าวสารต้องใช้วิจารณญาณ อย่างเชื่อเรื่องใดๆ ฝากศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหนึ่ง เป็นสถาบันของชาติ การทำหน้าที่ของเราทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน ถ้าเราไม่ฟังประชาชน เราก็ทำหน้าที่ลำบาก” นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรม

Related Posts

Send this to a friend