INVESTMENT

AIS ชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 MHz ตอกย้ำผู้ให้บริการ 5G ที่มีแบนวิธกว้างสุด

นายวรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะผู้บริหารบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ล่าสุดเป็นตัวแทนเพื่อ ชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz งวดที่ 3 จำนวน 1,881,488,000.00 บาท (หนึ่งพันแปดร้อยแปดสิบเอ็ดล้าน สี่แสนแปดหมื่นแปดพันบาทถ้วน ) รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยมี นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นผู้รับมอบเพื่อนำส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป

นายวรุณเทพ กล่าวว่า “การชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ครั้งนี้ นับเป็นการชำระเงินงวดที่ 3 โดยหลังจากที่ AIS ได้ประมูลคลื่นความถี่ มาเราก็เดินหน้าพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของโครงข่าย 5G ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นำมาสู่การเชื่อมต่อประสบการณ์การใช้งาน ทั้งในมุมของผู้บริโภค และในมุมของภาคอุตสาหกรรม ถึงวันนี้ AIS ยังเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย ที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ ซึ่งถ้ารวมเฉพาะคลื่นความถี่ ที่จะนำมาให้บริการ 5G มีทั้งหมดอยู่ที่ 1330 MHz บนคลื่นความถี่ 700 MHz ที่มีอยู่ จำนวน 30 MHz (2×15 MHz), คลื่น 2600 MHz ที่มีอยู่จำนวน 100 MHz และคลื่น 26 GHz ที่มีอยู่จำนวน 1200 MHz ส่งผลให้เอไอเอสยังคงยืนหยัด ในฐานะผู้นำอันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการ 3G , 4G และ 5G มากที่สุดในอุตสาหกรรม รวม 1420 MHz (ไม่รวมคลื่นที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ)”

“ปัจจุบัน AIS 5G ให้บริการครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ แล้วกว่า 85% และครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 99% โดยเฉพาะคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นโครงข่าย 5G ที่มีแบนวิธีกว้างที่สุดของอุตสาหกรรม ที่มีมาตรฐานระดับโลก ซึ่งที่ผ่านมา AIS ในฐานะผู้นำตลาด เราให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเครือข่าย เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมอยู่เสมอ เพราะเราเชื่อว่าคุณสมบัติของ 5G จะมาพลิกโฉมการทำงานของทุกอุตสาหกรรม ที่ได้พิสูจน์แล้วว่าโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G สามารถทำให้การรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ความเสถียรมากขึ้น สามารถใช้ได้กับภาคธุรกิจ ที่ต้องการให้บริการงาน ที่ต้องการความแม่นยำสูง (Critical application) เช่น Mobile Cloud Gaming ที่ต้องการ Interactive แบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว Real Time หรือแม้แต่ตัวอย่างสำหรับภาคอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน การควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ หรือการผ่าตัดทางไกล เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ AIS ที่ต้องการเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co”

Related Posts

Send this to a friend