ART & CULTURE

‘เมืองโบราณศรีเทพ’ และ ‘กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง’ ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น มรดกโลก

นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก สมัยประชุมที่ 43 ณ.เมืองบากู สาธารณรัฐ อาเซอร์ไบจัน ที่ประชุมมีมติรับรองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ และ กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด จ.บุรีรัมย์ ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) โดยประเทศไทยจะต้องเตรียมจัดทำเอกสารเพื่อนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เข้าสู่บัญชีมรดกโลกต่อไป

เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

เมืองโบราณศรีเทพ

จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพโดยกรมศิลปากรพบว่า  เมืองโบราณศรีเทพมีความเก่าตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2,500 ปี และได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ซึ่งได้นำมาศึกษาเพื่อค้นหาอายุพบว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 1,800 ปี และ ยุคทวารวดีที่มีความเก่าแก่ถึง 1,400 ปี ถือว่าเป็นเมืองยุคทวารวดีที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีความเจริญสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงยุควัฒนธรรมเขมรโบราณซึ่งได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจนถึงเมืองโบราณศรีเทพ โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในรูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่มีอายุกว่า 1,000 ปี

ในอดีตเมืองโบราณศรีเทพเป็นที่ตั้งของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี เป็นจุดเชื่อมโยงการผสมผสาน แพร่กระจายทางวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางวัฒนธรรมสำคัญในภูมิภาค ชุมชนมีการพัฒนาขึ้นเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ในวัฒนธรรมทวารวดี อายุกว่า 1,400 ปี และสืบเนื่องความเจริญมาจนถึงวัฒนธรรมเขมรโบราณ อายุกว่า 1,000 ปี และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่มีความสำคัญโดดเด่นในพื้นที่ศูนย์กลางภูมิภาคตอนในของประเทศไทย แสดงถึงภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์และผสมผสานงานศิลปกรรมทางพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจนมีเอกลักษณ์รูปแบบเฉพาะสกุลช่างของตนเอง

เทวสถานปราสาทพนมรุ้ง บุรีรัมย์

เทวสถานปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ตั้ง อยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ 77 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว คำว่า พนมรุ้ง ซึ่งเป็นนามเรียกขานภูเขาไฟและตัวปราสาทนี้เป็นนาม ที่มีมานานแล้ว ปรากฎครั้งแรกพร้อมกับการสร้างปราสาทหลังแรกๆ บนภูเขาแห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแป ความหมายของคำว่า พนมรุ้ง ไว้ในวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต เรื่อง จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2521 ความว่า พนมรุ้ง หรือ วนํ รุง เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภูเขาอื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงอันได้แก่ ภูเขาอังคาร ภูเขาหลุบ ภูเขาคอก ภูเขาไปรบัด พนมรุ้งเป็นภูเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สอดคล้องกับพระวินิจฉัยนั้น

ด้วยความเหมะสมของภูมิที่ตั้งซึ่งเป็นภูเขาไฟบวกกับความโอฬารของปราสาท และการประดับตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักที่วิจิตรบรรจง ทำให้ ปราสาทพรมรุ้งมีความอลังการโดดเด่นเป็นสง่าดังทิพยพิมานแห่งเทพบนเขาพระ สุเมรุตามที่ได้รจนาไว้ในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู 
ปราสาทพนมรุ้งเป็น ปราสาทที่สร้างขึ้นโดยกำหนดให้หันหน้าสู่ทิศตะวันออก อันเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น ด้วยถือกันว่าเป็นทิศแห่งความเจริญรุ่ง เรืองและแสงอาทิตย์ยามเช้าที่สาดส่องมากระทบกับศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ แทนองค์พระศิวะเกิดเป็นรัศมีเหลืองอร่ามดุจดังทอง ก็ถือกันว่าเป็น การเพิ่มพลังให้แก่องค์พระศิวะชั่วกัลปาวสาน

ปราสาทหินเมืองต่ำ

ปราสาทหินเมืองต่ำ 

ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทาง ทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 64 กิโลเมตร ปราสาทเมืองต่ำเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน การวางผังปราสาทเมืองต่ำ ค่อนข้างแตกต่างจากปราสาทแห่งอื่น ๆที่มีจำนวนองค์ปรางค์เท่ากัน ซึ่งนิยมสร้างองค์ปรางค์ประธานไว้ ตรงกลาง ส่วนองค์ปรางค์บริวารที่เหลืออีก 4 องค์ นั้นจะสร้างไว้ที่มุมของทิศทั้งสี่ เช่น ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น แต่ที่ปราสาทเมืองต่ำจะวางตำแหน่งของปรางค์อิฐทั้ง 5 องค์ เป็น 2 แถวตามแนว ทิศเหนือใต้ แถวแรกจะมีองค์ปรางค์จำนวน 3 องค์ ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ๆ

ปราสาทปลายบัด ๒

ปราสาทหินปลายบัด

ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปรางค์ก่อ ด้วยอิฐขัดเรียบไม่สอปูน เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุม มีประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกอีก 3 ด้าน ทำด้วยหินทรายทับหลังจำหลักเป็นภาพเทวดานั่งแท่น อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มือทั้งสองข้างจับลำพวงมาลัย สองข้างฐาน ปรางค์ทางด้านเหนือและใต้มีชานทางเดิน ขนาดประมาณ 3 x 18.50 เมตร สภาพปัจจุบันพังทลายเหลือเพียง ผนังด้านทิศเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 5 x11.50 เมตร ที่ผนังด้านในทำเป็นมุขขนาดประมาณ 1.50 x3.80 เมตร ตรงกลางเป็นประตู เสาและกรอบประตูเป็นหินทราย บริเวณปราสาทหินปลายบัดนี้ เคยพบทับหลังหินทรายจำหลักรูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ ปราสาทหินปลายบัด มีอายุสมัย ประมาณพุทธศษตวรรษที่ 16

ข้อมูล-ภาพ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ThaiGov

 

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Send this to a friend