HUMANITY

ส่งท้าย Pride Month : ทำความเข้าใจอัตลักษณ์ที่หลากหลายอย่างให้เกียรติ

ในกรอบการมองโลกแบบทวิลักษณ์ (binary) ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะเรียกคนที่ดูมีความเป็นหญิง (feminine) ว่า She และเรียกคนที่ดูมีความเป็นชาย (masculine) ว่า He รวมไปถึงการผูกติดความเป็นชายหรือหญิงไว้ของสิ่งของ สี หรือรูปร่างหน้าตาอีกด้วย เช่น ผู้ชายเหมาะกับสีฟ้า สวมได้แค่กางเกง ถ้าเป็นเด็กผู้ชายก็คงจะได้เล่นแค่รถถัง หุ่นยนต์ ถ้าหากเป็นเด็กผู้หญิงก็เติบโตมากับการใส่กระโปรง เหมาะกับสีชมพู มีของเล่นแค่บาร์บี้ ตุ๊กตาน่ารัก ๆ เป็นต้น แต่ความหลากหลายในปัจจุบันทำให้เห็นแล้วเพศไม่ได้มีแค่หญิงกับชาย เพราะฉะนั้นการเรียกผู้อื่นก็ไม่ได้มีแค่ She/Her หรือ He/Him เท่านั้นเหมือนกัน

ปัจจุบันแต่ละคนนิยามตัวเองด้วยสรรพนามที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าคนที่มีหนวดเครา ผมเกรียน มีกล้ามใหญ่ จะเลือกใช้สรรนาม She/Her ถึงแม้เขาจะนิยามตัวเองว่าเป็นผู้ชายตามเพศสภาพ (cisgender) เพราะการระบุตัวตนไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งคนอื่นเห็นแต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราอยากให้ตัวเองเป็นต่างหาก การมองโลกแบบทวิลักษณ์ที่มีแค่เพศหญิงกับชายคงไม่สามารถทำให้เราเข้าใจตัวตนของผู้อื่นได้ กลับกันมุมมองแบบ non-binary ช่วยให้เราก้าวข้ามเส้นแบ่งตัวตนของมนุษย์ที่มีแค่หญิงกับชาย ปัจจุบันเราจึงได้เห็นผู้นำประเทศในหลากหลายที่รวมถึงองค์กรและสถาบันต่าง ๆ พยายามเปิดรับความหลากหลายให้ได้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ใครรู้สึกถูกละเลยไปจากสังคม

อย่างในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (University of Columbia) เปิดรับความหลากหลายโดยการให้นักศึกษาระบุสรรพนามของตัวเองลงในเว็บไซต์ระบบของมหาวิทยาลัย ซึ่งข้อมูลนี้จะไปปรากฎในระบบเพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเรียกนักศึกษาตามที่ระบุไว้ได้โดยไม่เป็นการบิดเบือนอัตลักษณ์ของพวกเขา เพื่อให้นักศึกษาได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ที่ตัวเองเป็นคนเลือกเองและเป็นการให้เกียรติกันในสังคมที่มีความหลากหลายนั้นเอง

นอกนี้ทางมหาวิทยาลัยยังรักษาความเป็นส่วนตัวของนักศึกษาโดยการไม่ระบุสรรพนามในใบสำเร็จการศึกษาและไม่ให้ผู้ปกครองเห็นด้วย ตัวอย่างสรรพนามที่ใช้เรียกกันในปัจจุบัน ได้แก่
• She/Her/Hers
• He/Him/His
• They/Them/Their
• Ze/Hir/Hirs

ตัวอย่างที่ปรากฎข้างต้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ในโลกที่อุดมไปด้วยความแตกต่างนี้ยังมีอีกหลากหลายชื่อให้เราได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกันต่อไป ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าควรจะใช้สรรพยามใดดี วิธีที่ดีคือการสอบถามคู่สนทนาไปตรง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงกับตัวตนของผู้ถูกเรียกมากที่สุดและยังแสดงออกถึงการให้เกียรติกันอีกด้วย เช่น
• สรรพนามของคุณคืออะไร ?
• คุณอยากให้ฉันนิยามคุณอย่างไร ?
• ฉันชื่อ xx สรรพนามของฉันคือ She/Her แล้วของคุณล่ะ ?

สุดท้ายนี้ แม้ว่าสำหรับใครหลาย ๆ คน การใช้สรรพนามที่ไม่คุ้นเคยกับคู่สนทนาอาจจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ แต่ในฐานะพลเมืองของโลกจึงเป็นเรื่องที่เราต้องคอยปรับตัวและทำความเข้าใจเอาไว้ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้เกียรติและอยู่ร่วมกับความหลากหลายได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เรียบเรียง ณัฐริฎา ศิริสอน

อ้างอิง

https://universitylife.columbia.edu/pronouns-FAQ-students
Gender Pronouns | LGBTQ+ Resource Center (uwm.edu)
ธาวินี กฤตสรรค์วงศ์ – Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Chiang Mai University (cmu.ac.th)

ภาพ: แฟ้มภาพงาน Pride Month

Related Posts

Send this to a friend