HEALTH

ร้านเสริมสวย วิถีใหม่ในยุคโควิด-19 สวย ปลอดภัย ใช้เวลาน้อยที่สุด

ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม เป็นกลุ่มกิจการ กิจกรรมแรกที่ได้รับการผ่อนปรนตามมาตรการคลายล็อกของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยมีมาตรการควบคุมหลักที่ร้านเสริมสวย และร้านตัดผมต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ โดยในช่วงแรกร้านสามารถเปิดให้บริการเฉพาะบริการตัดผม สระผม แต่งหรือไดร์ผม โดยจัดร้านให้มีการระบายอากาศเพียงพอ และงดเว้นบริการที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสถูกสารคัดหลั่งหรือเลือด เช่น แคะหู ตัดขนจมูก ทำเล็บ งดเว้นบริการที่มีระยะเวลานาน เช่น ทำสีผม ยืดผม จัดให้มีระบบนัดคิวล่วงหน้า และให้มารับบริการตามเวลานัด โดยไม่มีการนั่งรอคิวภายในร้าน งดเว้นบริการที่ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมกันที่ไม่สามารถทำความสะอาดทันทีหลังการใช้งานของลูกค้าแต่ละคนได้ เช่น อุปกรณ์แต่งหน้า

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จับมือกับ ลอรีอัล ประเทศไทย แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ จัดบรรยายให้ความรู้รายละเอียดมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับร้านเสริมสวย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ ของ ลอรีอัล ประเทศไทย โดยมีเจ้าของร้านเสริมสวย ช่างผม เจ้าหน้าที่ในร้านเสริมสวย และประชาชนผู้สนใจรับชมการบรรยายออนไลน์ดังกล่าวกว่า 9,000 ครั้ง ตอกย้ำบทบาทของลอรีอัล ในการช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจร้านเสริมสวยในประเทศไทย และเป็นหนึ่งกิจกรรมในโครงการ L’Oréal Thailand Salon Solidarity

(จากซ้าย) นพ. สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย นางสาวบุณยนุช ธรรมวรานนท์ ผู้จัดการทั่วไป แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด และ นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด

พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การพิจารณาจะให้กลับมาเปิดกิจการใดขึ้นอยู่กับว่ากิจการ หรือกิจกรรมนั้นๆ มีความจำเป็นต่อประชาชนหรือไม่ ซึ่งได้มีการพิจารณาแล้วว่าการตัดผม แต่งผม สระไดร์ เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน และประชาชนยังมีความต้องการการให้มีช่างผมอาชีพมาดูแล แต่เมื่อเปิดกิจการ กิจกรรมใดให้แล้วก็อยากให้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยเน้นที่การคัดกรองทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ การจัดเก็บข้อมูล ความสะอาดของร้านและอุปกรณ์ การลดความแออัดในร้านด้วยการทำระบบนัดไม่มานั่งรอ รวมไปถึงการใช้เวลาในร้านให้สั้นที่สุด

ด้าน นพ. สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย เน้นย้ำในเรื่องการคัดกรอง สอบถามประวัติเบื้องต้นของผู้มาใช้บริการ และเน้นเรื่องการทำความสะอาดทั้งภายในร้าน อุปกรณ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสม การจัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ให้บริการ รวมไปจนถึงการพักให้มีการระบายอากาศสำหรับร้านที่ติดเครื่องปรับอากาศ และการป้องกันตัวเองของช่าง ที่ควรใส่หน้ากากผ้า เฟซชิลด์ และเสื้อคลุมโดยขอให้ช่างผมล้างมือให้บ่อย และรักษาความสะอาดอุปกรณ์ทุกชิ้นต่อการใช้งานต่อคน

นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การปฏิบัติมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับทุกๆ ฝ่ายในการป้องกันการแพร่ระบาด ลอรีอัล ประเทศไทย ในฐานะพันธมิตรที่เคียงข้างช่างผมมากกว่า 110 ปี รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับกรมอนามัยในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับร้านเสริมสวย ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยของช่างผม พนักงานในร้าน และลูกค้า อีกทั้งเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าในการเข้ารับบริการในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้

ทั้งนี้มาตรการสำหรับร้านเสริมสวย ร้านทำผมตามคู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขที่ออกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ประกอบด้วย

การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ป้องกันโรค

  • ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการ ให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
  • เว้นระยะห่างระหว่างเก้าอี้ตัดผม อย่างน้อย 5 เมตร
  • ควรให้มีฉากกั้นในการให้บริการ และลดการพูดคุยที่ไม่จำเป็นระหว่างให้บริการ
  • พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลง เท่าที่จำเป็น และงดรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
  • ให้มีการเปลี่ยนผ้าคลุมตัดผมทุกครั้งที่ให้บริการ (ผู้รับบริการแต่ละคนไม่ใช้ผ้าคลุมเดียวกัน)
  • จัดการให้มีการระบายอากาศภายในร้านที่ดี
  • บันทึกข้อมูลของผู้เข้าใช้บริการ หรือในบางพื้นที่อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัว
  •  

การเตรียมความพร้อมในการให้บริการ

  • มาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานทุกคน โดยอาจตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายพนักงานทุกคนก่อนเข้าทำงานทุก ครั้ง และให้มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการดูแล หรือส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วยไป สถานพยาบาล
  • จัดให้มีการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการก่อนเข้าร้าน
  • ขยายระยะเวลาในการเปิดบริการ เพื่อรองรับการเหลื่อมเวลาการทำงานของพนักงาน

มาตรการในการป้องกันโรค

  • สวมหน้ากากผ้า หรือ หน้ากากอนามัยทั้งผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ ตลอดเวลาที่อยู่ในร้าน
  • งดให้บริการผู้ที่มีอาการดังนี้ มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ
  • เปิดให้บริการได้ เฉพาะการตัดหรือซอย และไดร์ผม เท่านั้น และกำหนดให้ใช้เวลาให้บริการไม่เกิน 1 ชั่วโมง ต่อผู้รับบริการ 1 คน หรือให้บริการในเวลาที่สั้นที่สุด
  • กำกับให้ผู้ให้บริการทุกคน สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ถุงมือยาง ผ้ากันเปื้อน และ Face shield เป็นต้น
  • จัดเตรียมสถานที่ล้างมือพร้อมสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล 70% อย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาที่ให้บริการ
  • หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานในร้าน เป็นผู้ป่วยยืนยัน หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าร้านอาจเป็นจุดแพร่เชื้อ
  • ได้ ให้เจ้าของร้านปิดร้านอย่างน้อย 1 วัน ทำความสะอาดสถานที่ และดำเนินการตาม
  • ประกาศของกรมควบคุมโรค
  • จัดให้มีการบันทึก รายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วันที่และเวลา ของลูกค้าทุกราย
  • ที่มาใช้บริการ เพื่อให้สามารถติดตามตัวได้ กรณี ต้องมีการสอบสวนโรค หรือ จัดให้มีการ
  • ใช้ระบบกำกับติดตามผ่าน application
  • ควรลดการใช้เงินสด และเปิดให้มีการรับชำระเงินผ่าน e-payment

การทำความสะอาด

  • จัดให้มีแอลกอฮอล์เจลบริเวณทางเข้าร้านและจุดที่มีการใช้งานร่วมกันบ่อย ๆ เช่น หน้าประตูทางเข้าร้าน และห้องต่างๆ
  • ทำความสะอาด ล้างภาชนะอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ให้สะอาด ภายหลังมีผู้มาใช้บริการทุกครั้ง ด้วยน้ำยาทำความสะอาด เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือ โซเดียมไฮโปรคลอไรท์ 0.1% หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของคลอรีน หรือนึ่งหรือต้มหรืออบด้วยความร้อนที่ อุณหภูมิอย่างน้อย 70°C
  • เครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดผม ผ้ายางพลาสติก ผ้าคลุมตัว ต้องทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนนำกลับมาใช้กับผู้รับบริการรายอื่น
  • วัสดุ อุปกรณ์ที่สัมผัสผิวหนังและสารคัดหลั่งของผู้ใช้บริการ เช่น มีดโกน ถุงมือ ไม่นำมาใช้ซ้ำกับผู้รับบริการรายอื่น และทิ้งของมีคมที่ใช้แล้วในภาชนะที่ปลอดภัยและแยกไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อนำไปรวบรวมและส่งกำจัดอย่างถูกต้อง
  • ห้ามรับประทานอาหารในพื้นที่ให้บริการ
  • ทำความสะอาดสถานที่ โต๊ะ เคาน์เตอร์ อุปกรณ์ ทุก 2 ชั่วโมง
  • จัดเตรียมเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ หมวกคลุมผม หน้ากากอนามัย และถุงมือสำหรับพนักงานทำความสะอาด
  • จัดให้มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และมีภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด สำหรับใส่ของมีคมและรวบรวมนำออกจากร้านทุกวัน
  • ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศภายในร้านสม่ำเสมอ
  • หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานในร้าน เป็นผู้ป่วยยืนยัน หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าร้านอาจเป็นจุดแพร่เชื้อได้ ให้เจ้าของร้านปิดร้านตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พร้อมทั้งทำความสะอาดสถานที่ และดำเนินการตามประกาศของกรมควบคุมโรค

Related Posts

Send this to a friend