PUBLIC HEALTH

ด่วน! โฆษก ศบค. แถลงสรุปผลการประชุม ศบค. ในประเด็นการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุม และประเด็นเกี่ยวกับวัคซีน

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสรุปผลการประชุม หลัง ศปก.สธ. โดย ปลัดกระทรวง สธ. รมว.สธ. และคณะ เสนอยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุม ดังนี้

1. ปรับระยะเวลาการกักตัวเมื่อเดินทางเข้าราชอาณาจักรเป็น 14 วันทุกประเภท ไม่อนุญาตให้ออกจากห้องพัก ยกเว้นเพื่อทำการตรวจหาเชื้อ

2. ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร แบ่งเป็น

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด สีแดงเข้ม ได้แก่ กทม. ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ

– พื้นที่ควบคุมสูงสุด 45 จังหวัด สีแดง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเชียงราย จังหวัดตาก จังหวัดตรัง จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดน่าน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรือยุธยา จังหวัดพัทลุง จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยะลา จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดระนอง จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี

– พื้นที่ควบคุม 26 จังหวัสีส้ม ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดกาพสินธุ์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดชุมพร จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดพังงา จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยโสธร จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดสตูล จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองปัวสำภู จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอำนาจเจริญ

3. ปรับระดับมาตรการป้องกัน และควบคุมตามพื้นที่สถานการณ์

3.1 สีแดงเข้ม 6 จังหวัด
– ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 20 คน
– ร้านจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มให้งดบริโภคในร้าน เปิดบริการได้ถึง 21.00 น. แต่ให้จำหน่ายนำกลับเท่านั้น
– สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส ปิดบริการ ส่วนสนามกีฬา หรือสถานออกกำลังกายกลางแจ้ง เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. จัดการแข่งโดยไม่มีผู้ชมได้
– ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้ตามปกติถึง 21.00 น. ยกเว้นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม สวนสนุก งดบริการ
– ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. ร้านที่เปิด 24 ชม เปิดได้อีกครั้ง 4.00 น.
– งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็น

3.2 สีแดง 45 จังหวัด
– ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 50 คน
– ร้านจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มให้บริโภคในร้านได้ถึง เปิดบริการได้ถึง 21.00 น. จำหน่ายนำกลับได้ถึง 23.00 น. ห้ามบริโภคสุรา แอลกอฮอล์ในร้าน
– สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส เปิดบริการได้ไม่เกิน 21.00 น. จัดการแข่งโดยจำกัดผู้ชมได้
– ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้ตามปกติถึง 21.00 น. ยกเว้นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม สวนสนุก งดบริการ
– ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. ร้านที่เปิด 24 ชม เปิดได้อีกครั้ง 4.00 น.
– ตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรองตามความเหมาะสม และให้กระทรวงคมนาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลการขนส่งสาธารณะทุกประเภท

3.3 สีส้ม 26 จังหวัด
– ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 50 คน
– ร้านจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มให้บริโภคในร้านได้ถึง 23.00 น. ห้ามบริโภคสุรา แอลกอฮอล์ในร้าน
– ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้ตามปกติถึง 21.00 น. จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
– ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ตามปกติ

ส่วนมาตรการแบบบูรณาการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสังสรรค์ให้งดกิจกรรมทางสังคมลักษณะสังสรรค์ออกไปก่อน เว้นแต่การจัดตามประเพณีนิยม ห้ามใช้อาคารเรียนจัดการเรียนการสอน หรือกิจกรรมอื่นใดเว้นแต่เป็นการช่วยเหลืออุปการะหรือตามข้อยกเว้น

ทั้งนี้จะเริ่มใช้บังคับ 1 พ.ค. 64

ศปก. ศบค. มีมติเห็นชอบตามที่ ศปก.สธ.เสนอ และมีข้อเสนอให้
– บังคับใช้การสวมหน้ากาอนามัย หรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่โรคตามความเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม
– ให้หน่วยงาน รัฐ และเอกชนพิจารณา WFH อย่างน้อย 14 วัน
– พิจารณามาตรการเยียวยา
– ดูแลผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง
– ประกันสุขภาพบุคลากรทางการแพทย์

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย 100 ล้านโดส ครอบคลุมร้อยละ 70 ภายในปี 2564 หรือคิดเป็นการฉีดวัคซีน 50 ล้านคน (100 ล้านโดส) ซึ่งปัจจุบันจัดหาได้แล้ว 63 ล้านโดส ต้องจัดหาเพิ่มอีก 37 ล้านโดส โดยมอบกรมควบคุมโรค ดำเนินการจัดหาวัคซีน Pfizer, Sputnik, Johnson & Johnson, Sinovac หรือวัคซีนอื่นๆ เช่น Modena, Sinopharm หรือ Bharat หรือวัคซีนอื่นๆ ที่ขึ้นทะเบียนในอนาคต และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจัดซื้อวัคซีนอื่นๆ เพิ่มเติม

Related Posts

Send this to a friend