FEATURE

ดื่มน้ำหน้าร้อนให้ดีต่อสุขภาพ น้ำอัดลม-น้ำสมุนไพรดื่มได้ เน้นหวานน้อยดีต่อร่างกาย

หน้าร้อนกับการดื่มน้ำเป็นของคู่กัน แต่ทว่าการดื่มน้ำอย่างไรถึงจะดีต่อสุขภาพนั้น เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะการจิบน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น จะดีกว่ากันในช่วงอุณหภูมิสูง และน้ำอัดลมนั้นสามารถดื่มแก้กระหายได้หรือไม่ เนื่องจากมีน้ำตาลที่อาจเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ที่เสี่ยงต่อโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน นอกจากนี้น้ำสมุนไพรชนิดไหนที่กินแล้ว ช่วยคลายความร้อนได้ดีที่สุดนั้น อยู่ในกลุ่มไหน เกี่ยวกับการเรื่องนี้

The Reporters ได้สอบถามไปยัง “แววตา เอกชาวนา” นักกำหนดอาหารวิชาชีพอิสระ และที่ปรึกษาโครงการกินผักและผลไม้ดีวันละ 400 กรัม จากสสส.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มน้ำในช่วงหน้าร้อนที่ดีต่อสุขภาพ ตั้งแต่น้ำเปล่า น้ำอุ่น และน้ำอัดลมที่ช่วยดับกระหาย หรือแม้แต่น้ำสมุนไพรที่หลายคนรู้จักกันดี แต่เลือกไม่ถูกว่าควรจะดื่ม น้ำสมุนไพรชนิดไหนดีกว่ากัน ที่สามารถดับร้อนได้จริงๆ รวมถึงเทคนิคการเลือกดื่มน้ำแต่ละประเภท ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการดื่มน้ำมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบไตได้

แววตา กล่าวว่า “ในช่วงหน้าร้อนสามารถดื่มได้ทั้งน้ำเปล่า และน้ำสมุนไพรที่ใส่น้ำตาลน้อย เพราะในช่วงหน้าร้อนร่างกาย ต้องใช้พลังงานเผาผลาญไขมันในร่างกายค่อนข้างเยอะ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนในร่างกายอยู่แล้ว ประกอบการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำสมุนไพรที่มีน้ำตาลเยอะ ก็ยิ่งทำให้ร่างกายร้อนหนักขึ้นไปอีก เพราะร่างกายต้องเผาผลาญน้ำตาลในเครื่องดื่ม ที่สำคัญน้ำตาลยังทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น โดยสรุปแล้วหน้าร้อนร่างกายเสียเหงื่อเยอะ ดังนั้นเราสามารถดื่มได้ทั้งน้ำเปล่า และน้ำเย็น หรือแม้แต่น้ำอุ่น โดยเฉพาะน้ำอุ่นที่ไม่ร้อนจนเกินไป

เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นน้ำเย็น หรือน้ำอุ่น ทั้งนี้เมื่อดื่มแล้ว ร่างกายจะสามารถปรับอุณหภูมิ ที่เราดื่มเข้าไปได้ แต่ทั้งนี้ให้เลี่ยงน้ำอุ่นที่มีลักษณะร้อนมากเกินไป หรือต้องไม่เกินจากอุณหภูมิปกติของร่างกายเรา ที่อยู่ระหว่าง 36.5-37 องศาเซสเซส เพราะถ้าน้ำอุ่นมีความร้อนสูงเกินกว่า 37 องศาศาเซลเซส ลิ้นของเราที่สัมผัสความร้อนของน้ำอุ่น จะกระตุ้นความร้อนให้ร่างกาย และทำให้เรารู้สึกร้อนมากกว่าปกติ ดังนั้นต้องดื่มน้ำอุ่นที่อุ่นกำลังดี และควรดื่มหรือจิบอย่างช้าๆ ที่สำคัญการดื่มน้ำเปล่าให้ดีต่อสุขภาพ ภาชนะที่ใส่น้ำดื่มจะต้องสะอาด เพื่อป้องกันโรคท้องเสีย ท้องร่วง ที่สำคัญในช่วงหน้าร้อน เวลาไปทำธุระนอกบ้าน จำเป็นต้องพกกระติก หรือกระบอกน้ำขนาดเล็กติดตัวไปด้วย เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ดังนั้นในช่วงหน้าร้อน ไม่ควรรอให้ตัวเองรู้สึกกระหายน้ำ แต่แนะนำให้หมั่นจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ”

ดื่มน้ำอัดลมแก้กระหายได้ แต่ 1 กระป๋องแบ่ง 2 คน

แม้ว่าเราสามารถดื่มน้ำได้ทุกชนิดในช่วงอากาศร้อน แต่เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเยอะ เช่น น้ำอัดลมที่มักจะมีน้ำตาลเกินกว่า 10 ช้อนชา (ใน 1 วันไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา) นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยง ที่จะใช้น้ำตาลในระบบอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากเป็นกลุ่มน้ำตาล ที่มีราคาถูกให้ความหวานสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น น้ำตาลไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป (High Furctose Corn Syrup) ที่ได้จากการสกัดแป้งข้าวโพด ออกมาเป็นน้ำตาลรูปแบบดังกล่าว ที่มักจะอยู่ในขนมคุ๊กกี้,น้ำอัดลม,ขนมคบเคี้ยวรูปแบบซอง,น้ำเชื่อมต่าง,โยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของน้ำตาลดังกล่าว ฯลฯ ที่จำหน่ายในปริมาณมาก ซึ่งอยู่ในระบบอุตสาหกรรมนั่นเอง
ซึ่งน้ำตาลไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป ที่อยู่ในน้ำอัดลมต่างๆ จะไปกระตุ้นต่อมอิ่มของเราไม่ให้ทำงาน นั่นจึงทำให้ผู้ดื่มน้ำอัดลมรู้สึกไม่อิ่ม และอยากดื่มน้ำอัดลมต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำอัดลมเพื่อดับกระหายนั้น แนะนำว่าน้ำอัดลม 1 กระป๋องให้แบ่งดื่ม 2 คน และใส่น้ำแข็งลงไป เพื่อเจือจางความหวานในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องไม่ดื่มน้ำอัดลมติดต่อกันทุกวัน เพราะหากดื่มติดต่อกันทุกวันนั้น น้ำตาลในน้ำอัดลมจะไปกระตุ้นฮอร์โมนอินซูลีนให้หลั่งออกมาเยอะ และฮอร์โมนดังกล่าวจะเก็บสะสมไขมันเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเช่นเดียวกัน นั่นจึงทำให้ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมมีน้ำหนักตัวเพิ่ม

ดื่มน้ำสมุนไพรกลุ่มฤทธิ์ดับร้อนสูตรหวานน้อย ช่วยป้องกันร่างกายขาดน้ำ

ทั้งนี้น้ำสมุนไพรที่แนะนำให้ดื่มในหน้าร้อนนั้น ควรเป็นกลุ่มน้ำสมุนไพร อย่าง จับเลี้ยง ,หล่อฮังก๊วย,ใบบัวบก,เก๊กฮวย ที่มีฤทธิ์ดับร้อน และแก้กระหายได้ดีอีกทั้งมีสรรพคุณทางยา ที่สำคัญเมื่อดื่มน้ำสมุนไพรในกลุ่มนี้ ไม่เพียงช่วยคลายร้อน แต่จะช่วยทำให้ใจเย็นขึ้น อีกทั้งทำให้คนวัยทำงาน ทำงานได้อย่างอดทนมากขึ้น และที่ลืมไม่ได้ต้องใส่น้ำตาล ในปริมาณที่น้อยเช่นเดียวกัน หรือแม้แต่ผู้ที่ดื่มกาแฟหรือชาเย็นเป็นประจำทุกวันนั้น ในช่วงหน้าร้อนก็แนะนำให้เปลี่ยน มาบริโภคเป็นสูตรหวานน้อย หรือใส่น้ำตาลน้อย (น้ำตาลต้องไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน) เพื่อลดความร้อนทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่ต้อง เผาผลาญน้ำตาลมากเกินไป

จิบน้ำอย่างพอดีไม่เกินวันละ 6-8 แก้ว -ดื่มน้ำเกิน 2 เท่าของน้ำหนักตัว เสี่ยงไตทำงานหนัก โพแทสเซียมและโซเดียมต่ำ เสี่ยงเป็นตะคริว สับสัน มึนงง ไม่รู้สึกตัว

หลายคนที่สงสัยว่าหน้าร้อน ควรดื่มน้ำแค่ไหนจึงจะเหมาะสมนั้น แนะนำว่าให้ดูจากน้ำหนักตัวเป็นหลัก ที่สำคัญต้องไม่รวมอาหารที่อยู่ในรูปแบบซุปต่างๆ โดยให้ใช้สูตร “น้ำหนักตัว x 33 และหารด้วย 200” (200 มิลลิลิตร คือปริมาณน้ำ 1 แก้วในกรณีที่ตักน้ำไม่เต็มแก้ว ซึ่งน้ำ 1 แก้ว จะอยู่ที่ประมาณ 240 มิลลิลิตร) เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม x 33 =1,980 มิลลิลิตร หรือเท่ากับต้องดื่มน้ำประมาณ 10 แก้วต่อ 1 วัน ( 1,980 หารด้วย 200 = 9.9 แก้ว )

ทั้งนี้ในคนน้ำหนักตัวปกติ ใน 1 วัน ไม่ควรกินน้ำเกิน 4,000 มิลลิลิตร หรือ 20 แก้วต่อวัน (4,000 มิลลิลิตร หารด้วย 200 =น้ำ 20 แก้ว) เนื่องจากปกติเราควรดื่มน้ำอยู่ที่ประมาณ 6- 8 แก้ว ต่อวัน ดังนั้นจึงต้องดื่มน้ำไม่เกิน 16 แก้วต่อวัน หรือคิดเป็นดื่มน้ำได้ไม่เกิน 1 เท่าตัว จากการดื่มน้ำในระดับปกติ (6-8 แก้วต่อวัน) แต่ในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก สามารถบริโภคได้มากกว่า 1 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 2 เท่าของน้ำหนักตัวเช่นเดียวกัน เช่น คนน้ำหนักตัวมากที่ต้องดื่มน้ำประมาณ 10 แก้วต่อวัน สามารถดื่มได้มากกว่า 10 แก้ว แต่ต้องไม่เกิน 20 แก้วต่อวัน ตามข้อกำหนดข้างต้น

ทั้งนี้การดื่มน้ำน้อยหรือมากเกินไปนั้น จะทำให้ไตทำงานหนัก โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มน้ำเกิน 2 เท่า หรือเกินวันละ 20 แก้ว ไตจะต้องขับน้ำออกจากร่างกาย นั่นจึงทำให้ไตทำงานมากขึ้นไปอีก ที่สำคัญยังทำให้ระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งหากโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เนื่องจากแร่ธาตุดังกล่าว จะมีส่วนในการดูแลกล้ามเนื้อ อีกทั้งหากแร่ธาตุโซเดียมในเลือดต่ำจากการดื่มน้ำเยอะ จะทำให้รู้สึกสบสัน ง่วงนอน และไม่รู้สึกตัวได้

Related Posts

Send this to a friend