PUBLIC HEALTH

ศบศ. เคาะ เปิดภูเก็ต รับนักท่องเที่ยวฉีดวัคซีนครบโดส ไม่ต้องกักตัว เริ่ม 1 ก.ค.นี้

ศบศ. เคาะ เปิดภูเก็ต รับนักท่องเที่ยวฉีดวัคซีนครบโดส ไม่ต้องกักตัว เริ่ม 1 ก.ค.นี้ จ่อชง ครม. พิจารณา พร้อมเตรียมพื้นที่รองรับนักท่องเที่ยวภายใต้แผนการพัฒนาเมืองภูเก็ต เห็นด้วยกับข้อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนดึงดูดชาวต่างชาติมาลงทุนในไทย

พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ) ผ่านระบบ VDO Conference โดยที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด เสนอโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีผลผลิตการเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร ขยายตัวส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวต่อเนื่อง

ส่วนการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในระลอกใหม่ในเดือนเมษายน สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลง เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันข้อมูลความถี่สูงในเดือนพฤษภาคม 2564 ชี้ให้เห็นถึงการลดลงของการเดินทางภายในประเทศเพื่อออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ในระดับต่ำ ใกล้เคียงกับการระบาดระลอกแรกในเดือนมีนาคม 2563 แต่เริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของการเดินทางภายในประเทศนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2564 ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการไม่พบผู้ติดเชื้อในในพื้นที่หลายจังหวัดส่งผลให้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมในจังหวัดดังกล่าวมากขึ้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความคืบหน้ามาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่าง โครงการเราชนะซึ่งความคืบหน้าล่าสุด จากข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีกลุ่มประชาชน มีจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น 33.1 ล้านคน มีมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้ว
รวมทั้งสิ้น 257,997 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.7 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 97,367 ล้านบาท (2) กลุ่มผู้ใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังจำนวน 17.0 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มผู้มีแอปพลิเคชันเป๋าตัง 8.4 ล้านคน และกลุ่มผู้ไม่ได้อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชันเป๋าตัง 8.6 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 141,254 ล้านบาท และ (3) กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ อาทิ ผู้ที่เข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการจำนวน 2.4 ล้านคน ซึ่งได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา จำนวน 19,376 ล้านบาท และกลุ่มผู้ประกอบการ มีจำนวนรวม 1.3 ล้านกิจการ แบ่งตามยอดมูลค่าการใช้จ่ายได้ดังนี้ (1) ร้านค้าทั่วไปและอื่น ๆ มูลค่าการใช้จ่าย 104,156 ล้านบาท (2) ร้านธงฟ้า มูลค่าการใช้จ่าย 88,850 ล้านบาท (3) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม มูลค่าการใช้จ่าย 49,194 ล้านบาท (4) ร้าน OTOP มูลค่าการใช้จ่าย 10,685 ล้านบาท (5) ร้านค้าบริการ มูลค่าการใช้จ่าย 4,944 ล้านบาท และ (6) ขนส่งสาธารณะ มูลค่าการใช้จ่าย 168 ล้านบาท

ส่วนมาตรการด้านแรงงาน ความคืบหน้าล่าสุด จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 มาตรการ ม33 เรารักกัน มีผู้ได้รับสิทธิ์โครงการรวมทั้งสิ้น 8,138,627 คน คิดเป็นวงเงิน 48,831.8 ล้านบาท สำหรับข้อมูลการใช้จ่ายสะสมของโครงการฯ มีผู้ประกันตนใช้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 8,040,416 ราย มีร้านค้าที่เข้าร่วมให้บริการจำนวน21,069,838 ราย และมีมูลค่ารวมยอดการใช้จ่ายทั้งหมด 39,317.2 ล้านบาท นอกจากนี้ โครงการฯ ส่งผลให้ผู้ประกันตนที่ว่างงานกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ผ่านแอปพลิเคชันถุงเงินจ านวน 96,830 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปริญญาตรีและประกาศนียบัตรขั้นสูง

ด้านมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจและมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สิน หลักประกันเพื่อชำระหนี้จากข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ประกอบด้วย (1) โครงการสินเชื่อฟื้นฟู มีสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 20,839.3 ล้านบาท มีจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 8,218 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติเฉลี่ยจำนวน 2.54 ล้านบาทต่อราย และ (2) โครงการพักทรัพย์พักหนี้ (Asset Warehousing) มีจ านวนผู้ได้รับความช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 4 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 909.68 ล้านบาท

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องในหลักการแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำและปานกลางของจังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) ตามข้อเสนอของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่จะมีกำหนดดำเนินการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยมีกำหนดแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว ดังนี้

(1) เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดส ตามเกณฑ์ของวัคซีนแต่ละชนิด มีระยะเวลาการฉีด มากกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปีและเป็นผู้เดินทางจากกลุ่มประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยงต่ำ – ปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

(2) กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองที่ฉีดวัคซีนแล้วเดินทางเข้าได้ ในขณะที่เด็กอายุระหว่าง 6– 18 ปี จะต้องได้รับการตรวจเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินภูเก็ต

(3) มีเอกสารรับรองการฉีดจากประเทศต้นทาง โดยวัคซีนจะต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองโดย WHO

(4) มีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นแจ้งเตือน

(5) พำนักในโรงแรมที่พักที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ ในเวลา 14 คืน และภายหลังการ
พ านักตามระยะเวลาที่ก าหนดสามารถเดินทางไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทยได้ และ (6) รายงานตัวและรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และสามารถท ากิจกรรมท่องเที่ยวได้ภายใต้มาตรการป้องกันตามมาตรฐาน DMHTTA

ขณะเดียวกัน มีการดำเนินการเตรียมพื้นที่รองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวภายใต้แผนการพัฒนาเมืองภูเก็ต (Better Phuket Initiatives) อาทิ(1) การปรับปรุงภูมิทัศน์ (2) โครงการสร้างคุณค่าและประสบการณ์โดยการท่องเที่ยววิธีชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์ (3) การพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรทางการท่องเที่ยว และ (4) การดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ททท. นำเสนอรายละเอียดของแผนการดำเนินงานต่อศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกทาบทามทั้งบริษัทเอกชนไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างรายได้การลงทุน และเพิ่มโอกาสการจ้างงานภายในประเทศ

Related Posts

Send this to a friend