POLITICS

‘วิโรจน์’ สงสัยเขตปทุมวันกลัวอะไรกับ ‘สิทธิมนุษยชน’ ย้ำ ‘บีทีเอส’ ห้ามหยุดขณะชุมนุม

วันนี้ (3 พ.ค. 65) นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) หมายเลข 1 พรรคก้าวไกล ขึ้นกล่าวบนเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ “กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

นายวิโรจน์ ขึ้นกล่าวถึงสิทธิการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองว่า ขั้นพื้นฐานที่สุดต้องมีการจัดเตรียมห้องสุขา กล้องวงจรปิด ที่ไม่ยอมให้เสีย และให้ความยุติธรรมกับทุกคน แต่ผมคิดว่าอีก 2 เรื่องที่ควรต้องทำ เปิดหน่วยงานราสชการกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้ชุมนุมได้ และจัดเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์การชุมนุมอย่างเป็นกลาง ทำงานร่วมกันกับนักข่าวพลเมือง เพื่อให้การชุมนุมมีความเป็นกลาง สิทธิของประชาชนได้รับการปกป้อง

นายวิโรจน์ กล่าวว่า สังคมต้องการอะไรมากไปกว่า 4 ข้อข้างต้น เนื่องจากผู้ว่าฯ กทม. โดยพูดถึง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เอาผิดผู้ชุมนุมที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลเท่านั้น โดยไม่บังคับใช้กฎหมายต่อฝ่ายเห็นด้วยกับรัฐบาล พ.ร.บ.นี้ควรใช้กับสายไฟระโยงระยางต่างหากกลับไม่เคยทำ กลับโพสต์อิท กลับกระดาษที่ไปติด ก็ดำเนินคดี แต่ปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ รั้วลวดหนามหีบเพลง ก็ไม่ปรับ รวมไปถึงการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสต้องไม่หยุดดำเนินการด้วย

“คุณไปรอนสิทธิการเดินทางของคนอื่นทำไม ถ้าคุณหยุดการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส อันตรายจะเกิดกับผู้ชุมนุม คุณหมายจะให้ใครขึ้นไปบนราง คุณหมายจะให้ใครขึ้นไปยิงผู้ชุมนุมจากบนราง คุณไม่สากับเหตุการณ์วัดปทุมฯ เหรอ จะไม่ยอมให้มีชายลายพรางหรือชุดอะไรก็ต่างขึ้นไปบนบีทีเอสส่องยิงประชาชนอีก” นายวิโรจน์ กล่าว

นายวิโรจน์ ตอบคำถามประเด็นผู้สูงอายุว่า ต้องลดจำนวนผู้สูงอายุที่ไม่จำเป็นต้องติดเตียงให้ได้ มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ พร้อมตั้งศูนย์กายภาพบำบัดในสวนสาธารณะ มีการจัดส่งยาและแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กรุงเทพมหานครต้องจัดจ้างผู้บริบาลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

นายวิโรจน์ กล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เห็นแก่ตัว เรามีคอนโดหรูที่วันนี้ขายไม่ออก น้องเผชิญหน้ากับฟองสบู มีคนถูกไล่รื้อบ้านไปนอก กทม. เรามีห้างค้าปลีกใจกลางเมือง มีร้านสะดวกซื้อ เราไม่มีตลาดค้าขายให้คนทำมาหากิน เรามีภัตตาคาร ทั้งหมดทั้งมวลเกิดจากกติกาของเมืองที่ไม่เป็นธรรม นายทุนอสังหาริมทรัพย์มักขึ้นที่ดินราคาสูง แต่จัดสรรทรัพยากรไม่เกิดขึ้นด้วย ต้องมีกลไก FAR Bonus ที่ควรได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิผลเริ่มจากฐานที่ไม่สูงเกินไป

“ถ้าจะเกิดคุณจะสร้างอาคารสำนักงานสูง คุณสร้างพื้นที่สีเขียวให้สังคมได้ไหม จัดสรรพื้นที่ศูนย์อาหารหรือตลาดคิดค่าเช่าราคาย่อมเยาได้ไหม ไม่ใช่ผลักปัญหาให้สังคมรับมือ ซึ่งไม่ยุติธรรม คุณจะผลักปัญหาให้เมืองทั้งหมดโดยที่ไม่โอบรับเลยเหรอ ทั้งหมดเกิดจากกติกาของเมืองไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เอาไว้” นายวิโรจน์ กล่าว

เรื่องที่พักราคาแพง ทุกคนดีกว่า เราสามารถใช้กลไกราคาที่ดิน ลดภาษีที่ดินให้กับอพาร์ตเมนต์ที่มีราคาไม่แพงได้ เราจะเอาเงินที่ไหนมาอุดหนุน โรงแรมใน กทม. 80,000 กว่าแห่ง แต่เข้าระบบเพียง 20,000 กว่าแห่ง เพราะถ้าเข้าระบบจะถูกรีดไถ กทม. มีนักท่องเที่ยวที่มาพักแรมเพียงปีละ 30-35 ล้านคน เราจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้แค่ 400-500 ล้านบาท หากจัดเก็บได้ครบถ้วน เราจะเอาเงินไปอุดหนุนบ้านเช่าในการลดภาษีที่ดินอพาร์ตเมนต์ที่มีค่าเช่าในราคาย่อมเยาได้

นายวิโรจน์ กล่าวถึงปัญหาคนไร้บ้านว่า มีประเภทแรกคือ ไร้บ้านจากการว่างงาน โดยต้องแก้ไขศูนย์ฟื้นฟู มีการทำงานร่วมกันกับกรมคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ ส่วนคนไร้บ้านแบบสมัครใจ ต้องไม่ไร้สิทธิ ทั้งบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และทุกสิทธิในฐานะประชาชน และผู้ที่ป่วยต้องมีกระบวนการรักษาเยียวยา

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า กรณีผู้อำนวยการเขตปทุมวันไม่อนุญาตให้จัดเวทีดังกล่าวที่ลานหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร นายวิโรจน์ ตอบว่า สิทธิการแสดงออกเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดอยู่แล้ว ยืนยันหากเป็นผู้ว่าฯ จะให้จัดได้ ผมสงสัยว่าทำไมเขาไม่อนุญาต เขากลัวอะไรกับคำว่าสิทธิมนุษยชนกันแน่ กลัวอะไรกับสายตาบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่กลัวสไนเปอร์ขึ้นไปเล็งยิงคนมากกว่าเหรอ

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า หากรัฐบาลสั่งให้ผู้ว่าฯ กทม. หยุดการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส จะทำอย่างไร นายวิโรจน์ ตอบว่า รถไฟฟ้าเป็นอำนาจกรุงเทพฯ แต่ก็ต้องคุยอย่างเปิดเผย เป็นผู้ว่าฯ ไม่ใช่อยู่ใต้จักกะแร้ของผู้มีอำนาจ เมื่อไรก็ตามที่บีทีเอสหยุด จะไม่มีใครใส่ชุดดำชุดลายพรางนำอาวุธยุทโธปกรณ์ไปทำร้ายประชาชน

นายวิโรจน์ ตอบคำถามต้นเหตุความแออัดของ กทม. ว่าเราคิดตื้นเกินไปตรงที่ เราผลักภาระทั้งหมดให้ประชาชน มันมาจากเมืองละเลยการวางกติกาที่เป็นธรรม นักอสังหาริมทรัพย์กว้านซื้อที่ดินแล้วทำกำไรมากที่สุดเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ แล้วกลไกจัดสรรทรัพยากรในเมืองนี้มันมีไหม ทำพื้นที่สีเขียวอยู่ปีเดียวแล้วเลิกทำแล้วมาใช้เชิงพาณิชย์แทน คุณต้องจัดพื้นที่ให้ใช้ได้ในราคาย่อมเยาด้วย ทั้งที่พักและตลาด

“ถ้ากติกาเมืองไม่มีความเป็นธรรม ประชาชนตัวเล็กตัวน้อยจะต่อสู้กันเอง สุดท้ายพอปัญหาเกิดขึ้น ก็โยนบาปให้เขาอีก ใช้การจัดระเบียบไล่รื้อ สุดท้าย กรุงเทพมหานครต้องเป็นเมืองที่ไม่เห็นแก่ตัว” นายวิโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

Related Posts

Send this to a friend