HEALTH

ตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ หาความสมดุลระบบทางเดินอาหารในร่างกาย ลดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

แพทย์หญิงอติยา รุ่งแจ้ง ผู้อำนวยการคลินิกบีดีเอ็มเอส เวลเนส รีทรีท สมุย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่มีความสำคัญ เพราะจะทำให้รู้สาเหตุ ของปัญหาสุขภาพที่เรื้อรัง และยังช่วยตรวจดูความสมดุลของจุลินทรีย์อีกด้วย เพราะโดยทั่วไปแล้ว 90% ของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์จุลินทรีย์ หากแบคทีเรียในลำไส้เสียสมดุล สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆได้ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง,ภูมิแพ้,แพ้อาหาร,มะเร็งบางชนิด,ท้องผูก,ฮอร์โมนไม่สมดุล,แก่เร็ว,และไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ดังนั้นการตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ จึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้รู้สาเหตุ ของปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังได้เช่นกัน

แพทย์หญิงอติยา กล่าวว่า “โรคทุกโรคเริ่มต้นที่ลำไส้ การดูแลลำไส้เลยมีความสำคัญมากขึ้น ในปัจจุบัน ถ้าลำไส้ของเราเสียสมดุลไป หรือว่ามีจุลินทรีย์บางตัวที่มันเสียสมดุลไป อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่างๆได้เหมือนกัน ซึ่งเรื่องของการกินที่สมดุลนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut Microbiome) จะทำให้ได้คำตอบมากขึ้นว่า ทำไมดูแลตัวเองดีแล้ว แต่ก็ยังเจอปัญหาสุขภาพ”

“ซึ่งการตรวจจุลินทรีย์จะแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ จุ1.ลินทรีย์ทั่วไป ที่อาจจะส่งผลดีหรืออาจจะส่งผลไม่ดีกับร่างกายก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมดุล 2.จุลินทรีย์ที่ไม่ดี ก่อโรค เป็นจุลินทรีย์ที่ถ้ามีเยอะเกินไปก็ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว เป็นต้น และ 3.จุลินทรีย์ที่ดีหรือโพรไบโอติก (Probiotics) ที่สร้างสารมีประโยชน์ต่อร่างกายในระบบลำไส้ หรืออวัยวะอื่นๆ หากเกิดความเครียด ใช้ร่างกายหักโหม การกินที่ผิดปกติ โพรไบโอติกกลุ่มที่ดีๆ มักจะโดนทำร้ายไปก่อนและก็จะเสียสมดุลไปก่อนได้ ซึ่งการดูแลโพรไบโอติกที่สำคัญ คือการเลือกรับประทานอาหาร เช่น อาหารที่มีไฟเบอร์ ผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวาน ถ้าเป็นผลไม้อาจจะต้องเป็นกลุ่ม ที่มีกากใยอาหารเยอะ เช่น ฝรั่ง มะม่วงเขียว หรือ อาหารในการหล่อเลี้ยงโพรไบโอติก เช่น กิมจิ นัตโตะ ชาคอมบูชา เป็นต้น ข้อจำกัดเดียวในอาหารไทยจะมีพวกนี้น้อย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนไทย อาจจะเจอปัญหาเรื่องขาดโพรไบโอติกได้ง่าย เพราะเราไม่ได้มีอาหารกลุ่มนี้ ในมื้ออาหารของเรามากนัก”

“การตรวจจุลินทรีย์จึงเป็นการตรวจความสมดุล ระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดี และไม่ดีภายในร่างกาย เพราะจุลินทรีย์อาศัยอยู่ในลำไส้มากที่สุด ทำให้การตรวจจากอุจจาระจะได้ผล ที่เที่ยงตรงมากที่สุดด้วย โดยวิธีการเก็บที่ไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ที่บ้าน ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างอุจจาระ และส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจสุขภาพลำไส้ จะช่วยให้สามารถวางแผนดูแลสุขภาพของตัวเองได้ทั้งระบบ เพราะอาการท้องอืด ท้องเสียแบบเรื้อรัง ระบบเผาผลาญไม่ดี หรือ ปัญหาเรื่องภูมิแพ้ที่ต้องพบเจอ อาจเกิดจากจุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล โดยการตรวจของแพทย์จะช่วยประเมิน ค้นหาความเสี่ยง หรือวินิจฉัยสาเหตุที่อาจเกิดจากการเสียสมดุล ของจุลินทรีย์ในลำไส้ รวมถึงอาการผิดปกติต่างๆในร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ในอนาคตได้อีกด้วย”

“ทั้งนี้ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจจุลินทรีย์คือ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการนอนไม่หลับ และปัญหาเกี่ยวกับไมเกรน ผู้ที่มีปัญหาระบบขับถ่าย ย่อยอาหาร แพ้อาหาร และ ลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบ สิว หรือ ผื่นภูมิแพ้ เป็นๆหายๆ ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่เป็นหอบ หืด ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่มีระบบการเผาผลาญไม่ดี และมีพฤติกรรมชอบกินเนื้อแดง อาหารแปรรูป หรือ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือโรคอ้วน”

สำหรับการรับประทานโพรไบโอติก เพื่อปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ควรรับประทานเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน พอพ้นจากระยะเวลาที่กำหนด สามารถเข้ารับการตรวจได้ใหม่อีกครั้ง เพื่อตรวจดูว่ามีจุลินทรีย์ตรงไหนที่ยังหายไป หรือว่าเริ่มกลับมาสมดุลหรือยัง ตามหลักแล้วกลุ่มอาหารโพรไบโอติกเป็นอาหารที่สามารถทานได้ตลอด หากสมดุลดีขึ้นแล้วสามารถ รับประทานกลุ่มอาหาร จำพวกที่มีไฟเบอร์หรือพรีไบโอติก เพื่อให้เข้ามาช่วยรักษาสมดุลต่อไป เพราะการทำงานของลำไส้ที่ดีจะช่วยให้การดูดซึมสารอาหารต่างๆทำงาน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การมีสมดุลทางเดินอาหารที่ดี จะทำให้การออกกำลังกายทำได้ดีขึ้นด้วย รวมถึงการผ่อนคลายจากความเครียดแบบ Gut Brain Axis ที่เป็นทางเชื่อมระหว่างสมองกับลำไส้เพราะฉะนั้นถ้าลำไส้ของเราดี ส่วนสัญญาณประสาทของสมอง ก็จะดีไปด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่าสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก

Related Posts

Send this to a friend