FEATURE

นิสิตวิศวะ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ นวัตกรรม Spaceport America Cup 2022

โชว์ผลงานกับ NASA

นิสิตทีมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศด้านนวัตกรรม ในรายการ Spaceport America Cup 2022

ทีม CUHAR กล่าวว่า “ด้วยความรู้ด้านจรวดที่เป็นศูนย์ เเละไม่สามารถหาเเหล่งข้อมูล ในมหาลัย หรือในประเทศได้ จึงต้องค้นคว้าความรู้ใหม่ๆมากมาย อาทิ งานวิจัยในอดีตของวงการจรวด ที่เป็นสาธารณะหลายหมื่นหน้า,คลิปวิดีโอจาก YouTube ที่สอนเกี่ยวกับจรวด เพื่อมาทํารายงานวิจัยส่งไปสมัครจนสามารถ ผ่านเข้ารอบคัดเลือกได้ในเวลาเพียง 2 เดือน”

“ถึงเเม้จะเป็นรายการเเข่งจรวดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เเต่คนที่เรียนด้านวิศวกรรมการบิน กลับไม่รู้จักมาก่อน เนื่องจากประเทศไทย เเละประเทศในเเถบอาเซียน ยังไม่ได้ส่งเสริมเกี่ยวกับอวกาศ รวมถึงจรวด เนื่องจากความจํากัดความมั่นคง ที่กฎหมายกําหนดให้วัสดุอุปกรณ์บางส่วน เป็นยุทธภัณฑ์ สําหรับทางการทหารเท่านั่น รวมถึงไม่มีสถานที่สําหรับการทดลองต่างๆได้จริง จึงทําให้จรวดเป็นเรื่องไกลตัวเป็นอย่างมาก จึงไม่เคยมีผู้เข้าเเข่งขันจากประเทศไทยมาก่อน ทําให้การเเข่งขันที่หลายชาติรู้จักเป็นอย่างดี เเต่ในอาเซียนกลับไม่เเพร่หลาย ในหลายประเทศเปิดกว้าง ด้านการเข้าถึงข้อมูลเเละวัสดุอุปกรณ์ได้มากกว่า จึงทําให้สามารถพัฒนานวัตกรรม ได้ไวกว่าประเทศที่ไม่เปิดกว้างเท่า เช่น รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา คนส่วนใหญ่รู้จักการเเข่งขัน spaceport เป็นอย่างดี สามารถหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อประกอบจรวดได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังมีลีคการเเข่งขันจรวด รองรับในหลายประเทศอีกด้วย”

“หลังจากผ่านเข้ารอบคัดเลือก ต้องรายงานผลลัพธ์ความคืบหน้ากับการเเข่ง 3 ครั้ง ใน 8 เดือน ก่อนการเเข่งขันจริง หากไม่สามารถยืนยันทางทฤษฎีได้ว่า จรวดจะสามารถใช้งานได้ เเละปลอดภัย จะโดนตัดสิทธิ์การเเข่งขันทันที เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เนื่องจากกําจัดหลายอย่างทั้งอุปกรณ์เเละเงินทุน รวมถึงข้อกฎหมายที่ไม่สามารถทดลองจรวดได้จริง จึงตัดสินใจใช้วิธีการจําลองจากทฤษฎี เเละคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว เเละผลิตชิ้นส่วนจรวดให้ไม่ผิดกฎหมายภายในประเทศไทย เเล้วจึงนำไปประกอบรวมถึงหาชิ้นส่วน เเละเชื้อเพลิงที่ไม่ผิดกฎหมายภายในประเทศไทย”

ทั้งนี้ทีม CUHAR สามารถผลิกวิฤกตให้เป็นโอกาสได้ จากการที่จรวดจำเป็น ต้องใช้ดินปืนในการแยกส่วนลำตัว เพื่อปล่อยร่มชูชีพเเต่ไม่สามารถหาซื้อเเละทดลองได้ เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องออกเเบบจรวด ให้ใช้ดินปืนน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย จนสามารถทําให้จรวดสามารถ ใช้ดินปืนเพียง 0.5 กรัม ในขณะที่ชาติอื่นใช้ที่ 10-30 กรัมในจรวดขนาดเดียวกัน สร้างความตกใจให้กับกรรมการ จึงได้มีการตรวจสอบ เนื่องจากวิธีการนี้ ไม่เป็นที่นิยมเเละเเปลกใหม่ สําหรับการเเข่งขันจรวด ซึ่งทางทีม CUHAR สามารถอธิบายทฤษฎี ได้อย่างละเอียด ทําให้กรรมการอนุมัติ เเละสามารถเดินไปทางไปเเข่งขันที่ประเทศอเมริกาได้สําเร็จ ซึ่งการใช้ดินปืน 0.5 กรัมนี้เองทําให้ CUHAR ได้รางวัลรองชนะเลิศ จาก Dr.Gill Moore Awards for Innovation รวมถึงรางวัลรองชนะเลิศสาขาอื่นๆ จากมหาลัย leeds และมหาลัยจาก Ivy League และมหาวิทยาลัย Cornell ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสําคัญ สําหรับวงการจรวดในประเทศไทย หลังจากได้รางวัลพร้อมประสบการณ์ ทางความรู้อันลํ้าค่า

“ตลอด 10 เดือนที่เราอุทิศตัวเองให้กับการเเข่งขัน โดยตั้งเเต่ 2 เดือนเเรก ในการหาข้อมูลต่างๆ เยอะมาก เพื่อส่งรายงานให้ได้เข้ารอบคัดเลือก อีก 8 เดือนต่อมาต้องทําการทดลองทางทฤษฎีในคอมพิวเตอร์ รวมถึงการหาข้อมูลเเละเรียนรู้หนักกว่าเดิมในทุกๆวัน เพราะเราเป็นคนปูทางเดินเองเลยต้องทําเองเกือบทั้งหมด มีเพียงความรู้จากงานวิจัย หลายหมื่นหน้าพร้อมคลิปจาก YouTube อีก 100 กว่าคลิปที่ต้องเรียนรู้เองทั้งหมด พอไปถึงอเมริกาไปเเข่งจริงเรา รู้เลยว่าเรายังเด็กมากๆ ในโลกภายนอกต่างประเทศ ทุกคนที่นั่นจริงจรังกันมาก และยังสามารถซัพพอร์ตทีมของประเทศตัวเองได้เต็มที่มาก ซึ่งทีมเรามี 14 คน ช่วยกันทําหลายหน้าที่ผสมกันไป แต่ต่างประเทศนั้นมีทั้งมา 100 กว่าคนเเบ่งหน้าที่ชัดเจนตามเเผนก หรือบางประเทศส่งคนมา 6-7 คน ในหน้างานเเล้วคนที่เหลือ คอยควบคุมทุกอย่างผ่านออนไลน์ มันเเสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวัตกรรม รวมถึงองค์ความรู้ที่เค้าไปไกลมากเเล้ว”

“ทั้งนี้จุดหมายของทีม CUHAR คือการพัฒนาวงการจรวด และอวกาศของประเทศไทย ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยที่เรามีความฝันอยากจะให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปล่อยจรวดของอาเซียน ซึ่งจะเป็นอุตสาหกรรม ที่ช่วยเพิ่มอัตราจ้างงานของทั้งประเทศ ปัจจุบันเรามีความดีใจที่การแข่งขันในปี 2565 ของเราเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งทำให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน รวมถึงประชาชนทั่วไปสนใจการเเข่งจรวดมากขึ้น ทำให้ในการแข่งขันปี 2566 นี้ ประเทศไทยทั้งยังมีการส่งทีมเข้าสมัครแข่งขันเพิ่มจากปี 2565 ถึง 2 ทีม และการเเข่งขัน Spaceport America Cup ปี 2566 ทีม CUHAR ยังคงเป็นตัวเเทนหนึ่งเดียวของประเทศไทย ที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก รวมถึงสร้างทีมเเข่งขันเครื่องบินเพิ่มจากเดิมมีเพียงจรวด เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับ ผู้ที่มีความสนใจที่เเตกต่างกัน พวกเรายังคงขาดเงินทุนเเละการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เเต่พวกเราจะสู้ต่อไปเพื่ออนาคต ของวงการจรวดเเละอวกาศไทย”

เรื่อง/ภาพ: ศุภสัณห์ กันณรงค์

Related Posts

Send this to a friend