ENVIRONMENT

ทั่วโลกยกปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รุนแรงเท่าวิกฤติเศรษฐกิจ

เอปสัน เผยผลสำรวจ Climate Reality Barometer ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 เกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อศึกษาถึงระดับการตื่นตัวของผู้คนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จากกลุ่มตัวอย่าง 26,205 คน ใน 28 ตลาดทุกภูมิภาคทั่วโลกที่เอปสันเข้าไปทำธุรกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี จีน อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เคนยา มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อกโก ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ สเปน ไต้หวัน ไทย ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

ผลสำรวจยังพบว่า ผู้คนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินแบบเร่งด่วนเป็นอันดับแรก ที่ 22% ถัดมาคือราคาสินค้าที่แพงขึ้นที่ 21% ส่วนปัญหาสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง อยู่อันดับที่ 3 ที่ 20% สะท้อนว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และค่าพลังงานที่พุ่งขึ้น วิกฤติสภาพอากาศก็ยังคงเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ

ผลสำรวจ พบว่าสมาชิกในกลุ่มประเทศ G7 มีมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาจากสภาพภูมิอากาศไปในทางบวก ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ที่อยู่ที่ 48% โดยแคนาดา 36.6% , ฝรั่งเศส 22.5% , เยอรมนี 23.8% , อิตาลี 25.2% , ญี่ปุ่น 10.4% , สหราชอาณาจักร 28.4% และสหรัฐอเมริกา 39.4% ขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มองในแง่ดีต่อปัญหาดังกล่าวมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ได้แก่ จีน 76.2% , อินเดีย 78.3% , อินโดนีเซีย 62.6% , เคนยา 76% , เม็กซิโก 66% และฟิลิปปินส์ 71.9%

ผลการสำรวจ ยังชี้ให้เห็นว่า อายุมีผลต่อมุมมองปัญหา โดยกลุ่มคนที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด และมองว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด เป็นกลุ่มช่วงอายุมากที่สุด หรือ 55 ปีขึ้นไป ที่ 22% และน้อยที่สุด 16-24 ปี ที่ 19.3%

การสำรวจ Climate Reality Barometer ยังได้ศึกษาถึงช่องทางหรือปัจจัยที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมากกว่า 8 ใน 10 ของกลุ่มตัวอย่าง หรือ 80.2% สัมผัสถึงปัญหาดังกล่าวได้โดยตรงจากการใช้ชีวิตประจำวัน 75.7% , รับทราบข้อมูลจากกิจกรรมหรือแคมเปญของรัฐบาล 75% , จากข่าวทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ 74.2% , จากโซเชียลมีเดีย 64.8% , จากแคมเปญของบริษัทเอกชนหรือตามชุมชนต่างๆ และจากรายงานของการประชุม COP 64%

สำหรับพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ตอบสนองต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การสำรวจพบว่า ผู้คนได้ปรับไลฟ์สไตล์ให้สอดคล้องกับวิถีความยั่งยืนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2564 ได้แก่ เดินหรือปั่นจักรยาน 87.2% (31.8% ทำติดต่อกันมาตลอดทั้งปี) , การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน 82.4% (18.6% ทำติดต่อกันมานานกว่า 1 ปี) , ลดการเดินทางเพื่อธุรกิจและการพักผ่อนต่างประเทศ 68.2% (23% ทำติดต่อกันมาเกิน 1 ปี) , เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า 72.7% (10.6% ทำเช่นนี้มานานกว่า 1 ปี) , รับประทานอาหารจากพืช 68.9% (16.5% ทำติดต่อกันมานานกว่า 1 ปี)

Related Posts

Send this to a friend