DEEPSOUTH

จะอนุรักษ์เขายะลา หรือเสียสละเพื่อให้ราคาหินถูกลง ขึ้นกับการตัดสินใจของประชาชน

นายสัมพันธ์ โฆษิตพล อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า พื้นที่เขายะลา นั้น มีการประกอบอุตสาหกรรมหินมาเนิ่นนาน โดยได้อธิบายว่า หากไล่เรียงกันตามช่วงเวลาแล้ว

  • เมื่อปี 2540 วันที่ 1 ตุลาคมกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประกาศให้ภูเขายะลา เป็นพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรม ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2540 เห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1บี เพื่อกิจการเหมืองหินอุตสาหกรรม จากนั้นต่อมา มีผู้ขอประทานบัตรเพื่อประกอบอุตสาหกรรมหินจำนวน 2 ราย
  • ปี 2544 กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลาพื้นที่ 887 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ซึ่งการประกาศดังกล่าวนั้น ทับพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรม
  • ปี 2545 มีการประทานบัตรเพิ่มอีก 1 แปลง ในพื้นที่ประกาศแหล่งหินอุตสาหกรรมภูเขายะลา
  • ปี 2553 นายมนู เลขะกุล ผู้ถือประทานบัตรคนหนึ่ง ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่โบราณสถานภาพเขียนสี เขายะลา เพื่อการทำเหมืองแร่ต่อกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากร ได้พิจารณาอนุญาตให้นายมนู เลขะกุล ได้พื้นที่โบราณสถานภาพเขียนสียะลา เพื่อการทำเหมืองแร่ต่อไป โดยให้เหตุผลความจำเป็นทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมอุตสาหกรรมพื้นที่และการเหมืองแร่ ได้อนุญาตให้ต่ออายุประทานบัตร อีก 10 ปี จนถึงปี 2562
  • ปี 2560 พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 ระบุว่า พื้นที่ที่กำหนดเป็นแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง ต้องไม่ใช่เขตโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนไว้ การประกอบอุตสาหกรรมหินจึงหยุดชะงัก เพื่อรอการพิจารณา
  • ปี 2562 วันที่ 30 กันยายน ได้มีประกาศจากกรมศิลปากร ที่แบ่งแยกพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมหิน ออกจากเขตโบราณสถาน
ภาพเขียนสีโบราณเขายะลา

นายสัมพันธ์ กล่าวว่า ในกรณีของการประกาศลดพื้นที่โบราณสถานเขายะลา เพื่ออุตสาหกรรมหินนั้น อยู่ในการตัดสินใจของประชาชน ว่าจะอนุรักษ์เขายะลา หรือ ยอมเสียสละเพื่ออุตสาหกรรมหิน ให้ราคาหินลดลง เนื่องจากในปัจจุบันนั้น ราคาหินที่จังหวัดยะลาแพง คิวหนึ่งประมาณ 500 กว่าบาท ในขณะที่ภาคกลางหรือที่อื่นนั้นคิวหนึ่งอยูที่ 200 กว่าบาท ซึ่งถ้าหากประชาชนยอมสละ ก็จะทำให้ราคาหินถูกลง ส่วนเรื่องการรุกล้ำพื้นที่เขตโบราณสถานนั้น นายสัมพันธ์ โฆษิต อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ระบุว่า การทำเหมืองนั้น จะอยู่ในการควบคุมของกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ ซึ่งจะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดและจะไม่ปล่อยให้มีการทำเหมืองนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต โดยทุกเดือนจะมีการทำรายงานและการตรวจสอบโดยวิศวกร ของกรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ยืนยันว่าที่ผ่านมายังไม่พบการทำอุตสาหกรรมลุกล้ำนอกเหนือพื้นที่ได้รับอนุญาต

หินงอกหินย้อยภายในถ้ำมืด เขายะลา

Related Posts

Send this to a friend