BUSINESS

BSGF และ น้ำมันพืชเพลิน เช็น MOU โครงการ ‘เพลิน น้ำมันพืชเก่า แลกน้ำมันพืชใหม่’

บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด ภายใต้กลุ่มธุรกิจบางจาก และ บริษัท สวีท มีท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันพืชตรา “เพลิน” ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน ภายใต้โครงการ “เพลิน น้ำมันพืชเก่า แลกน้ำมันพืชใหม่” เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และสังคมร่วมกัน โดยการรณรงค์ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ และนำกลับมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง อากาศยานแบบยั่งยืน : Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF ที่ บ.บีเอสจีเอฟ จำกัด รับซื้อภายใต้โครงการ“ทอด ไม่ทิ้ง” เพื่อบริหารจัดการ นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว หรือ UCO เพื่อนำมาผลิตน้ำมัน SAF ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากภาคการบิน ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ ของกลุ่มบางจากอย่างครบวงจร

นายเอกภัท เตมียเวส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สวีท มีท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันพืชตรา “เพลิน” กล่าวภายในงานว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภายใต้วิสัยทัศน์ของกลุ่มบางจาก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาคมโลกในอนาคต ด้วยความมุ่งมั่นดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้ริเริ่ม โครงการ ‘เพลิน น้ำมันพืชเก่าแลกน้ำมันพืชใหม่’ ภายใต้ Concept ‘ทอด ไม่ทิ้ง’ เพื่อรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้ว จากกลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร รวมทั้งลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่มของน้ำมันพืชเพลิน นํามาส่งให้กับทางบางจาก เพื่อนำกลับไปผลิตน้ำมันอากาศยาน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในหลายมิติ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ”

“ในด้านของผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ จากบริโภคอาหาร ที่ถูกสุขอนามัย ที่เกิดจากลดปริมาณการใช้น้ำมันในการทอดซ้ำ และสำหรับร้านค้า ร้านอาหารจะได้ประโยชน์ ในด้านต้นทุนจากการซื้อน้ำมันใหม่ที่ต่ำลง ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่โอกาส ในการขยายผลต่อยอด และผสานความร่วมมือในด้านอื่นๆ ต่อไป โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน”

ด้าน นายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด กล่าวว่า บีเอสจีเอฟ บริษัทในเครือของกลุ่มบางจาก ในฐานะกลุ่มบริษัทนวัตกรรมสีเขียวชั้นนำ ในเอเชีย ที่ได้มีความมุ่งมั่นในการ ร่วมแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลก โดยให้ความสำคัญในการเพิ่มการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ได้มีการลงทุนเพื่อสร้างหน่วยผลิต น้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืนจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าของเสียภายในประเทศ และยังช่วยในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ในภาคอุตสาหกรรมการบิน

บางจากจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่น้ำมันพืชเพลินเข้าร่วมโครงการนี้ สำหรับ Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF ถือเป็นเรื่องใหม่ของโลก ซึ่งบางจากได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ มาระยะหนึ่งแล้ว และกำลังก่อสร้างโรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานที่ 17 ของโลก และเป็นเพียงโรงงานเดียวในประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน จริงๆ แล้ว โครงการนี้เป็นเรื่องของคาร์บอนและพลังงานสะอาด แต่นอกเหนือจากเรื่องคาร์บอน สิ่งที่เราภาคฎมิใจที่สุด คือ การได้ดูแลสุขภาพของคนไทย เพราะกระทรวงสาธารณ์สุข มีความพยายามมานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่ไม่อยากให้มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ดังนั้นประโยชน์หลักๆ จากโครงการนี้จะเป็นเรื่องสุขภาพ และนอกเหนือจากนั้น เป็นการช่วยโลกลดคาร์บอนอีกทางหนึ่ง

“ปัจจุบัน อียู ได้มีการบังคับใช้คาร์บอนแท็กแล้ว สำหรับบางจากนับเป็นบริษัท ที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนต่ำที่สุดในประเทศ และเราพยายามที่จะเอาสิ่ง ที่เราทำไปช่วยผู้ประกอบการคนไทย นั่นคือ ถ้าใช้น้ำมันดีเซลของบางจาก คาร์บอนจะต่ำกว่าทั่วไป เวลานำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศอียู ก็จะได้เปรียบเรื่องคาร์บอนแท็ก ซึ่งเป็นความตั้งใจที่บางจากอยากทำ แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีพันธมิตรมาช่วยเรา” นายธรรมรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

ในการดำเนินงานจะทยอย มีแคมเปญและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดร่วมกันระหว่างกลุ่มบางจาก และน้ำมันพืชเพลินออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ของโครงการฯ สำหรับในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ หรือเข้าร่วมเป็นตัวแทนในการรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้ว มาขายให้กับทางบริษัทฯ หรือเข้าร่วมโครงการ ในการนำน้ำมันเก่าแลกน้ำมันพืชใหม่ เพื่อนำไปใช้เองหรือนำไปจำหน่ายต่อ ซึ่งถือเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อีกทั้งยังขยายโอกาสให้กับประชาชน ที่ต้องการมีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

Related Posts

Send this to a friend