POLITICS

‘ก้าวไกล’ เสียดาย ‘ประธานสภาฯ’ สั่งปิดประชุม ทั้งที่ยังไม่ได้ข้อสรุป

‘ก้าวไกล’ เสียดาย ‘ประธานสภาฯ’ สั่งปิดประชุม ทั้งที่ยังไม่ได้ข้อสรุป หลังจากเสนอทบทวนมติตีความเสนอชื่อนายกฯ ซ้ำไม่ได้ ยัน ทำเพื่อทุกพรรคการเมือง อาจไม่ต้องสลับขั้วร่วมรัฐบาลเดิม

วันนี้ (4 ส.ค. 66) ที่อาคารรัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธร เลขาธิการพรรคก้าวไกล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (สส.) จากพรรคก้าวไกล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ภายหลังจากประธานรัฐสภาใช้อำนาจตามข้อบังคับการประชุมที่ 22 เลื่อนการประชุมรัฐสภาในวันนี้ไปก่อน และสั่งปิดการประชุม

นายชัยธวัช กล่าวว่าสืบเนื่องจากการอภิปรายในสภาวันนี้ และประธานสภาสั่งปิดประชุม ทาง สส.พรรคก้าวไกลขอยืนยันว่า

1.ญัตติที่ สส.พรรคก้าวไกล เสนอให้ทบทวนมติที่รัฐสภาเคยพิจารณาว่า การเสนอชื่อนายกฯ เป็นไปตามญัตติทั่วไปตามข้อบังคังที่ 41 เป็นญัตติที่ถูกต้อง ซึ่งประธานสภาควรเปิดให้มีการลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่กับญัตตินี้ เรื่องนี้ทางพรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายสนับสนุนให้อาจารย์วันนอร์ ได้เป็นประธานสภา เรามีข้อกังวลว่าการปิดประชุมนี้ อาจไม่สง่างาม อาจถูกมองว่าเสียง สว. อาจไม่มากพอ ทำให้ไม่ไปสู่การลงมติ

2.การปิดประชุมสภาทำให้การดำเนินการวาระการประชุมทั้ง 2 วาระในวันนี้ ไม่เกิดขึ้น อย่างการเลือกนายกฯ เรายืนยันว่า สามารถเลือกได้โดยไม่ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เมื่อบอกให้เลื่อนไปก่อน ก็ยังมีวาระการเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ถ้าผ่านวาระ 1 ก็จะทำให้การเลือกนายกฯ ไม่ไปสู่ทางตัน หวังว่าการประชุมครั้งต่อไปจะดำเนินการไปได้โดยเร็วที่สุด

นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล ระบุว่า การเสนอวันนี้ มีนักวิชาการเข้าชื่อในแถลงการณ์ 115 คน มีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การพิจารณาในประเด็นผู้ที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งถูกเลื่อนหลายครั้ง เราไม่จำเป็นต้องพึ่งศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อตัดสินในไปแล้ว ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยอำนาจของสภา เมื่อเราเสนอแล้ว มีผู้รับรองถูกต้อง ประธานสภาฯ ต้องให้พิจารณาเรื่องนี้ เราไม่ได้มีเจตนาในการประวิงเวลา ใช้เวลามากเกินไป และจะได้ข้อสรุปอย่างเร็วที่สุด หากได้ทบทวนในผลของการลมติครั้งก่อน ก็จะได้ไม่ต้องเจอเงื่อนไขการเลื่อนประชุมออกไป ซึ่งไม่รู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีการวินิจฉัยว่าอย่างไรในอนาคต

1.ญัตติของพรรคก้าวไกล เป็นหลักการซ้ำ เพราะสภามีมติตาม 151 ไปแล้ว จึงเข้าข้อบังคับการประชุมข้อที่ 41 ไปแล้ว จึงขอยืนวันว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ค. เรามีมติการตีความข้อบังคับว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะเสนอได้อีกหรือไม่ เรื่องที่เสนอวันนี้คือการทบทวน โดยสาระสำคัญคนละเรื่อง การเสนอของก้าวไกลไม่ใช่ญัตติซ้ำ หากเสนอไปแล้ว และเสนออีกในสัปดาห์หน้า ก็ทำไม่ได้ เพราะมันซ้ำ

2.ตามข้อบังคับ 51 การตีความนั้นต้องตีความเด็ดขาด หมายความว่าเมื่อตีความแล้วจะมีผู้ใดยกเรื่องเดิมมาอีกไม่ได้ แต่ไม่ได้ปิดกั้นไม่ให้ทบทวนวินิจฉันอีกครั้ง ยืนยันว่าสามารถเสนอได้ มีสมาชิกจากพรรคเพื่อไทยก็ช่วยยืนยัน จึงน่าแปลกใจที่การประชุมสภาต้องสิ้นสุด โดยไม่มีข้อยุติอะไรเลย ซึ่งพอเลื่อนประชุม ที่น่าเสียดายที่สุดคือ การแก้ไขมาตรา 272 ที่เป็นทางออกที่สำคัญของประเทศก็ไม่ได้พิจารณา

“วันนี้ทราบมาแต่ต้นว่ามีความพยายามในการล้มการประชุม ถ้าไม่ได้ สส. วิโรจน์ ช่วยกระตุ้น คงจะไม่มีการแห่เข้ามาประชุม แต่การใช้วิชามารแบบนี้ ขอถามว่า ประเทศได้อะไรจากการปิดการประชุมแบบนี้” นายรังสิมันต์ กล่าว

นายชัยธวัช ย้ำว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราไม่แน่ใจว่าการเลือกนายกฯ จะยืดเยื้อไปถึงไหน ตอนนี้ก็ไปถึงกลางเดือนแล้ว หากวันนี้ได้พิจารณามาตราดังกล่าว และผ่านวาระที่ 1 สิ้นเดือนนี้อาจผ่านวาระที่ 3 ได้ เป็นอีกมาตราการที่ทำให้การเมืองไม่ไปสู่ทางตัน

เมื่อถามว่าหากแก้ไขได้จะกลับมาเสนอชื่อนายพิธา อีกครั้งหรือไม่ นายชัยธวัช ระบุว่า เราไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ทำเพื่อทุกพรรค รวมถึงพรรคเพื่อไทยที่ตอนนี้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลด้วย อาจไม่จำเป็นต้องพลิกขั้วรัฐบาล หรือถูกบีบให้ไปร่วมกับพวกสืบทอดอำนาจจากขั้วรัฐบาลเดิม

เมื่อถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ไม่ได้เป็นญัตติ สามารถเสนอซ้ำได้ นายชัยธวัช กล่าวว่า หากมีคำวินิจฉัยแบบนั้น ก็ต้องคุยกับพรรคการเมืองอีกครั้ง แต่ยืนยันว่าการเสนอญัตติวันนี้ เห็นว่าไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการมาชี้ แต่ควรเป็นอำนาจของสภา เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงเสนอให้มีทบทวน เรื่องนี้ไม่อยู่ในขอบเขตของอำนาจศาล จึงเสนอให้ใช้กลไกรัฐสภา

Related Posts

Send this to a friend