POLITICS

ศาลปกครองสูงสุดรับพิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่ ตามคำร้อง ‘คมนาคม’ ‘รฟท.’ ยังไม่ต้องเสียค่าโง่กว่าหมื่นล้าน

ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับ คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำขอให้พิจารณาคดีคดีโฮปเวลล์ ใหม่ ตามคำร้องของ กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังไม่ต้องเสียค่าโง่กว่าหมื่นล้านบาท

วันนี้ (4 มี.ค. 65) ศาลปกครองสูงสุด โดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งในคดีคำร้องที่ 394-396/2565 ระหว่างกระทรวงคมนาคมผู้ร้องที่ 1 และการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ร้องที่ 2 กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้าน อันเป็นคดีที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย อุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลาง ที่ไม่รับคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ไว้พิจารณา

โดยอ้างว่าการนับระยะเวลาหรืออายุความในการยื่นข้อเรียกร้องของ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ต่ออนุญาโตตุลาการในคดีนี้ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2552 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดีคือตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญาของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยไปถึง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มิใช่นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 อันเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย เห็นว่าข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่กล่าวอ้าง เข้าหลักเกณฑ์และองค์ประกอบการพิจารณาคดีใหม่ ตามมาตรา75 (1) (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2552

กรณีในคดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่อ. 221-223 /2562ให้ยกคำร้องของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการและบังคับตามคำชี้ขาด ของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าตอบแทนตามสัญญาสัมปทานจำนวน 2,850,000,000 บาท คืนหนังสือค้ำประกัน และค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกันจำนวน 38,749,800 บาทกับเงินที่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้ในการก่อสร้างโครงการจำนวน 9,000,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด

ศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าแม้ว่าที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเคยมีมติในคราวประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2545 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ว่า“ ในกรณีที่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ แต่ผู้ฟ้องคดีมิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในขณะนั้นต่อมาหลังจากที่ศาลปกครองเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 แล้วผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยขณะที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองอายุความฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมยังไม่ครบกำหนด แต่การนำคดีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลปกครองนั้นจะเป็นการฟ้องคดีปกครองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามมาตรา 49 มาตรา 50 หรือมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แล้วแต่กรณีในกรณีเช่นนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้เริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการเป็นต้นไป” ก็ตามและต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มี

คำพิพากษาคดีนี้โดยวินิจฉัยว่า บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด รู้ว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2551 อันเป็นวันที่ได้รับหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญา จากกระทรวงคมนาคมเมื่อสัญญาระหว่างคู่พิพาท ไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาการเสนอข้อพิพาท ต่ออนุญาโตตุลาการไว้โดยเฉพาะการเสนอข้อพิพาท ต่อคณะอนุญาโตตุลาการ จึงกระทำได้ภายในอายุความการฟ้องคดีต่อศาลเมื่อข้อพิพาทได้เกิดขึ้นก่อนที่ศาลปกครอง เปิดทำการการนับอายุความการฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการคือวันที่ 9 มีนาคม 2544 เมื่อ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 อันเป็นการยื่นภายในกำหนดระยะเวลาห้าปีนับ แต่วันที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาข้อพิพาทนี้

จึงเป็นข้อพิพาทที่เสนอต่อคณะอนุญาโตตุลาการภายในระยะเวลาโดยชอบแล้วจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาโดยอาศัยข้อกฎหมายกรณีการเริ่มนับระยะเวลาการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการโดยไม่ได้เริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2545

แม้ว่าคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวจะไม่ได้ระบุถึงมติที่ประชุมใหญ่ฯ ดังกล่าวโดยตรง แต่ก็เริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตามที่กำหนดในมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2545 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่ามติของที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติที่ประชุมใหญ่ฯ เกี่ยวกับการเริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและโดยที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพันรัฐสภาคณะรัฐมนตรีศาลองค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 211 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ดังนั้นการที่ศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาโดยเริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตามแนวทางที่กำหนดโดยมติที่ประชุมใหญ่ฯ แล้วต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติที่ประชุมใหญ่ฯ ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงเป็นกรณีที่ข้อกฎหมายที่ศาลปกครองสูงสุดใช้ในการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญซึ่งทำให้ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งขัดกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงชอบที่จะขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองใหม่ได้ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

แม้ว่ามาตรา 212 วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะบัญญัติไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วเว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยมาตรา 5 นั้นเป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดดังกล่าวหรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญข้างต้นคงมีความหมาย แต่เพียงว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติใดของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเป็นคำพิพากษาที่ใช้บังคับมิได้หรือต้องสิ้นผลบังคับผูกพันลงเท่านั้นดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2564 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2564 ที่วินิจฉัยว่า

มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวใช้บังคับมิได้หรือต้องสิ้นผลบังคับผูกพันลงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญข้างต้นมิได้มีผลเป็นการห้ามมิให้คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองคดีหมายเลขดำที่อ.410-412/2557 หมายเลขแดงที่อ.221-223/2562 นำผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2564 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2564 มาใช้เป็นข้ออ้างในการขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีนี้ใหม่ตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อย่างใดศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยไว้พิจารณา

Related Posts

Send this to a friend