’เศรษฐา‘ เผย เร่งควบคุมสถานการณ์น้ำท่วม ดูแลประชาชน เตรียมบูรณาการแผนระยะยาว

วันนี้ (3 ต.ค. 66) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ว่า อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล และเป็นเรื่องแรกวันนี่ที่นำเข้าในที่ประชุม ครม. โดยได้สั่งการให้รัฐมนตรีทุกคนใส่ใจเป็นพิเศษ และกำชับ สส. ให้ลงพื้นที่เยอะๆ และต่อไปก็ต้องดูเรื่องการระบายน้ำแต่ละพื้นที่ ไม่อยากเป็นลักษณะ “วัวหายแล้วล้อมคอก”
นายเศรษฐา กล่าวเพิ่มเติมว่า วันศุกร์นี้ (6 ต.ค. 66) นี้ ตนเองจะเดินทางไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งยังมีหลายพื้นที่ที่น่ากังวลอยู่ เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำเกินความจุ ซึ่งได้สั่งการให้เตรียมแผนรองรับ เพราะปีที่ผ่านมา อุบลราชธานีน้ำท่วมเยอะมาก นานมาก ยิ่งท่วมนาน ก็ยิ่งทำให้พืชผลเสียหายมาก และย้ำว่า เรื่องนี้รัฐบาลมีแผนบูรณาการในระยะยาวเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการ
นายเศรษฐา กล่าวย้ำถึงความเป็นห่วงในเรื่องการบริหารจัดการน้ำว่า แบ่งเป็น เรื่องอุปโภค บริโภค การรักษาระบบนิเวศ การใช้เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งตอนนี้ก็จะเป็นเรื่องของน้ำท่วม และอีก 6 เดือน ก็จะเป็นเรื่องของภัยแล้ง ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องที่เราควรบริหารจัดการกันอย่างพอเหมาะ ส่วนการระบายน้ำ หากระบายมากเกินไป หรือการเก็บในเขื่อนน้อยเกินไป ก็อาจจะส่งปัญหาเป็นภัยแล้งอีก จึงใช้จังหวะที่เกิดฝนตกหนักระบายน้ำไปเก็บในเขื่อนพื้นที่ที่ควรจะเก็บก็จะเป็นประโยชน์
วันนี้ (3 ต.ค. 66) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ว่า อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล และเป็นเรื่องแรกวันนี่ที่นำเข้าในที่ประชุม ครม. โดยได้สั่งการให้รัฐมนตรีทุกคนใส่ใจเป็นพิเศษ และกำชับ สส. ให้ลงพื้นที่เยอะๆ และต่อไปก็ต้องดูเรื่องการระบายน้ำแต่ละพื้นที่ ไม่อยากเป็นลักษณะ “วัวหายแล้วล้อมคอก”
นายเศรษฐา กล่าวเพิ่มเติมว่า วันศุกร์นี้ (6 ต.ค. 66) นี้ ตนเองจะเดินทางไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งยังมีหลายพื้นที่ที่น่ากังวลอยู่ เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำเกินความจุ ซึ่งได้สั่งการให้เตรียมแผนรองรับ เพราะปีที่ผ่านมา อุบลราชธานีน้ำท่วมเยอะมาก นานมาก ยิ่งท่วมนาน ก็ยิ่งทำให้พืชผลเสียหายมาก และย้ำว่า เรื่องนี้รัฐบาลมีแผนบูรณาการในระยะยาวเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการ
นายเศรษฐา กล่าวย้ำถึงความเป็นห่วงในเรื่องการบริหารจัดการน้ำว่า แบ่งเป็น เรื่องอุปโภค บริโภค การรักษาระบบนิเวศ การใช้เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งตอนนี้ก็จะเป็นเรื่องของน้ำท่วม และอีก 6 เดือน ก็จะเป็นเรื่องของภัยแล้ง ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องที่เราควรบริหารจัดการกันอย่างพอเหมาะ ส่วนการระบายน้ำ หากระบายมากเกินไป หรือการเก็บในเขื่อนน้อยเกินไป ก็อาจจะส่งปัญหาเป็นภัยแล้งอีก จึงใช้จังหวะที่เกิดฝนตกหนักระบายน้ำไปเก็บในเขื่อนพื้นที่ที่ควรจะเก็บก็จะเป็นประโยชน์