POLITICS

เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการศึกษาประชามติแก้รัฐธรรมนูญ

นายกฯ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 2560 แล้ว พร้อมเปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการฯ

วันนี้ (3 ต.ค.66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 256/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่ และอำนาจ ดังต่อไปนี้

1.นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ
2.นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1
3.นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2
4.นายนิกร จำนง เป็นกรรมการและโฆษกคณะกรรมการ
5.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ
6.นายพิชิต ชื่นบาน ตัวแทนที่ปรึกษานายกฯ เป็นกรรมการ
7.พล.อ.ชัชวาล ขำเกษม เป็นกรรมการ
8.พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา เป็นกรรมการ
9.พล.ต.อ.วินัย ทองสอง เป็นกรรมการ
10.นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ เป็นกรรมการ
11.นายวิรัตน์ วรศสิริน เป็นกรรมการ
12.นายศุภชัย ใจสมุทร เป็นกรรมการ
13.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท เป็นกรรมการ
14.นายวิเชียร ชุบไธสง เป็นกรรมการ
15.นายวัฒนา เตียงกุล เป็นกรรมการ
16.นายยุทธพร อิสรชัย เป็นกรรมการ
17.นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นกรรมการ
18.นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา เป็นกรรมการ
19.นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นกรรมการ
20.นายประวิช รัตนเพียร เป็นกรรมการ
21.นายนพดล ปัทมะ เป็นกรรมการ
22.นายธนกร วังบุญคงชนะ เป็นกรรมการ
23.นายธงชัย ไวยบุญญา เป็นกรรมการ
24.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการ
25.นายเดชอิศม์ ขาวทอง เป็นกรรมการ
26.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เป็นกรรมการ
27.นายชาติพงษ์ จีระพันธุ เป็นกรรมการ
28.นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ เป็นกรรมการ 29.นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี เป็นกรรมการ
30.น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ เป็นกรรมการ
31.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นกรรมการ
32.ผู้แทนพรรคก้าวไกล เป็นกรรมการ
33.นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
34.นายนพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ
35.นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาศึกษาแนวทางการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการออกกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ หารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้คนไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล หลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน รายงานผลการดำเนินงานต่อนายกรัฐมนตรี

Related Posts

Send this to a friend