ภาคเอกชนหนุนรัฐบาลผลักดัน SEC ก่อนแลนด์บริดจ์ หวังพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้
ภาคเอกชนหนุนรัฐบาลผลักดัน SEC ก่อนแลนด์บริดจ์ ที่ต้องศึกษาอย่างรอบด้าน หวังพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ด้านที่ปรึกษากมธ.แลนด์บริดจ์ เผยกฏหมาย SEC น่าจะแล้วเสร็จในปีนี้
วันนี้ (2 ก.พ. 67) ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการจัดงาน SITE 2024 งานแสดงสินค้า นวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านพลังงาน ดิจิทัล อาหารและการเกษตร ครั้งแรกและยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
กิจกรรมสำคัญมีเวทีเสวนาพิเศษ Land Bridge และระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอด้วย รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการแลดน์บริดจ์ สภาผู้แทนราษฎร นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ รองประธานหอการค้าไทยและประธานหอการค้าภาคใต้ นายอดิศร ตันเองชวน กรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นิทัศน์ เพราแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดี ม.อ. และ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล เปิดเผยว่า โครงการแลนด์บริดจ์ Land Bridge เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นทางเลือก ของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC (Southern Economy Corridor) ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อปี 2562 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาภาคใต้ ปี 2561-2580 มุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตรมูลค่าสูง การท่องเที่ยวมูลค่าสูง โครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการพัฒนาสังคมคุณภาพ และเป็นหนึ่งในโครงการระเบียงเศรษฐกิจใน 4 ภูมิภาค ที่มีมูลค่าการลงทุน 2 แสนล้านบาท โดย SEC ภาคใต้อยู่ที่ประมาณ 65,000 ล้านบาท
“โครงการแลนด์บริดจ์เป็นหนึ่งในทางเลือกระหว่าง โครงการคลอง 9 ท่าเรือทวาย และแลนด์บริดจ์ ในโครงการ SEC ซึ่งรัฐบาลชุดนี้เลือกแลนด์บริดจ์ เป็นตัวนำในแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ SEC ให้ขยายตัว โดยรัฐบาลชุดที่แล้วให้ สนข.ศึกษา และรัฐบาลนี้เห็นชอบที่จะโรดโชว์และศึกษา”
รศ.ดร.กิตติ กล่าวว่าโครงการแลนด์บริดจ์ มูลค่าการลงทุน 1 ล้านล้านบาท ที่จะสร้างท่าเรือ 2 ฝั่ง จ.ระนอง-ชุมพร รถไฟรางคู่ ถนน และท่อส่งของเหลว ไม่ใช่ท่อส่งน้ำมัน อย่างที่มีการตั้งข้อสงสัย ซึ่งการศึกษาของ สนข.และของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังต่างกันในแง่ผลตอบแทนการลงทุน จึงต้องทำการศึกษาอย่างรอบด้าน ทั้งรูปแบบอุตสาหกรรม การลงทุนทางการเงิน และผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่ง สนข.กำลังทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม EHIA
“Land Bridge จะเป็น Game Changer สำหรับโครงการ SEC ซึ่งต้องทำให้เกิดขึ้นก่อน หรือจะทำคู่ขนานกันไปได้ ซึ่ง SEC คาดว่าตัวกฏหมายจะแล้วเสร็จภายในปี 67 และเริ่มตั้งสำนักงานในปี 68 ส่วนแลนด์บริดจ์ รัฐบาลก็ศึกษาไปพร้อมกันได้”
รศ.ดร.กิตติ กล่าวว่า ตามขั้นตอนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC จะต้องมีการเสนอ พรบ.ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และ พรบ.กำกับการลงทุนและดูแลประชาชน เมื่อกฏหมายผ่านสภาฯ และคณะรัฐมนตรี ภายในปี 2567 จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยายระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จัดตั้งสำนักงานฯ ภายในปี 2568 ก็จะเป็นกรอบในการพัฒนา และโครงการแลนด์บริดจ์ ก็จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของ SEC
นายอิดศร ตันเองชวน ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมในภาคใต้ ที่มีเช่นปาล์มน้ำมัน ยางพารา ประมงและ SME อยู่ในช่วงหดตัว ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมคาดหวังกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ที่มีแผนแล้ว แต่ไม่เห็นงบประมาณ จึงอยากเห็นโครงการ SEC เกิดขึ้นก่อนแลนด์บริดจ์ เพราะมองเห็นการพัฒนาจาก SEC เป็นผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมภาคใต้ และไม่ได้กัวงที่มีการกล่าวว่า กฏหมาย SEC จะเป็นเผด็จการ แต่จะเป็นเพราะไม่มีกฏหมายรองรับ จึงอยากให้รัฐเร่งออกกฏหมาย SEC มาก่อน
“แลนด์บริดจ์เป็นทางเลือกระบบโลจิสติกส์ในภาคใต้ ซึ่งมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการส่งออก เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง แต่คิดว่าอาจยังต้องใช้เวลาศึกษาให้รอบด้าน แต่ SEC มีอยู่แล้ว จึงอยากให้รัฐบาลผลักดันให้เกิดขึ้นก่อน” นายอดิศร กล่าว
นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า รัฐบาลมีแผน SEC แต่ยังไม่มีงบประมาณ และแผนงาน SEC มีโครงการต่างๆรองรับอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องรอแลนด์บริดจ์ เช่น การพัฒนาสะนามินระนอง-ชุมพร การเชื่อมต่อท่าเรือระนอง-BimTech การขยายทางหลวงชุมพร-ระนอง รถไฟทางคู่ รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเลียบชางฝั่งทะเล 2 ฝั่ง ตนเองมองว่า ถ้ารัฐบาลมีงบประมาณปีละ 2 แสนล้านบาท มามุ่งทำ SEC ให้เกิดขึ้นได้ภายใน 5 ปี แต่ต้องเรียนรู้ความผิดพลาดจากโครงการ EEC ด้วย
“ผมเห็นด้วยที่จะมีโครงการพัฒนาชายฝั่ง 2 ทะเล จะเรียกว่าแลนด์บริดจ์หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อมูลของ สนข.ที่ยังไม่ชัด และของจุฬาฯ ก็ยังไม่คลอบคลุม สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อนักลงทุนว่าจะมาลงทุนหรือไม่”
รศ.ดร.กิตติ กล่าวเห็นด้วยกับความเห็นของภาคเอกชน ที่อยากผลักดันให้ SEC เกิดก่อน ซึ่งตามขั้นตอนทางกฏหมายเกิดขึ้นแน่ภายในปีนี้ แต่การทุ่มงบประมาณของ SEC น่าจะเป็นปัญหาของรัฐบาล เพราะรัฐบาลคงมีข้อจำกัดทางการเงิน จึงผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์มาก่อน โดยการดึงนักลงทุนมาร่วมกันโดยไม่ใช้เงินภาครัฐ