HEALTH

ม.มหิดล ร่วมกับ Tufts University เปิดผลวิจัย ชี้เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาการเข้าถึงโปรตีนจากสัตว์

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Tufts University วิจัยการเข้าถึงโปรตีนจากสัตว์ในเด็ก พบเด็กในประเทศที่มีรายได้น้อย เข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ได้น้อยกว่าเด็กในประเทศที่มีรายได้สูง ขณะที่เด็กไทยกำลังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ เสนอ ‘โปรตีนทางเลือก’ จากพืช แก้ปัญหาการเข้าถึงโปรตีนในพื้นที่โลกที่ขาดแคลน และสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากสัตว์อย่างเหมาะสม รักษาสมดุลให้กับโลก

รองศาสตราจารย์ ดร.นพวรรณ เปียซื่อ รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Tufts University สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2533-2561 ศึกษาวิจัยประเด็น “การเข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์” ในเด็ก 185 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 93 ของจำนวนเด็กทั่วโลก ทั้งนี้โปรตีนถือเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก

ผลการศึกษาพบว่าเด็กทั่วโลกได้รับโปรตีนจากสัตว์ เฉลี่ย 1.9 หน่วยบริโภค (170 กรัม) หรือประมาณ 12 ช้อนโต๊ะต่อวัน ซึ่งเด็กในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกมีการเข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่แตกต่างกัน โดยเด็กในประเทศที่มีรายได้น้อย เข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ได้น้อยกว่าเด็กในประเทศที่มีรายได้สูง ส่งผลต่อภาวะโภชนาการที่แตกต่างของเด็กในแต่ละพื้นที่

สำหรับประเทศไทย พบว่า ‘เด็กไทยในเมือง’ เข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ได้มากกว่า ‘เด็กไทยในชนบท’ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยจากภาวะทุพโภชนาการ ที่ไม่ได้มีความหมายเฉพาะ ‘การขาดสารอาหาร’ แต่รวมถึงการมี ‘ภาวะโภชนาการเกิน’ อีกด้วย ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กไทยอ้วนเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับอุบัติการณ์เด็กอ้วนทั่วโลก

ปัจจุบันผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “Nature Food” และขยายผลสู่การกำหนดนโยบายเพื่อแก้วิกฤติที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก โดยเสนอให้มีการเสริม ‘โปรตีนทางเลือก’ ด้วยแหล่งโปรตีนจากพืช (Plant Based Protein) ในพื้นที่โลกที่ขาดแคลน พร้อมเรียกร้องให้ทั่วโลกหันมาบริโภคโปรตีนจากสัตว์โดยคำนึงถึง ‘สุขภาพสิ่งแวดล้อม’ รักษา ‘ความสมดุล’ ให้กับโลก มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติต่อไป

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Tufts University วิจัยการเข้าถึงโปรตีนจากสัตว์ในเด็ก พบเด็กในประเทศที่มีรายได้น้อย เข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ได้น้อยกว่าเด็กในประเทศที่มีรายได้สูง ขณะที่เด็กไทยกำลังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ เสนอ ‘โปรตีนทางเลือก’ จากพืช แก้ปัญหาการเข้าถึงโปรตีนในพื้นที่โลกที่ขาดแคลน และสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากสัตว์อย่างเหมาะสม รักษาสมดุลให้กับโลก

รองศาสตราจารย์ ดร.นพวรรณ เปียซื่อ รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Tufts University สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2533-2561 ศึกษาวิจัยประเด็น “การเข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์” ในเด็ก 185 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 93 ของจำนวนเด็กทั่วโลก ทั้งนี้โปรตีนถือเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก

ผลการศึกษาพบว่าเด็กทั่วโลกได้รับโปรตีนจากสัตว์ เฉลี่ย 1.9 หน่วยบริโภค (170 กรัม) หรือประมาณ 12 ช้อนโต๊ะต่อวัน ซึ่งเด็กในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกมีการเข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่แตกต่างกัน โดยเด็กในประเทศที่มีรายได้น้อย เข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ได้น้อยกว่าเด็กในประเทศที่มีรายได้สูง ส่งผลต่อภาวะโภชนาการที่แตกต่างของเด็กในแต่ละพื้นที่

สำหรับประเทศไทย พบว่า ‘เด็กไทยในเมือง’ เข้าถึงแหล่งโปรตีนจากสัตว์ได้มากกว่า ‘เด็กไทยในชนบท’ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยจากภาวะทุพโภชนาการ ที่ไม่ได้มีความหมายเฉพาะ ‘การขาดสารอาหาร’ แต่รวมถึงการมี ‘ภาวะโภชนาการเกิน’ อีกด้วย ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กไทยอ้วนเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับอุบัติการณ์เด็กอ้วนทั่วโลก

ปัจจุบันผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “Nature Food” และขยายผลสู่การกำหนดนโยบายเพื่อแก้วิกฤติที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก โดยเสนอให้มีการเสริม ‘โปรตีนทางเลือก’ ด้วยแหล่งโปรตีนจากพืช (Plant Based Protein) ในพื้นที่โลกที่ขาดแคลน พร้อมเรียกร้องให้ทั่วโลกหันมาบริโภคโปรตีนจากสัตว์โดยคำนึงถึง ‘สุขภาพสิ่งแวดล้อม’ รักษา ‘ความสมดุล’ ให้กับโลก มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติต่อไป

Related Posts

Send this to a friend