HEALTH

แพทย์ เผยเทคนิคผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาท และปรับพฤติกรรม

นพ.วิศิษฐ์ แซ่ล้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ล่าสุดให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “อาการปวดคอ” ซึ่งบางคนมองว่าการกินยาหรือแค่นวดก็หาย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าอาการปวดคอ จะนำไปสู่โรคร้ายได้อีกหลายโรค และหากเลือกการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจพัฒนาไปสู่โรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาท ที่ผู้ป่วยบางรายอาการรุนแรงถึงขั้นปวดมากจนขยับคอไม่ได้ พร้อมกันนี้ได้เผยวิธีการผ่าตัด เปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอ เพื่อช่วยผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทางเลือกใหม่ของคนกลัวการผ่าตัด ชี้เป็นวิธีการผ่าตัดที่แม่นยำและปลอดภัย สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ

นพ.วิศิษฐ์ เผยว่า “ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จัก กับโรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทก่อน เพราะมีอีกหลายคนเคยได้ยินแต่ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง ทับเส้นประสาท แต่อาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ โรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท เท่าไรนัก บางคนเหมารวมอาการของโรคเลยด้วยซ้ำ ลองหลับตาแล้วนึกภาพดูว่า ในหนึ่งวันกระดูกคอของคนเราจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้งานมากแค่ไหน ซึ่งยิ่งถ้าหากเรามีการเคลื่อนไหวที่หนัก และด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลต่อความเสื่อมของกระดูกส่วนคอเพิ่มมากขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาทนั้น จะมีอาการคอเกร็ง การขยับและการเคลื่อนไหวลำบาก บางรายมีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรง หรือมีอาการชาร่วมด้วย”

“สำหรับที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ จากเคสที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะมาด้วยอาการปวดคอ ขยับและเคลื่อนไหวลำบาก บางรายพบว่ามีอาการแขนอ่อนแรง ปวดคอร้าวลงแขน ขณะที่แนวทางในการรักษา โรคกระดูกสันหลังส่วนคอทับเส้นประสาท มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และหากอาการยังไม่รุนแรง ก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยา แต่หากวินิจฉัยแล้วพบว่าอาการรุนแรง คือมีอาการชาหรือปวดมาก และมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ถือเป็นสัญญาณอันตราย ที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง MRI เพื่อหาสาเหตุของอาการ และทำการผ่าตัดรักษาการทำงานของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ”

ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค HYBRID Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ HYBRID ACDF เป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimal invasive surgery) ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง ที่เรียกว่า กล้องไมโครสโคป (Microscope) ร่วมกับ กล้องเอ็นโดรสโคป (Endoscope) เพื่อเปลี่ยนหมอนรองกระดูกที่ทรุดตัว และเสื่อมมากจนไม่สามารถเคลียร์แค่บริเวณที่กดทับออกได้ โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดจากทางด้านหน้า และแผลขนาดเพียง 1.5 นิ้ว เท่านั้น

สำหรับการผ่าตัดด้วยเทคนิค HYBRID Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ HYBRID ACDF นี้ เป็นการผ่าตัดที่แม่นยำและปลอดภัย เพราะการใช้กล้องไมโครสโคป (Microscope) จะทำให้แพทย์มองเห็นภาพเป็นสามมิติ และเห็นระยะลึกตื้นของตำแหน่งที่ทำการรักษาได้อย่างชัดเจนขึ้น ส่วนการใช้งานร่วมกับกล้องเอ็นโดรสโคปนั้น จะช่วยให้แพทย์เห็นภาพในลักษณะแบบชอนไช และสามารถปรับมุมมองได้ทันทีขณะทำการผ่าตัด ดังนั้นเมื่อนำข้อดีทั้งสองอย่างมาใช้ร่วมกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา ซึ่งปัจจุบันเทคนิคนี้ยังพบได้น้อยมาก เพราะขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลนั้นๆ มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครัน รวมทั้งแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อรองรับ กับการใช้งานเทคนิคนี้หรือไม่ ทั้งนี้หากไม่อยากไปถึงจุด ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ทุกคนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับท่าทางในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงของการป่วย เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาทได้มากขึ้น
แพทย์กระดูกสันหลัง เผยเทคนิค HYBRID ACDF การผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาท และป้องกันด้วยการปรับพฤติกรรม

นพ.วิศิษฐ์ แซ่ล้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ล่าสุดให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “อาการปวดคอ” ซึ่งบางคนมองว่าการกินยาหรือแค่นวดก็หาย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าอาการปวดคอ จะนำไปสู่โรคร้ายได้อีกหลายโรค และหากเลือกการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจพัฒนาไปสู่โรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาท ที่ผู้ป่วยบางรายอาการรุนแรงถึงขั้นปวดมากจนขยับคอไม่ได้ พร้อมกันนี้ได้เผยวิธีการผ่าตัด เปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอ เพื่อช่วยผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทางเลือกใหม่ของคนกลัวการผ่าตัด ชี้เป็นวิธีการผ่าตัดที่แม่นยำและปลอดภัย สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ

นพ.วิศิษฐ์ เผยว่า “ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จัก กับโรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทก่อน เพราะมีอีกหลายคนเคยได้ยินแต่ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง ทับเส้นประสาท แต่อาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ โรคกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท เท่าไรนัก บางคนเหมารวมอาการของโรคเลยด้วยซ้ำ ลองหลับตาแล้วนึกภาพดูว่า ในหนึ่งวันกระดูกคอของคนเราจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้งานมากแค่ไหน ซึ่งยิ่งถ้าหากเรามีการเคลื่อนไหวที่หนัก และด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลต่อความเสื่อมของกระดูกส่วนคอเพิ่มมากขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาทนั้น จะมีอาการคอเกร็ง การขยับและการเคลื่อนไหวลำบาก บางรายมีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรง หรือมีอาการชาร่วมด้วย”

“สำหรับที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ จากเคสที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะมาด้วยอาการปวดคอ ขยับและเคลื่อนไหวลำบาก บางรายพบว่ามีอาการแขนอ่อนแรง ปวดคอร้าวลงแขน ขณะที่แนวทางในการรักษา โรคกระดูกสันหลังส่วนคอทับเส้นประสาท มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และหากอาการยังไม่รุนแรง ก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยา แต่หากวินิจฉัยแล้วพบว่าอาการรุนแรง คือมีอาการชาหรือปวดมาก และมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ถือเป็นสัญญาณอันตราย ที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง MRI เพื่อหาสาเหตุของอาการ และทำการผ่าตัดรักษาการทำงานของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ”

ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค HYBRID Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ HYBRID ACDF เป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimal invasive surgery) ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง ที่เรียกว่า กล้องไมโครสโคป (Microscope) ร่วมกับ กล้องเอ็นโดรสโคป (Endoscope) เพื่อเปลี่ยนหมอนรองกระดูกที่ทรุดตัว และเสื่อมมากจนไม่สามารถเคลียร์แค่บริเวณที่กดทับออกได้ โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดจากทางด้านหน้า และแผลขนาดเพียง 1.5 นิ้ว เท่านั้น

สำหรับการผ่าตัดด้วยเทคนิค HYBRID Anterior Cervical Discectomy And Fusion หรือ HYBRID ACDF นี้ เป็นการผ่าตัดที่แม่นยำและปลอดภัย เพราะการใช้กล้องไมโครสโคป (Microscope) จะทำให้แพทย์มองเห็นภาพเป็นสามมิติ และเห็นระยะลึกตื้นของตำแหน่งที่ทำการรักษาได้อย่างชัดเจนขึ้น ส่วนการใช้งานร่วมกับกล้องเอ็นโดรสโคปนั้น จะช่วยให้แพทย์เห็นภาพในลักษณะแบบชอนไช และสามารถปรับมุมมองได้ทันทีขณะทำการผ่าตัด ดังนั้นเมื่อนำข้อดีทั้งสองอย่างมาใช้ร่วมกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา ซึ่งปัจจุบันเทคนิคนี้ยังพบได้น้อยมาก เพราะขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลนั้นๆ มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครัน รวมทั้งแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อรองรับ กับการใช้งานเทคนิคนี้หรือไม่ ทั้งนี้หากไม่อยากไปถึงจุด ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ทุกคนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับท่าทางในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงของการป่วย เป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ กดทับเส้นประสาทได้มากขึ้น

Related Posts

Send this to a friend