CRIME

ปคบ. ร่วมกับ ปอท. และ อย. ทลายเครือข่ายลวงโลก สร้างข้อมูลเท็จ หลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ., บก.ปอท. และเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ปูพรมตรวจค้นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่ได้รับการร้องเรียนว่า มีกลุ่มเครือข่ายหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ โดยการสร้างเว็บไซที่มีบทความเนื้อหาที่เป็นเท็จและบรรยายสรรพคุณเกินความจริงเพื่อโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำาง และเสริมอาหารต่างๆ ซึ่งมีประชาชนหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ จำนวนมาก แต่เมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วก็มิได้เป็นไปตามที่โฆษณาแต่อย่างใด และสืบสวนจนทราบว่า บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้โฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว จนสามารถจับกุม นายศุภกร กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 606/2565 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ได้ที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งผ่านถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ พร้อมทั้งตรวจยึดคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการกระทำความผิด จำนวน 3 เครื่อง และเอกสาร พยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นความผิดจำนวนมาก

จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มีการเปิดเว็บไซต์เพื่อโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีบทความเนื้อหาที่เป็นเท็จและบรรยายสรรพคุณเกินความจริง จำนวน 20 เว็บไซต์ (20 ผลิตภัณฑ์) ซึ่งบางรายการก็ได้มีการยกเลิกเลข อย. แล้ว ทั้งนี้ได้ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหารฯ และ พ.ร.บ.เครื่องสำอางฯ จำนวน 23 รายการ มูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท นำตัว นายศุภกรฯ พร้อมด้วยของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สอบถามนาย ศุภกรฯ ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ให้การเพิ่มเติมว่า บริษัท อีเฟิร์ส กรุ๊ป ในประเทศโปแลนด์ ได้ว่าจ้างให้ นายศุภกรฯ มาเป็นกรรมการกผู้มีอำนาจของบริษัท
(ไทยแลนด์) จำกัด โดยได้รับเงินเดือน เดือนละ 350,000 บาท มีหน้าที่ควบคุมดูแล บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์)จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเชื้อเชิญ ดูแลลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์ (ลักษณะเหมือน call center) ส่วนการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาบทความอันเป็นเท็จและมีสรรพคุณเกินจริงนั้น บริษัท อีเฟิร์ส กรุ๊ป(ประเทศโปแลนด์) ได้ว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศรัสเชียเป็นผู้ดำเนินการ โดยตนเองไม่ทราบรายละเอียดและวิธีในการดำเนินการ และจากการสืบสวนเพิ่มเติมยังพบว่า ในปี พ.ศ.2564 บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด
มีรายได้จากเปิดเว็บไซต์ที่มีข้อมูลอันเป็นเท็จเพื่อโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ ประมาณ 250 ล้านบาท

พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าขอให้ระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าหลงชื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อออนไลน์ที่โฆษณาเกินจริง โดยเว็ปไซต์เหล่านี้จะให้กรอกชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่ แล้วกดคำว่า “สั่งซื้อพร้อมส่วนลด50%” เพื่อสั่งซื้อสินค้า หลังจากนั้นจะมีการติดต่อกลับจากผู้ขาย วิธีการส่งสินค้าจะเก็บเงินปลายทาง ซึ่งท่านอาจจะถูกหลอกได้ และขอเตือนไปยังผู้คิดจะกระทำความผิดหลอกลวงคนอื่นด้วย หากพบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปัจจุบันพบการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์สุขภาพในลักษณะการสั่งซื้อผ่าน Call Center และการจัดส่งสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง ผ่านทางเว็ปไชต์โดยมีโดเมนอยู่ที่ต่างประเทศ มีการกล่าวอ้างบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น แพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยเนื้อความเหมือนการให้ความรู้และสอดแทรกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขายลงไป ข้อความดังกล่าวหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ไม่มีหลักฐาน หรือผลการทดสอยประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์มาสนับสนุน ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่าไม่มีอาหารหรือเครื่องสำอางที่มีสรรพคุณรักษาโรค ฉะนั้นก่อนกดคำสั่งซื้อทุกครั้งขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบให้ดีเสียก่อน อย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ ที่มักโฆษณาเกินจริง

Related Posts

Send this to a friend