TECH

เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขปี 2024 พบทั่วโลกตระหนัเรื่องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ฟิลิปส์ เผยถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีสาธารณสุข หลังทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่ส่งผลให้ปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความผันผวนทางเศรษฐกิจล้วน ที่ท้าทายให้ผู้ให้บริการทางสาธารณสุขต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ ๆ ขณะที่ผู้บริหารแถวหน้าในวงการสาธารณสุขยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ดังนั้น ฟิลิปส์ จึงรวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีสาธารณสุขที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2567 ประกอบด้วย

1.การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น ในด้านรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Imaging) การใช้ AI ในระบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จะช่วยลดเวลาการทำงานในขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุด เพื่อให้ได้ใช้เวลากับผู้ป่วยมากขึ้น โดย AI จะช่วยสร้างภาพถ่ายรังสีที่มีคุณภาพสูง ทำให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำขึ้น นอกจากนี้ AI ยังช่วยลดความซับซ้อนของการอัลตราซาวด์หัวใจด้วยการจำลองภาพหัวใจแบบ 3 มิติ รวมถึงประเมินแบบอัตโนมัติในอวัยวะอื่น ๆ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายได้แม่นยำ

2.การทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยเข้าถึงการดูแลในพื้นที่ห่างไกลและในชนบท ที่ซึ่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนเป็นพิเศษ โดยระบบ Tele-ICU (เทเล-ไอซียู) จะถูกนำมาใช้ต่อเนื่อง เพื่อดูแลผู้ป่วยข้างเตียงแบบเสมือนจริงที่ไร้รอยต่อ เจ้าหน้าที่และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยวิกฤติแบบทางไกล รวมถึงช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้

3.การวินิจฉัยแบบบูรณาการที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบสหวิทยาการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขต่างสาขาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เปรียบเหมือนการสร้าง ‘ห้องนักบิน’ ที่ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นที่ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากโดเมนต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของ Vendor-agnostic เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำสำหรับผู้ป่วย เช่น เคสผู้ป่วยโรคมะเร็ง หากได้รับการวินิจฉัยตรงจุดแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้การรักษาเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น

4.ยกระดับการทำงานร่วมกัน เพื่อการติดตามและการประสานการดูแลที่ดียิ่งขึ้น โดยความสามารถในการทำงานร่วมกันแบบใหม่สามารถรวบรวมอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์ที่แตกต่างกันมาไว้ในอินเทอร์เฟซเดียวกัน เพื่อสร้างมุมมองภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถให้คำแนะนำการรักษาได้อย่างมั่นใจได้จากทุกที่ในโรงพยาบาล ช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากภาวะข้อมูลที่มีมากเกินไป โดยนวัตกรรมล่าสุดอย่างภาพเสมือนของผู้ป่วยแบบอวตาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โดยการแปลข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญแต่ซับซ้อนให้เป็นจอแสดงผลที่เข้าใจง่าย

5.การตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่น ๆ และการแทรกแซงโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขปรับปรุงประสิทธิภาพและดำเนินการเตรียมรับมือล่วงหน้าได้ ช่วยคาดการณ์และบริหารจัดการกระบวนการไหลของผู้ป่วยในแต่ละจุดบริการภายในสถานบริการ ทำให้สามารถบริหารทรัพยากรบุคลากรในตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุดได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 และตอนนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของโรงพยาบาล

6.การใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ เพื่อเข้าถึงการให้บริการทางสาธารณะสุขในประชากรได้อย่างทั่วถึง ด้วยความร่วมมือกับองค์กร Heart of Australia ภายใต้โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ (Hospital on wheels) ได้นำ การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เช่น X-ray และ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น

7.เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ โดยปีนี้มีแนวโน้มที่เทรนด์ของเทคโนโลยีด้านเฮทล์แคร์ยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ นำไปสู่การผลักดันพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น การดูแลช่องปากโดยแปรงสีฟันไฟฟ้าใช้งานผ่าน AI ที่เชื่อมต่อบนแอปพลิเคชั่น สามารถรวบรวมข้อมูลการแปรงฟันและเสนอคำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปปรับใช้ได้

8.จัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพ โดยการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างพื้นที่สำหรับการส่งมอบการดูแลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการใช้การตัดสินใจทางคลินิกแบบอัลกอริธึมและการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เช่น เราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบุคคลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ วิธีแก้ปัญหาแบบดิจิทัลสามารถปรับขยายได้อย่างชัดเจน จึงช่วยสนับสนุนการป้องกันในวงกว้างขึ้น รวมถึงช่วยปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและการดูแลให้ลดลงได้ อีกทั้งยังช่วยปรับรูปแบบการดูแลเช่นเดียวกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้เข้ากับการดูแลภายในบ้านได้ ลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลง

9.การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของระบบซัพพลายด์ด้านสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อการลดการปล่อยคาร์บอนในด้านสาธารณสุข โดยบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ระบบสาธารณสุข และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วนของระบบสาธารณสุข รวมไปถึงด้านการจัดการ นวัตกรรม การบริการและการส่งมอบ

สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบมากที่สุดประการหนึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับบริษัทเครื่องมือแพทย์และรัฐบาลที่ต้องการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และส่งเสริมความเสมอภาคด้านการดูแลสุขภาพ

10.ร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบด้านสาธารณสุขบนโลก ซึ่งระบบสาธารณสุขเริ่มนำกลยุทธ์มาใช้อย่างแข็งขันในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีแก้ปัญหาดิจิทัลอัจฉริยะ หรือการปรับใช้เป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-เป้าหมายบังคับสําหรับบริษัททั้งหมดในแคลิฟอร์เนียที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025

นอกจากนี้ ยังมีการคาดหวังที่จะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการนำ ‘การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ’ มาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้ดีขึ้นเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรและบริษัทต่าง ๆ ที่ทุ่มเทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อธรรมชาติที่ฟิลิปส์ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางนิเวศวิทยาของร่องรอยผลกระทบจากการผลิต

Related Posts

Send this to a friend