PUBLIC HEALTH

ศบค. ยกระดับมาตรการรับผ่อนคลายให้เปิดกิจการกิจกรรมเพิ่ม

ศบค. เคาะ คงพื้นที่แดงเข้ม 29 จังหวัด ยกระดับมาตรการป้องกันโรค Covid Free Setting – Universal Precaution รับ เปิดกิจการกิจกรรมให้ปลอดภัยและยั่งยืน เปิดนั่งกินในร้านอาหารไม่มีแอร์ร้อยละ 75 เดินทางข้ามจังหวัดได้ แต่ขอความร่วมมือเท่าที่จำเป็น ย้ำห้ามผู้ป่วยเดินทาง ต้องเข้าโครงการรับคนกลับบ้านเท่านั้น

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. กล่าวถึงผลการประชุมศบค. ครั้งที่ 13 /2564 สืบเนื่องจากการพิจารณาข้อกำหนดฉบับที่ 30 ตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกาศตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ในแง่การจัดพื้นที่สถานะการย่อย เนื่องจากครบกำหนดการประเมินในวันที่ 31 สิงหาคม โดยในครั้งนี้ไม่มีการปรับพื้นที่สีสถานการณ์ แต่มีการปรับมาตรการที่เข้มงวด การอนุญาตให้เปิดบางกิจกรรมกิจการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็น เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด รองและต้องมีการพิจารณาที่รอบด้านทั้งเศรษฐกิจและสังคม

โดยข้อพิจารณาของศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศปก.ศบค. แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แม้ว่ายังไม่ลดลงมากแต่สอดคล้องกับที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขนำเสนอซึ่งสถานการณ์ทั่วโลกยังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยังสามารถพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ได้อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องพลิกมุมมอง เมื่อโควิคยังไม่หายไปไหนยังคงอยู่ร่วมกับสังคมโลก จะต้องมีความพยายามที่จะปรับตัวและอยู่ร่วมกับโลกอย่างปลอดภัยให้ได้ ทั้งตัวส่วนบุคคลครอบครัวและสังคม โดยมีการปรับกลยุทธ์สร้างความมั่นใจและ สอดคล้องไปกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย

โดยแพทย์หญิงอภิสมัย ย้ำว่า การแบ่งพื้นที่โซนสีตามสถานการณ์การแพร่ระบาดจะยังคงเดิม ซึ่งพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดยังคงเป็น 29 จังหวัด โดยคงมาตรการที่เข้มงวดเพื่อให้การป้องกันการแพร่ระบาดต่อเนื่องและได้ผล โดยเน้นย้ำการระมัดระวังป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลาของทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือประชาชนทั่วไปทั้งเสียงและไม่เสี่ยง โดยให้คิดอยู่เสมอว่าแม้จะสนิทกับเราอาจเป็นผู้ติดเชื้อโควิดแฝง และอาจนำเชื้อมาแพร่ให้ได้

ขณะที่มีการยกระดับมาตรการป้องกันโรคเพื่อเปิดกิจการกิจกรรมให้ปลอดภัยและยั่งยืน ด้วยหลักการ Covid Free Setting และ Universal Precaution สำหรับสถานที่เสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง โดยการเปิดกิจกรรมและกิจการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้อยู่ภายใต้มาตรการที่กำหนด การเดินทางข้ามจังหวัด มาตรการร้านอาหาร มาตรการสำหรับห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้า และ community Mall การเปิดกิจการกิจกรรมบางประเภท เช่น ร้านเสริมสวยร้านนวดเฉพาะนวดเท้า เปิดการใช้อาคารสถานศึกษาและการเปิดใช้สนามกีฬา

ขณะที่มาตรการการส่งต่อผู้ป่วยและการรักษา มีการนำเสนอที่ประชุมว่าขณะนี้สถานการณ์เตียงค่อนข้างปรับได้ดีขึ้น เนื่องจากมีการแยกผู้ป่วยที่มีอาการในระดับเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเข้ารับการรักษาในระบบ Home isolation ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การติดเชื้อในปัจจุบัน นอกจากนี้ในที่ประชุมมีการพิจารณาการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยมี ศบศ.ให้การเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้อย่างเหมาะสม รวมถึงภาคเอกชนและประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และการอนุญาตให้เปิดกิจกรรมกิจกรรมในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถกลับมาประกอบอาชีพของตนได้ ซึ่งจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในระดับหนึ่ง

ขณะที่การเร่งการฉีดวัคซีนเป็นการเร่งรัดทำให้แผนทั้งหมดมันเกิดขึ้นได้ซึ่งเน้นย้ำว่า มีการเร่งรัดการฉีดวัคซีนตามลำดับความเร่งด่วน ทั้งกลุ่ม 608 และกิจกรรมกิจกรรมเสี่ยง ทั้งบุคลากรทางการ แพทย์การขนส่ง สาธารณะและบริการ ครู และอาชีพเสี่ยงเช่นพนักงานตัดผมและพนักงานส่งอาหาร รวมทั้งพิจารณาการฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยง 29 จังหวัดที่จะมีการเร่งระดมฉีดให้เร็วที่สุด พร้อมกับสร้างโอกาสในการเข้าถึงการใช้ชุดตรวจ ATK ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขจะมีการลงนามจะซื้อ ATK จำนวน 8.5 ล้านชุดในวันนี้ บริษัทจะสามารถจัดส่งให้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ทำให้ผู้ประชาชนสามารถเข้าถึงในราคาที่เหมาะสม

ด้านข้อเสนอ ศปก.ศบค. การเปิด กิจกรรมกิจกรรมในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด แล้วเรื่องของการเดินทางข้ามจังหวัดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สามารถเดินทางได้แต่ขอความร่วมมือให้หลีกเลี่ยงการเดินทาง หรือเดินทางเมื่อมีเหตุจำเป็นเท่านั้น โดยผู้ที่มีประวัติเสี่ยงติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อให้เข้าตามโครงการรับคนกลับบ้านหรือรับผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินทางเอง ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะสามารถเปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้โดยสารไม่เกินร้อยละ 75 และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลารวมไปถึงห้ามรับประทานอาหาร ขณะที่มาตรการสำหรับรถโดยสารรถตู้ระยะทางไกลควรแวะพักทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อระบายอากาศ ส่วนการเดินทางไปทำงานของแรงงานให้ใช้ระบบ Seal Rute และ Bubble and seal

ด้านการเปิดบริการของร้านอาหาร ให้ร้านอาหารที่อยู่นอกอาคารหรือในอาคารแต่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โล่ง อากาศถ่ายเทได้ดีสามารถให้นั่งรับประทานในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ส่วนร้านอาหารที่มีห้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ให้สามารถนั่งรับประทานในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ขณะที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งการกำกับติดตามมาตรการโดยผู้ประกอบการสมาคมภัตตาคารไทย และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพฯ

ส่วนการปรับมาตรการสำหรับกิจการห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้า community Mall ในกลุ่มกิจการกิจกรรมที่เปิดได้แบบมีเงื่อนไข คือร้านเสริมสวยร้านตัดผมหรือแต่งผมเปิดได้เฉพาะตัดผมเท่านั้น การให้บริการไม่เกินรายละ 1 ชั่วโมง ร้านนวดเปิดได้เฉพาะนวดเท้าเท่านั้น คลินิกเสริมความงามเปิดได้เฉพาะการจำหน่ายสินค้าเท่านั้น ซึ่งอาจต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า ขณะที่ร้านอาหารเปิดได้ตามเงื่อนไขของมาตรการร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ

สำหรับกิจกรรมที่ยังไม่เปิดบริการภายในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และ community Mall ได้แก่สถาบันกวดวิชาโรงภาพยนตร์ สปา สวนสนุก สวนน้ำ ฟิตเนส ห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ ห้องประชุม จัดเลี้ยง โดย ห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้าและ community Mall จะสามารถเปิดได้ถึงในเวลา 20:00 น

ส่วนการใช้อาคารของสถานศึกษา สามารถใช้อาคารของสถานศึกษาได้โดยผ่านความเห็นชอบของผู้แทน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนด

ด้านการเปิดใช้สนามกีฬาและสวนสาธารณะสามารถเปิดใช้ได้ประเภทกลางแจ้งหรือสนามกีฬาในร่มที่เป็นที่โล่งอากาศถ่ายเทสะดวกไม่มีระบบปรับอากาศ สามารถใช้ในการเล่นซ้อมหรือแข่งขันได้แบบไม่มีผู้ชม สามารถเปิดใช้สนามกีฬาทุกประเภทสำหรับการฝึกซ้อมของนักกีฬาทีมชาติไทยแบบไม่มีผู้ชม โดยสามารถเปิดบริการได้ถึงเวลา 20:00 น

ขณะที่รายงานการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน ศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 18,702 รายติดเชื้อภายในประเทศ 18,351 รายติดเชื้อจากต่างประเทศ 9 รายและติดเชื้อจากเรือนจำหรือสถานที่ต้องขัง 342 ราย ส่วนรายงานการรักษาตัวอยู่ 185,200 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาลหลัก 22,528 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม 162,672 ราย อาการหนัก 5154 รายและใส่เครื่องช่วยหายใจ 1082 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 273 คนรวมเสียชีวิตสะสม 10,587 คน

ขณะที่รายงานการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 สะสมจำนวน 22,070,573 ราย ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 สะสมจำนวน 6,860,084 ราย และฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 สะสมจำนวน 574,112 ราย

Related Posts

Send this to a friend