DEEPSOUTH

ชาวพุทธยะลา เข้าวัดร่วมบุญสืบสานประเพณี ‘วันสารทเดือนสิบ’ โดยมี กำลัง จนท.ทหาร รปภ.เข้ม

วันนี้ (17 ก.ย. 63)  เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการทำบุญวันสารทเดือนสิบ หรือวันส่งตายาย ที่วัดคูหาภิมุข (พุทธไสยานุสรณ์) หมู่ที่ 1 ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวยะลาทยอยเดินทางนำบุตรหลานไปวัดเพื่อร่วมทำบุญ โดยนำขนมต้ม ขนมลา ขนมบ้า ขนมเจาะหู  ขนมข้าวพอง และขนมเทียน รวมทั้งอาหารคาว ดอกไม้ธูปเทียนไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์  และทำบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  พร้อมทั้งนำขนมที่ใช้ในเทศกาลเดือนสิบไปตั้งวางไว้ที่ร้านเปรต ซึ่งมีเด็ก ๆ แต่งตัวเป็นเปรตคอยรับอาหาร นอกจากนั้นยังมีขบวนแห่หมรับ และประกวดหมรับด้วย ซึ่งในปีนี้ สังเกตได้ว่ามีประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมทำบุญในวันสารทเดือนสิบ เพื่อสืบสานประเพณีของชาวปักษ์ใต้ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมทำบุญ ทั้งที่ภายในวัด และรอบนอกวัดอย่างเข้มงวด

ขบวนแห่หมรับ
ขบวนแห่หมรับ
ขบวนแห่หมรับ

สำหรับการทำบุญวันสารท หรือ ประเพณีชิงเปรต จะจัดทำบุญ 2 ครั้ง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 หรือที่เรียกว่า “บุญแรก” หรือ วันรับตา-ยาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า “บุญหลัง” หรือ วันส่งตา-ยาย  โดยมีความเชื่อว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือ เรียกว่าเปรต นั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10  ดังนั้นทั้งสองวันนี้ จะมีการทำบุญของลูกหลาน โดยนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคไปถวายพระ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล แก่บรรพบุรุษของตน  และแสดงความกตัญญูกตเวทีและรำลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงสืบทอดต่อไป  อีกด้วย

ประเพณีชิงเปรต
ประเพณีชิงเปรต
ประเพณีชิงเปรต
ประเพณีชิงเปรต

สำหรับ การทำบุญวันสารท หรือ ประเพณีชิงเปรต จะจัดทำบุญ 2 ครั้ง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 หรือที่เรียกว่า“บุญแรก” หรือ วันรับตา-ยาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า “บุญหลัง” หรือ วันส่งตา-ยาย  โดยมีความเชื่อว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือ เรียกว่าเปรต นั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10  ดังนั้นทั้งสองวันนี้ จะมีการทำบุญของลูกหลาน โดยนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคไปถวายพระ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล แก่บรรพบุรุษของตน  และแสดงความกตัญญูกตเวทีและรำลึกถึงคุณงามความของบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงสืบทอดต่อไป  อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพจะมีการยื่นหนังสือข้อเสนอให้กับ ศอ.บต. เพื่อเสนอให้วันทำบุญสารทเดือนสิบ ของพี่น้องชาวพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสำคัญ และถือเป็นการสืบสานประเพณีของพุทธศาสนา พร้อมกับให้หน่วยงานราชการพิจารณาเป็นวันหยุด เพื่อให้พี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธได้เดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อร่วมทำบุญ และพบปะกับครอบครัว ซึ่งทาง ศอ.บต.ได้พิจารณาและส่งหนังสือให้กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ ให้อำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง หน่วยงานของภาครัฐ ในการประกอบพิธีตามประเพณีที่สืบทอดกันมา

Related Posts

Send this to a friend