BUSINESS

ดีบี เชงเก้อร์ ขยายธุรกิจโลจิสติกส์ในไทย วางแผนใช้โดรนขนส่งสินค้า

วันนี้ (25 พ.ย. 65) ดีบี เชงเก้อร์ ผู้ที่ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร จากประเทศเยอรมัน เดินหน้าขยายธุรกิจในไทย เน้นกลยุทธ์การขนส่งที่มีความยั่งยืนมากขึ้น สอดคล้องกับหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการฉลองครบรอบ 150 ปี ของการก่อตั้งบริษัทในปีนี้ ซึ่งบริษัท ดีบี เชงเก้อร์ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มาแล้วเป็นเวลา 48 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

นาย ดีน โธป ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีบี เชงเก้อร์ ประจำประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าวว่า ”ในการขยายธุรกิจเราได้ให้ความสำคัญ กับการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการขนส่งให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยด้วย หนึ่งในนวัตกรรมที่ดีบี เชงเก้อร์ กำลังเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ คือการใช้โวโลโดรน (VoloDrone) โดรนขนส่งสินค้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยมลพิษ เพื่อขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากถึง 200 กิโลกรัม ได้ในระยะไกลถึง 40 กิโลเมตร บริษัทฯ คาดว่าบริการขนส่งสินค้าด้วยโวโลโดรน จะได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทยในไม่ช้านี้ และจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทย

นอกจากนี้ ดีบี เชงเก้อร์ ประเทศไทย ยังได้ลงทุนเพื่อขยายบริการการขนส่งทางรถไฟอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งทางรถไฟระหว่างประเทศไทยและยุโรป ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เมื่อเทียบกับการขนส่งด้วยวิธีอื่น เช่น การขนส่งทางอากาศ และการขนส่งทางบกเพียงอย่างเดียว”

”บริษัทฯยังมุ่งเน้นบริการขนส่งข้ามพรมแดนทางบก โดยได้ทุ่มลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพบริการ ขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนอย่างเต็มรูปแบบ ทั่วทั้งภูมิภาค ปัจจุบัน ดีบี เชงเก้อร์ มีรถบรรทุกกว่า 65 คันที่ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วประเทศในแต่ละวัน และบรรทุกสินค้าแต่ละเที่ยวได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าได้”

“ในโอกาสฉลองครบรอบ 150 ปี ของดีบี เชงเก้อร์ ภายใต้แนวคิด “การยกระดับคุณภาพชีวิต” (“Elevating Lives”) ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า โลจิสติกส์สามารถช่วยให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น และก้าวข้ามความท้าทายต่างๆได้ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด ในหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแล้วว่า ภาคโลจิสติกส์และการขนส่งรวม ทั้งความสามารถในการปรับตัวนั้น มีความสำคัญมากพียงไร ในการช่วยแก้ปัญหาคอขวดของห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย ยกระดับภาคโลจิสติกส์และการขนส่ง รวมทั้งลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย”

Related Posts

Send this to a friend