สอบ. ร้อง ยธ.ตรวจสอบหลังถูกบุคคลอ้างเป็น DSI ตรวจองค์กรสมาชิกโดยไม่มีหมาย
วันนี้ (12 พ.ย.) สภาองค์กรของผู้บริโภคแถลงข่าว หลังพบมีบุคคลแอบอ้างเป็นจนท. DSI เข้าตรวจค้นโดยไม่ได้มีหนังสือหมายเชิญให้ถ้อยคำหรือขอให้ส่งเอกสารใด ๆ ทั้งยังปรากฏพฤติการณ์ไม่เหมาะสม ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคมีการจัดตั้งตามกฎหมาย และกฎหมายกำหนดให้มอบหมายอำนาจหน้าที่สำคัญหลายเรื่อง ทั้งการติดตามตรวจสอบทำข้อเสนอเชิงนโยบาย อีกทั้งทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแก่ผู้บริโภคในทุกเรื่อง โดยมี 151 องค์กร อยู่ในการขึ้นทะเบียน จึงสามารถจดตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ในช่วงเดือน ธ.ค. 63 และมีอำนาจตั่งแต่ต้นเดือน ม.ค. เป็นต้นมา และมีส่วนสำคัญในการรณรงค์ของผู้บริโภค อาทิ การขึ้นราคารถไฟฟ้า BTS ที่ทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่มีปัจจัยเอื้อถึง และการชะลอเซ็นสัญญา CPTPP เป็นต้น
เมื่อ 14 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบองค์กรของผู้บริโภค 151 องค์กรที่เข้าชื่อกันจัดตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น มีคุณลักษณะเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ โดยในเนื้อหากล่าวหาว่ามี 16 องค์กรจัดตั้งขึ้นแบบลอย ๆ เพื่อให้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด นำไปสู่การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคหรือไม่
บุญยืน ศิริธรรม ประธาน สอบ. กล่าวว่า สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก เป็นองค์กรแรกที่ถูกบุคคลแสดงตัวเป็นดีเอสไอเข้าไปตรวจค้น และหลังจากนั้นได้ทราบว่ามีองค์กรสมาชิกของ สอบ. ในหลายจังหวัด เช่น นครนายก ฉะเชิงเทรา ที่ถูกกลุ่มบุคคลดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบอีก ซึ่งองค์กรที่ถูกตรวจสอบนั้นล้วนเป็นองค์กรที่ผ่านการรับรองจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) แล้วทั้งสิ้น
“เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น กรรมการในองค์กรที่ถูกตรวจสอบเกิดความเข้าใจผิดและไม่เข้าใจกัน หรือบางองค์กรยังถูกประชาชนหรือหน่วยงานในพื้นที่จับตามอง ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังทำให้องค์กรสมาชิกอื่น ๆ เกิดความตื่นตระหนกและรู้สึกไม่ปลอดภัยอีกด้วย” บุญยืนกล่าว
สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า “ยินดีที่จะได้รับการตรวจสอบและเป็นเรื่องที่ดี ไม่ได้รู้สึกเป็นปัญหา เพราะองค์กรดังกล่าวนั้นมีการปฎิบัติงานเพื่อสาธารณประโยชน์ยังแท้จริง ยืนยันว่าองค์กรมีตัวตนอยู่จริง แต่ในปลายเดือน ต.ค. ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแก่องค์กรที่ถูกร้องเรียนทั้ง 16 องค์กร และที่อื่น ๆ ที่ได้มีการจดแจ้งโดยมีบุคคลแอบอ้างเป็นหน่วยงาน DSI เข้าตรวจสอบพื้นที่ ซึ่งมีข้อสงสัยว่าลองตรวจสอบในเงื่อนไขใด และลงมาแล้วกระทำการณ์บางอย่างที่กระทบในหลายเรื่อง อาทิ การข่มขู่ชาวบ้าน สมาชิกในองค์กร พร้อมสอบถามเรื่องเงินค่าเปิดประเดิมทุน การจัดตั้งองค์กรที่เกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านบางส่วนไม่รู้เรื่องนี้ทั้งหมดอยู่แล้ว แต่ก็ยังพบพฤติกรรมแบบนี้ในหลายพื้นที่ของที่ตั้งองค์กร” สุภาพร กล่าว
ขณะที่ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. ระบุว่า สอบ. ทำจดหมายถึงดีเอสไอและกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เพื่อให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ได้รับมอบหมายอำนาจมาหรือไม่ และเป็นการกระทำโดยชอบตามพระราชบัญญัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 หรือไม่ แต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สอบ. จึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้
1.ขอให้กระทรวงยุติธรรม ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลดีเอสไอ ตรวจสอบและจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว เนื่องจากปัจจุบันยังมีองค์กรสมาชิกของ สอบ. ที่ถูกบุคคลที่แสดงตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่อีเอสไอขอเข้าตรวจคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบั่นทอนกำลังใจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ รวมถึงการทำงานขององค์กรสมาชิกของ สอบ. ด้วย
2. หากกรณีดังกล่าวเข้าข่ายประพฤติผิดวินัย ขอให้มีการดำเนินการตามวินัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. ขอให้ทั้ง 2 หน่วยงานออกมาชี้แจงต่อสาธารณะถึงกรณีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความกระจ่าง และเป็นการสร้างความยุติธรรมต่อองค์กรผู้บริโภคและสภาของผู้บริโภค