POLITICS

“ลดาวัลลิ์” กังขาความเป็นกลางของประธานรัฐสภา ชม “สิริพงศ์”ไม่ทรยศประชาชน ปลื้มไร้งูเห่า7พรรค ปชต.

นาง ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยแสดงความขอบคุณ 7 พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ที่ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ในการโหวตหนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแข่งกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช) แม้ว่าไม่สามารถเอาชนะเสียงในสภาได้เพราะฝ่ายพลเอกประยุทธ์มีส.ว.แต่งตั้ง 250 คนมาร่วมโหวต แต่ก็ชนะใจสังคมนอกสภาที่ให้กำลังใจฝ่ายประชาธิปไตยมากกว่า 90% จึงขอให้ทั้ง 7 พรรคฝ่ายประชาธิปไตยจับมือกันไว้เช่นนี้ให้ทุกเสียงอยู่อย่างเข้มแข็งครบถ้วนทั้ง 244 เสียง ที่เปรียบเหมือนเสียงสวรรค์ที่จะสามารถเอาชนะฝ่ายสืบทอดอำนาจในวันใดวันหนึ่งได้
เนื่องจากการโหวตเมื่อวานนี้ฝ่ายทอดอำนาจมี 250 เสียง ส.ว.ที่แต่งตั้งมาช่วย แต่จากนี้ไปการพิจารณาเรื่องต่างๆจะมีเสียง ส.ส.ฝ่ายพลังประชารัฐทุกพรรค 251เสียงที่โหวตเมื่อวานนี้เท่านั้น ทั้งสองฝ่ายเสียงต่างกันแค่ 7 เสียง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะแพ้มติฝ่ายประชาธิปไตยได้ นอกจากจะต้องซื้องูเห่าสำรองไว้ แต่ก็เชื่อมั่นว่าจะไม่มีงูเห่าเกิดขึ้นใน 7 พรรคฝ่ายประชาธิปไตยอย่างแน่นอนเพราะทุกคนยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยต่อต้าน การสืบทอดอำนาจและเคารพในเจตนารมย์ของประชาชน นางลดาวัลลิ์กล่าวอีกว่า ขอชื่นชมนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษพรรคภูมิใจไทยที่งดออกเสียงทั้งน้ำตาไม่โหวตหนุนพลเอกประยุทธ์ด้วยมโนสำนึกส่วนตัวที่ไม่สามารถทรยศเสียงของประชาชนได้ ซึ่งตนคิดว่ายังมี ส.ส.อีกหลายคนที่รู้สึกเหมือนกับนายสิริพงศ์แต่คงไม่กล้าสวนมติพรรค นางลดาวัลลิ์กล่าวในตอนท้ายว่า ขอขื่นชมการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์คุณสมบัติ พลเอกประยทธ์ของ ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยทั้ง 7 พรรคอย่างเข้มข้น และสังเกตุว่ามีหลายเรื่องที่ควรจะมีการตรวจสอบต่อไป และที่น่ากังขาคือทำไม นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ประธานที่ประชุมเมื่อวานนี้ไม่ยอมตอบคำถามที่ ส.ส.จิรายุ ห่วงทรัพย์พรรคเพื่อไทยได้ถามหลายครั้งว่า ที่ประชุมรัฐสภาสามารถพิจารณา คุณสมบัติของพลเอกประยุทธ์ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญก่อนที่จะโหวต และก็ปล่อยให้มีการโหวตโดยที่ประธานรัฐสภาไม่ได้ใช้อำนาจวินิจฉัยตามการเสนอของสมาชิก ดังนั้นในวันหน้าหากมีการนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาทบทวนอีกก็ขอให้ประธานรัฐสภาปฎิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางเพื่อรักษามาตรฐานของฝ่ายนิติบัญญัติอันทรงเกียรติด้วย

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Send this to a friend