POLITICS

‘เพื่อไทย’ ชงสภาฯ แก้รัฐธรรมนูญ ร้องศาล รธน. ชี้ขาดจำนวนครั้งทำประชามติ

‘เพื่อไทย’ ชงสภาฯ แก้รัฐธรรมนูญ ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ขาดจำนวนครั้งทำประชามติ หวังกระชับให้เหลือ 2 ครั้ง-ประหยัดงบประมาณ

วันนี้ (22 ม.ค. 67) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงท่าทีของพรรคต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ณ อาคารรัฐสภา

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สส. พรรคเพื่อไทย 122 คน ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์แห่งการยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนที่คณะกรรมการชุด นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานฯ ซึ่งกำลังจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เท่าที่รับทราบได้มีข้อสรุปว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสนอให้มีการทำประชามติสามครั้ง

ครั้งที่ 1 จะเสนอถามประชาชน (โดยยังไม่มีร่างแก้ไขต่อรัฐสภา) ว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่

ครั้งที่ 2 เมื่อมีร่างแก้ไขมาตรา 256 เสนอต่อรัฐสภาและร่างได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว

ครั้งที่ 3 เมื่อ ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแล้ว

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยเห็นว่า โดยสาระสำคัญของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ที่ระบุว่าให้ถามประชาชนเสียก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ การถามประชาชนเสียก่อนยังไม่มีความชัดเจนว่าถามก่อนในขั้นตอนใด ซึ่งอาจตีความได้ว่าสามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อแก้ไขวิธีแก้รัฐธรรมนูญ และเพิ่มเติมหมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการ ส.ส.ร. ไปก่อนได้ และเมื่อรัฐสภาอนุมัติร่างแก้ไข มาตรา 256 ในวาระ 3 แล้ว จึงไปสอบถามประชาชนว่ายินยอม – เห็นชอบ ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยถามพร้อมไปกับคำถามที่ว่า เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ โดยขณะที่สอบถามก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้น

จึงถือได้ว่า ได้สอบถามประชาชนก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากทำได้เช่นนั้นก็สามารถลดทอนการทำประชามติเหลือเพียง 2 ครั้ง ทำให้ลดภาระงบประมาณได้ 3,000 – 4,000 ล้าน เราจึงเห็นว่าประเด็นดังกล่าว ผู้ที่จะชี้ขาดก็คือศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ออกคำวินิจฉัย ที่ 4/2564 โดยที่ผ่านมาสมาชิกตีความคำวินิจฉัยแตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่และแนวปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่ตอบคำถามหรืออธิบายรัฐธรรมนูญ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรวินิจฉัย โดยรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ แต่จะวินิจฉัยได้ต้องมีคำร้องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องอ้างปัญหาความขัดแย้ง หรือความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องอำนาจหน้าที่ ซึ่งประเด็นปัญหาในเรื่องนี้คือ การที่ต้องถามประชามติของประชาชนก่อนว่าเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่นั้น สามารถกระทำได้โดยเสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ไปก่อน และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 แล้ว จึงถามประชามติประชาชนไปพร้อมกับการถามประชามติร่างแก้ไข มาตรา 256 ได้หรือไม่โดยไม่จำต้องสอบถามประชาชนก่อน โดยที่ยังไม่ได้เสนอญัตติใดๆ ต่อรัฐสภาเลย

โดยเหตุดังกล่าว พรรคเพื่อไทยโดย สส. ทั้งหมดจึงเห็นควรให้เสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานรัฐสภา และหากยึดแนวทางที่ผ่านมา หากประธานรัฐสภาไม่บรรจุญัตติดังกล่าวตามข้อเสนอของสำนักกฎหมายประธานรัฐสภา โดยอ้างว่ามิใช่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แต่เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงต้องถามประชาชนเสียก่อน โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ขณะที่สมาชิกรัฐสภาเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา กรณีก็จะเกิดประเด็นความขัดแย้ง เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา

และหากเป็นเช่นนั้น สส. พรรคเพื่อไทยมีสิทธิที่จะเสนอประเด็นความเห็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา โดยขอให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้และจะนำไปสู่คำตอบว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง

พรรคเพื่อไทยมีความตั้งใจและเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเข้าใจดีถึงความสลับซับซ้อน ความเห็นที่แตกต่างกันในข้อกฎหมาย เจตนาที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้เป็นไปที่จะหาข้อยุติว่าควรทำประชามติกี่ครั้ง หากสามารถหาคำตอบได้ว่าทำประชามติเพียง 2 ครั้ง กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีความกระชับ และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินเกินความจำเป็น โดยมิได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาเกิดจากคำวินิจฉัยที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงต้องทำให้เกิดความชัดเจนเท่านั้น หากในที่สุดแล้วศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยในเรื่องนี้ก็จะถือว่าปัญหาการทำประชามติก็จะจบลงและทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม

นอกจากนี้ นายชูศักดิ์ ยังตอบคำถามสื่อมวลชน ต่อการเสนอแก้ไขกฎหมายประชามติว่า พรรคเพื่อไทย มีมติจะแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติฯ ด้วย ขณะนี้ยกร่างเสร็จแล้ว โดยให้ใช้เสียงข้างมากธรรมดา แต่มีเงื่อนไขว่า เสียงข้างมากนั้น ต้องไม่ต่ำกว่าเสียงประสงค์ไม่ลงคะแนน ตลอดจนอาจทำไปพร้อมกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าระดับชาติหรือท้องถิ่น เพื่อประหยัดงบประมาณ และนำเทคโนโลยีมาใช้ได้ เช่น ทางไปรษณีย์ เป็นต้น

‘เพื่อไทย’ ชงสภาฯ แก้รัฐธรรมนูญ ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ขาดจำนวนครั้งทำประชามติ หวังกระชับให้เหลือ 2 ครั้ง-ประหยัดงบประมาณ

วันนี้ (22 ม.ค. 67) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงท่าทีของพรรคต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ณ อาคารรัฐสภา

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สส. พรรคเพื่อไทย 122 คน ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์แห่งการยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนที่คณะกรรมการชุด นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานฯ ซึ่งกำลังจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เท่าที่รับทราบได้มีข้อสรุปว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสนอให้มีการทำประชามติสามครั้ง

ครั้งที่ 1 จะเสนอถามประชาชน (โดยยังไม่มีร่างแก้ไขต่อรัฐสภา) ว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่

ครั้งที่ 2 เมื่อมีร่างแก้ไขมาตรา 256 เสนอต่อรัฐสภาและร่างได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว

ครั้งที่ 3 เมื่อ ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแล้ว

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยเห็นว่า โดยสาระสำคัญของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ที่ระบุว่าให้ถามประชาชนเสียก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ การถามประชาชนเสียก่อนยังไม่มีความชัดเจนว่าถามก่อนในขั้นตอนใด ซึ่งอาจตีความได้ว่าสามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อแก้ไขวิธีแก้รัฐธรรมนูญ และเพิ่มเติมหมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการ ส.ส.ร. ไปก่อนได้ และเมื่อรัฐสภาอนุมัติร่างแก้ไข มาตรา 256 ในวาระ 3 แล้ว จึงไปสอบถามประชาชนว่ายินยอม – เห็นชอบ ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยถามพร้อมไปกับคำถามที่ว่า เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ โดยขณะที่สอบถามก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้น

จึงถือได้ว่า ได้สอบถามประชาชนก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากทำได้เช่นนั้นก็สามารถลดทอนการทำประชามติเหลือเพียง 2 ครั้ง ทำให้ลดภาระงบประมาณได้ 3,000 – 4,000 ล้าน เราจึงเห็นว่าประเด็นดังกล่าว ผู้ที่จะชี้ขาดก็คือศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ออกคำวินิจฉัย ที่ 4/2564 โดยที่ผ่านมาสมาชิกตีความคำวินิจฉัยแตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่และแนวปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่ตอบคำถามหรืออธิบายรัฐธรรมนูญ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรวินิจฉัย โดยรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ แต่จะวินิจฉัยได้ต้องมีคำร้องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะต้องอ้างปัญหาความขัดแย้ง หรือความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องอำนาจหน้าที่ ซึ่งประเด็นปัญหาในเรื่องนี้คือ การที่ต้องถามประชามติของประชาชนก่อนว่าเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่นั้น สามารถกระทำได้โดยเสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ไปก่อน และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 แล้ว จึงถามประชามติประชาชนไปพร้อมกับการถามประชามติร่างแก้ไข มาตรา 256 ได้หรือไม่โดยไม่จำต้องสอบถามประชาชนก่อน โดยที่ยังไม่ได้เสนอญัตติใดๆ ต่อรัฐสภาเลย

โดยเหตุดังกล่าว พรรคเพื่อไทยโดย สส. ทั้งหมดจึงเห็นควรให้เสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานรัฐสภา และหากยึดแนวทางที่ผ่านมา หากประธานรัฐสภาไม่บรรจุญัตติดังกล่าวตามข้อเสนอของสำนักกฎหมายประธานรัฐสภา โดยอ้างว่ามิใช่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แต่เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงต้องถามประชาชนเสียก่อน โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ขณะที่สมาชิกรัฐสภาเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา กรณีก็จะเกิดประเด็นความขัดแย้ง เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา

และหากเป็นเช่นนั้น สส. พรรคเพื่อไทยมีสิทธิที่จะเสนอประเด็นความเห็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา โดยขอให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้และจะนำไปสู่คำตอบว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง

พรรคเพื่อไทยมีความตั้งใจและเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเข้าใจดีถึงความสลับซับซ้อน ความเห็นที่แตกต่างกันในข้อกฎหมาย เจตนาที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้เป็นไปที่จะหาข้อยุติว่าควรทำประชามติกี่ครั้ง หากสามารถหาคำตอบได้ว่าทำประชามติเพียง 2 ครั้ง กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีความกระชับ และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินเกินความจำเป็น โดยมิได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาเกิดจากคำวินิจฉัยที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงต้องทำให้เกิดความชัดเจนเท่านั้น หากในที่สุดแล้วศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยในเรื่องนี้ก็จะถือว่าปัญหาการทำประชามติก็จะจบลงและทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม

นอกจากนี้ นายชูศักดิ์ ยังตอบคำถามสื่อมวลชน ต่อการเสนอแก้ไขกฎหมายประชามติว่า พรรคเพื่อไทย มีมติจะแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติฯ ด้วย ขณะนี้ยกร่างเสร็จแล้ว โดยให้ใช้เสียงข้างมากธรรมดา แต่มีเงื่อนไขว่า เสียงข้างมากนั้น ต้องไม่ต่ำกว่าเสียงประสงค์ไม่ลงคะแนน ตลอดจนอาจทำไปพร้อมกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าระดับชาติหรือท้องถิ่น เพื่อประหยัดงบประมาณ และนำเทคโนโลยีมาใช้ได้ เช่น ทางไปรษณีย์ เป็นต้น

Related Posts

Send this to a friend