POLITICS

ก้าวไกล ย้ำ หาก ศบค.ยกระดับโควิด ต้องเพิ่มมาตรการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างเร่งด่วน

‘นิติพล’ ก้าวไกล ชี้ ปัญหาขยะในไทย เรื่องเก่าแก้ไม่ได้ เรื่องใหม่แก้ไม่ทัน ย้ำ หาก ศบค.ยกระดับโควิด ต้องเพิ่มมาตรการกำขยะติดเชื้ออย่างเร่งด่วน เเละครอบคลุมด้วย ชี้ชัด ไทยติด 10 อันดับ ขยะทะเลมากที่สุดในโลก หวั่นอนาคตเป็นมลพิษ กระทบคุณภาพชีวิตประชาชน

วันนี้ (20 ส.ค. 64) นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการบริหารการจัดขยะติดเชื้อของประเทศไทยเเละในกรุงเทพมหานคร ว่าจากกรณีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 อธิบดีกรมอนามัย ได้เปิดเผยว่า จำเป็นต้องยกระดับมาตรการป้องกันโควิด ขั้นสูงสุด (Universal Prevention) ด้วยการสวมหน้ากากในบ้านให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนในบ้าน เพราะพบผู้ติดเชื้อจากการสัมผัสสมาชิกในครอบครัว หรือเกิดกับผู้ใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่า ขยะติดเชื้อที่ยังกำจัดไม่หมด ก็จะล้นมากขึ้นไปอีก โดยก่อนหน้า การระบาดของโควิด-19 ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศมีปริมาณขยะทะเลมากเป็นลำดับที่ 10 ของโลก (ข้อมูลปี 2563) ยังไม่นับรวมนโยบายอย่างการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศ

นิติพล กล่าวต่อไปว่า ขณะที่ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ โดยกรมควบคุมมลพิษระบุว่าปริมาณขยะมูลฝอยปี 2563 อยู่ที่ 25.37 ล้านตัน โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดถูกต้องเพียง 9.13 ล้านตัน และมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้อง อีก 7.88 ล้านตัน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเกิดการระบาดของโควิด ดูเหมือนปัญหาการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะติดเชื้อจะทวีความรุนแรงขึ้น ดูจากตัวเลขรายงานจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เคยสำรวจไว้ผ่านทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-31 ธ.ค.63 จากทั้งหมด 2,690 แห่ง มีปริมาณขยะ 17.89 ตัน โดยแบ่งเป็น การนำหน้ากากอนามัยไปทิ้งในบ่อฝังกลบทั่วไป ร้อยละ 25 ,เผาในเตาขยะติดเชื้อร้อยละ 9 , จ้างบริษัทเอกชนรับกำจัดร้อยละ 8 และรวบรวมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำจัดถูกวิธีร้อยละ 51  ขณะที่ขยะติดเชื้ออื่นๆ เช่น ชุดตรวจ ATK ทิชชู ถุงมือยาง และอื่นๆ ยังคงปะปนอยู่ในถุงขยะมูลฝอยครัวเรือนอีกจำนวนมาก แน่นอนว่าพวกมันไม่ถูกกำจัดอย่างถูกวิธี และเนื่องจากยังขาดการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจน จึงเป็นเรื่องน่ากังวลในอนาคตว่าขยะเหล่านี้จะกระจายไปยังบ่อขยะทั่วประเทศ
 
“ในขณะเดียวกัน ในกรุงเทพมหานครจังหวัดเดียว มีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึง 20 ตัน/วัน ช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. 64 ที่ผ่านมา ขยะติดเชื้อทั้งหมดมีมากกว่า 294 ตัน/วัน หนำซ้ำยังเพิ่มมาตรการ ให้ใส่หน้ากากอนามัยในบ้าน และควรมีการตรวจด้วย ATK เพื่อให้คัดกรองเองเบื้องต้น ถังขยะสีแดงที่มีรองรับเพียง 1,000 จุด จะยังเพียงพอต่อปริมาณขยะต่อวันหรือไม่ ขยะมูลฝอยติดเชื้อ” หรือ ขยะติดเชื้อ หมายถึง ขยะที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น หากมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับขยะนั้นแล้ว สามารถทำให้เกิดโรคได้ เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือยางแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ชุดป้องกันตนเอง หรือชุด PPE หลอดยา เข็มฉีดยา และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะต้องมีวิธีการทิ้งและกำจัดอย่างถูกต้อง” นิติพล กล่าว
 
ปัจจุบันกรมอนามัยจัดยังให้ขยะติดเชื้อรวมไปถึงอาหาร น้ำและภาชนะบรรจุต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยติดเชื้อใช้แล้วทิ้งเป็นขยะติดเชื้อทั้งหมด UN บอกตัวเลข(อาจ)สูงกว่านั้น เมื่อลองดูตัวเลขในงานรายงาน Waste Management during the COVID-19 Pandemic ของ UNEP ได้ประเมินไว้ว่า ขยะติดเชื้อจากทุกแหล่งเฉพาะในกรุงเทพ (ซึ่งมีประชากรราว 8 ล้านคน) อาจเพิ่มมากถึง 160 ตัน/วัน คิดเป็น 493% จากตัวเลขก่อนการระบาดที่ 27 ตัน/วัน ซึ่งเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 3.4 กิโลกรัม นอกจากนี้รายงานฉบับดังกล่าวยังคาดการณ์ไว้ว่าในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย จำนวนขยะติดเชื้อต่อผู้ป่วย 1 คน จะอยู่ที่ราว ๆ 2.85 กิโลกรัม/วันเลยทีเดียว
 
ถังขยะสีแดงใน กทม. 1,000 จุด เพียงพอไหมหรือไม่ ปี 2563 กทม. มีจำนวนประชากรในทะเบียนบ้านอยู่ที่ 5.59 ล้านคน ยังไม่รวมประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานอีกเกือบราว 1 เท่าตัว ทว่าการรับมือขยะติดเชื้อในกทม.นั้นมีถังขยะสีแดงซึ่งเป็นถังขยะติดเชื้อโดยเฉพาะบริการประชาชนเพียง 1,000 แห่งเท่านั้น โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่อไปนี้

นิติพล ตั้งข้อสังเกตุว่า ถังขยะสีแดงใน กรุงเทพมหานคร 1,000 จุด จะเพียงพอต่อปริมาณขยะติดเชื้อหรือไม่ โดยปี 2563 กทม. มีจำนวนประชากรในทะเบียนบ้านอยู่ที่ 5.59 ล้านคน ยังไม่รวมประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานอีกเกือบราว 1 เท่าตัว แต่การรับมือขยะติดเชื้อในกทม.นั้นมีถังขยะสีแดงซึ่งเป็นถังขยะติดเชื้อโดยเฉพาะบริการประชาชนเพียง 1,000 แห่งเท่านั้น

โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่อไปนี้ สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต , โรงเรียนสังกัด กทม. , ศูนย์บริการสารารณสุข , ศูนย์กีฬา กทม. , โรงพยาบาลสังกัด กทม. , ศูนย์เยาวชน กทม. , ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) , สถานีดับเพลิง , สวนสาธารณะ , ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) และสถานที่สาธารณะที่เหมาะสม

Related Posts

Send this to a friend