POLITICS

‘พิธา’ โต้ ‘ชาดา’ ติงบุคลิกผู้นำ ชี้ พยายามอดทนอดกลั้นต่อข้อกล่าวหา

สวน ‘ประพันธ์’ ตนเองยังมีคุณสมบัติครบถ้วน ชี้ ประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศ ลงนาม ICC เช่นกัน

วันนี้ (13 ก.ค. 66) ที่อาคารรัฐสภา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ขอใช้สิทธิพาดพิง หลัง นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย และ นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

นายพิธากล่าวว่า ขอเริ่มต้นด้วยกรณีที่นายชาดาติติงบุคลิกของตน และติติงภาวะผู้นำของตน กำลังพัฒนาอยู่ให้เป็นคนที่ฟังมากกว่าพูด ฟังท่านชาดาเสร็จก็พยายามฟัง ท่านประพันธ์ต่อ ในขณะเดียวกันตนก็พยายามพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่รักษาคำพูดเหมือนกับสโลแกนของพรรคท่านว่าพูดแล้วทำ เพราะฉะนั้นสัญญาที่เคยให้ไว้กับพี่น้องประชาชนอย่างไรก็คงต้องทำตามอย่างนั้น ซึ่งตนพยายามพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้นำของตัวเอง แม้ตนจะไม่เห็นด้วยกับทุกเรื่องที่นายชาดาพูดมา แต่ต้นเห็นว่าท่านมีเสรีภาพที่จะพูด และนี่คือหน้าที่ของรัฐสภานี่คือหน้าที่ของสภาที่นายชาดาก็มีประสบการณ์แบบนึง มีความคิดแบบนึงตนก็มีความคิดอีกแบบนึงประสบการณ์อีกแบบนึงนี่คือสาเหตุที่เราต้องใช้รัฐสภาในการแก้กฎหมายนิติบัญญัติ และเป็นข้อขัดแย้งตลอดมานี่คือสิ่งที่ตนอยากเห็นตั้งแต่สมัยที่แล้ว

ส่วนที่นายชาดา ได้พูดถึงเรื่องของการลดโทษก็ดีมีการคุ้มครองก็ดี ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีในการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เวทีในการแก้ไขกฎหมายใดๆ เพราะฉะนั้น ตอนนี้เป็นบรรยากาศที่ดี และสุดท้ายผู้นำที่ดีของประเทศนี้ต้องมีความอดทนอดกลั้นรับฟังต่อข้อกล่าวหาที่จะจริงหรือไม่ ก็แล้วแต่นี่คือสีขอที่ตนขอสัญญาผ่านท่านประธานสภาไปยังนายชาดา และผู้ในที่ประชุมนี้ เป็น 4 ลักษณะของผู้นำที่ประเทศนี้ควรจะมี

ขณะที่การลงสัตยาบันที่นายชาดา กังวลนั้น ไม่ได้เป็นประเด็น เพราะประเทศต่างๆ ที่ปกครองด้วยระบอบเดียวกับไทย ก็ล้วนลงนามทั้งสิ้น นายพิธา ระบุว่า สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยคือเรื่องลงสัตยาบันในกฎหมายกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่ตามหลักเขียน การเกิดอาชญากรรมทางสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หากมีความกังวลในข้อที่ 27 แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ที่มีอยู่ 123 ประเทศ ทั้งประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ กัมพูชา สวีเดนเดนมาร์ก ได้เซ็นข้อตกลงนี้ หากเราเข้าใจว่าพระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง และทรงใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรีอยู่แล้ว ก็ไม่ได้เป็นประเด็นอย่างที่มีการกล่าวหา และผมก็ไม่เห็นด้วย

“สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการเข้าร่วม ICC คือการบอกว่าใครหมิ่นสถาบันฯ ให้เอาปืนไปยิงมันเลย ผมไม่แน่ใจว่าคนที่สูญเสียไปจากการยิงกันในช่วงปี 53 การชุมนุมช่วงเดือนตุลา เป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยหากคนเรานั้นได้ยินว่าเรื่องนี้ถูกหยิบยกมาอภิปรายในสภา” นายพิธากล่าว

นายพิธา ระบุว่า เมื่อปี 62 ก็มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้กระทบต่อการเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะมีคนบอกว่ารัฐบาลเสียงข้างมากที่รวมเสียงได้มากที่สุด 249 เสียง ก็สามารถรัฐบาลได้ ฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวล

ทั้งนี้ นายพิธา ยังชี้แจงข้อกล่าวหาของ นายประพันธุ์ ระบุว่า ตนยังมีคุณสมบัติในการเสนอชื่อเป็นนายกฯ อย่างสมบูรณ์ และตนยังไม่รู้เลยว่าข้อกล่าวหา และข้อสงสัยของ กกต. เป็นอย่างไร ตนยังไม่มีโอกาสชี้แจงเลย พร้อมอ้างการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จะให้มีศาลเตี้ยในสภาเช่นนี้ไม่ได้

“ผมรัดกุมมาตลอด กับการยื่น ป.ป.ช. และคุณสมบัติทุกครั้ง ตั้งแต่เป็น ส.ส. ครั้งแรกจนถึงครั้งนี้ และครั้งต่อๆ ไป ก็ยังดีกว่าบางคนที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือ ป.ป.ช. ก็ตาม” นายพิธา กล่าวทิ้งท้าย

Related Posts

Send this to a friend