POLITICS

ครม.บูรณาการด้านไฟฟ้าร่วม ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์

ครม.หนุนสร้างความมั่นคงทางพลังงาน บูรณาการด้านไฟฟ้าร่วม ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) วันนี้ (6 ธ.ค. 65) รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 13-16 ก.ย. 65 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม พร้อมสรุปสาระสำคัญที่ประชุม รัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ว่า ได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมฯ ดังนี้

1.ด้านไฟฟ้า มีการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (รวม 16 โครงการ ณ เดือน ก.ย. 64 ) โดยมีกำลังไฟฟ้าที่ถ่ายเทระหว่างประเทศสมาชิกรวม 26,644 – 30,114 เมกะวัตต์ และดำเนินโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่างลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้สำเร็จ โดยกำหนดปริมาณการซื้อ-ขายไฟฟ้าสูงสุดที่ 100 เมกะวัตต์ชั่วโมง ระหว่างปี 2565-2566

2.ด้านก๊าซธรรมชาติ มีการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซอาเซียน มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดก๊าซร่วมสำหรับภูมิภาค การขยายการเชื่อมโยงและการเข้าถึงก๊าซธรรมชาติ และการติดตามความคืบหน้า ในการพัฒนาท่อส่งก๊าซข้ามพรมแดน

3.ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด มีจัดการประชุมของผู้แทนระดับสูงอาเซียน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 65 เพื่อรวบรวมแนวทางและนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยี ลำดับ ชื่อเรื่อง/สาระสำคัญ/ข้อเสนอแนะ ถ่านหินสะอาด และเทคโนโลยีการดักจับ การกักเก็บ และการใช้ประโยชน์คาร์บอน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการด้านถ่านหินของอาเซียนให้เป็นทิศทางเดียวกัน

4.ด้านพลังงานหมุนเวียน สถานะของการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน ในปี 2563 สัดส่วนพลังงานทดแทนเมื่อเทียบกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ ของอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 14.2 ซึ่งอาเซียนตั้งเป้าไว้ที่ ร้อยละ 23 ในปี 2568

5.ด้านนโยบายและแผนพลังงานของภูมิภาค ในปี 2565 ได้ริเริ่มความร่วมมือระหว่างอาเซียน ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสกับองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรปและธนาคาร เพื่อการพัฒนาเอเชีย เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอาเซียนอย่างยั่งยืน และพัฒนาทางการเงิน

น.ส.ทิพานัน ยังกล่าวถึงการประชุมอื่น ๆ และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 19 ว่า มุ่งเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงาน พลังงานหมุนเวียน และการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีใหม่ เกี่ยวกับพลังงานผ่านโครงการต่าง ๆ

ขณะที่การประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 ยังได้หารือเกี่ยวกับ ความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้นำเสนอแนวทางการจัดทำแผนพลังงานชาติและแสดงวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมความร่วมมือ กับประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเพื่อสนับสนุน ความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานในภูมิภาคร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ได้เสนอโครงการ Southeast Asia Smart Power Program ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคและยกระดับการเชื่อมโยงทางพลังงานและส่งเสริมการค้าพลังงานแบบพหุภาคีในภูมิภาค และการประกาศผลรางวัลดีเด่นด้านพลังงานอาเซียน ประจำ 2565 ซึ่งประเทศไทยมีผู้รับรางวัลทั้งสิ้น 23 รางวัล

Related Posts

Send this to a friend