PEOPLE

รำลึก 15 ปี “สึนามิ” เส้นทางชีวิตผู้ประสบภัย จากประสบการณ์ สู่การจัดการ ศูนย์ภัยพิบัติชุมชนต้นแบบ “บ้านน้ำเค็ม”

“วันนั้นผมเตรียมปลาเหยื่อเลี้ยงปลาในกระชัง ภรรยามาเรียกว่าให้ดูน้ำทะเลแห้ง เหลือตรงกลางนิดเดียว เราก็ยืนดูเห็นคลื่นกำแพงขาว เราเห็นลำเรือแบบนี้หายไปในคลื่น พี่ชายก็บอกเห้ย !!!!

คลื่นยักษ์ถล่มโลก
คลื่นยักษ์ถล่มโลก

“พี่ชายบอกให้ วิ่ง แล้วเราก็พากันวิ่งไปที่บ้านชั้นสอง ภรรยาไปเอาลูก ผมไปเอาแม่ พ่อก็ยืนดู ทุกคนก็วิ่งไป พอไปถึงชั้น 2 ของพี่สาว พ่อขึ้นไปแล้ว แต่จะลงไปปิดประตู พอน้ำมาเราบอกว่า พ่อทิ้ง !! แต่น้ำก็ซัดพ่อไป ทำให้พ่อเสียชีวิต และลูกพี่ชาย ตอนนั้นอยู่ ป.6 ไปตกปลา ทุกคืนก็ลืมพอคลื่นสงบ ก็พบว่าเขาหายไป ในบ้านผมจึงเสียชีวิต 2 คน ส่วนญาติของพ่อและแม่ก็รวมกันแล้วกว่า 40 คน”

ไมตรี จงไกรจักร์ ผู้ประสบภัยสึนามิบ้านน้ำเค็ม ยังจำได้ทุกวินาที ที่เกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2562 ไมตรี บอกว่า ถ้าจะให้วาดภาพออกมาก็วาดได้ทั้งหมดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อน กับเหตุการรณ์คลื่นยักษ์สึนามิในครั้งนั้น

ไมตรี จงไกรจักร์ ผู้ประสบภัยสึนามิ บ้านน้ำเค็ม

ไมตรี กลับมาเยี่ยมบ้านที่เกิดเหตุอีกครั้ง เขาบอก The Reporters ว่าไม่ได้มาที่นี่หลายปีแล้ว ไมตรีชี้ใวห้ดูลานหน้าชายหาด ที่พวกเขายืนมองเห็น คลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าฝั่งในวันนั้น พวกเขาบอกว่า ในปี 2542 นายสมิทธ์ ธรรมสโรจน์ ออกมาพูดเรื่องคลื่นยักษ์สึนามิ พวกเขาอยากรู้จักเลยไปหาภาพยนตร์เรื่อง คลื่นยักษ์ถล่มโลก มาดู และเมื่อเห็นภาพคลื่นยักษ์ พี่ชายของเขา จึงคิดว่า นี่แหละ

‘คลื่นยักษ์ถล่มโลก’

ระหว่างเดินไปที่บ้านเก่าของไมตรี เขาก็ชี้บอกเราว่า นั่นโรงโม่น้ำแข็งของผมเอง ก่อนเกิดสึนามิ ผมเปิดโรงน้ำแข็ง รายได้ดีมาก ผมกลับมาจากกรุงเทพตอนนั้น ตั้งใจกลับมาทำธุรกิจ พอโรงน้ำแข็งไปได้ดี ผมเตรียมเปิดปั๊มน้ำมัน ขายน้ำมันให้เรือประมง แต่สุดท้าย คลื่นยักษ์ทำให้ทุกอย่างของผมพังพินาศ

โรงโม่น้ำแข็งเก่าของ 'ไมตรี จงไกรจกร์' ที่โดนคลื่นยักษ์สึนามิถล่มจนเสียหาย เมื่อ 15 ปีก่อน

“นั่นเครื่องโม่น้ำแข็งของผมเองนะ คลื่นยักษ์สึนามิ ซัดมันมาตั้งอยู่บนแท็งค์บรรจุน้ำมัน มันทิ้งร้างไว้ตรงนั้น 15 ปีแล้ว เพราะผมไม่อยากทำอะไรกับมัน ผมมีความทรงจำอยู่ที่นี่มากมายจริงๆ”

เครื่องโม่น้ำแข็งเก่าที่ทิ้งร้างมา 15 ปี ตั้งแต่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

ไมตรี เล่าให้ฟังพร้อมน้ำตาซึม เมื่อเห็นภาพสิ่งของต่างๆ ที่เคยเป็นความฝันให้เด็กหนุ่มวัย 31 ปีในขณะนั้นอยากเป็นนักธุรกิจ ไมตรี ยอมรับว่า สึนามิ ได้ทำลายความฝันของเขาพังทลายลง จากนักธุรกิจในขณะนั้น ไมตรี เป็นสมาชิก อบต.ด้วย เขายอมรับว่า อยากเป็นนักการเมืองท้องถิ่น

26 ธันวาคม 2547 คลื่นยักษ์สึนามิ ทำลายชีวิตของผู้คนในหลายประเทศไปกว่า 2800,000 คน 5,000 กว่าคนเสียชีวิตในชายฝั่งอันดามันของไทย และยังคงสูญหายอีกกว่า 3,000 คน  ครอบครัวของไมตรีเสียชีวิตกว่า 40 คน ชาวบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อนบ้านของไมตรี เสียชีวิต จำนวนกว่า 800 คน

แม้หลังเกิดเหตุการณ์ทุกคนจะสิ้นเนื้อประดาตัว และหมดสิ้นซึ่งความหวัง แต่พวกเขายังคงลุกขึ้นสู้

ไมตรี จงไกรจักร์ ผู้ประสบภัยสึนามิ บ้านน้ำเค็ม เมื่อปี พ.ศ. 2547

จนผ่านมาวันนี้ ไมตรี และ ประยูร กับชาวบ้านน้ำเค็ม กลายเป็นชุมชมต้นแบบในการจัดการภัยภิบัติ เป็นศูนย์ภัยพิบัติชุมชนบ้านน้ำเค็ม ที่นอกจากเข้มแข็งแล้ว พวกเขาได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่ ทั้งน้ำท่วมปี 2554 ที่จังหวัดปทุมธานี น้ำท่วมปี 2560-2561 ที่จ.นครศรีธรรมราช พายุปาปึก และน้ำท่วมจ.อุบลราชธานี ปี 2562 เป็นเครือข่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มาจากชุมชน

รำลึก 15 ปีสึนามิ ที่สวนอนุสรณ์ บ้านน้ำเค็ม จึงจัดนิทรรศการการเรียนรู้ การจัดการภัยพิบัติชุมชน และจำลองศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านน้ำเค็มเมื่อ 15 ปีก่อน

“ตอนนั้นผมเป็นสมาชิก อบต.บ้านน้ำเค็ม พอเกิดภัยพิบัติ ผมรู้สึกเอาเองว่าต้องดูแลชาวบ้าน ด้วยความหวังว่าเราดูแลเขาวันหน้าเขาจะเลือกเราเป็น อบต. ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพ่อผมเสียชีวิต ผมฝากศพพ่อไปกับญาติที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วมาช่วยชาวบ้าน เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของเรา”

ไมตรี เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์วันนั้น

ไมตรี บอกว่าพอไปเยี่ยมชาวบ้านหลายที่เขาหนีไปอยู่ตามเขา ตามวัด ไม่มีที่อาบน้ำ ไม่มีที่นอน จะอยู่ยังไง ถามว่าชาวบ้านไม่มีห้องน้ำ มูลนิธิชุมชนไท ก็ไปหาห้องน้ำ เขาเลยซื้อส้วม คอห่าน สังกะสี สร้างห้องน้ำ ก็มีห้องน้ำ แล้วไม่มีที่นอน ก็หาเต้นท์ฺมาให้ เริ่มจัดหมู่ลูกเสือ ทางมูลนิธิชุมชนไท ชวนเราตั้งคำถาม เป็นจุดตั้งต้นทำบ้านพักชั่วคราว ก็เห็นประสบการณ์

“เราเจอกัน 30  ธันวาคม 2547  วันที่  31 ธันวาคม 2547  เราเริ่มหาห้องน้ำ และตั้งเต้นท์ มีเวลา 3 วัน มูลนิธิชุมชนไท มีประสปการณ์ทำงานสลัม ประสปการณ์แบบนั้น ทำให้เราเรียนรู้ท่ามกลางการทำโดยไม่ต้องบอก”

ไมตรี บอกว่า การจัดการภัยพิบัติมีหลายรูปแบบ สิ่งแรกที่เขาเรียกร้องเป็นสิ่งสำคัญ คือ ผมอยากได้ห้องน้ำ ทำห้องน้ำ อย่างที่อุบลฯ น้ำท่วม เขาต้องการเรือ เราก็ทำเรือ ตามที่เขาต้องการ

“ตอนผมเป็นผู้ประสบภัยสึนามิ ผมเครียดมาก แต่ต้องการห้องน้ำ พอไปอุบลฯ เขา ก็ทำเรือ ช่วยกันฟื้นฟู โดยไม่คาดหวัง ช่วยเขาให้ช่วยตัวเอง ช่วยให้มีอาชีพกลับมาให้ได้ ผู้ประสบภัยทุกที่ต้องไปช่วยเพื่อนในอนาคตได้ ทุกที่ทำได้ เมื่อมีศูนย์ภัยพิบัติชุมชนก็ช่วยเพื่อได้ “

ไมตรี บอกเล่า ประสบการณ์ การเป็นผู้ประสบภัยของเขาอย่างฉะฉาน

“เราต้องรวมชาวบ้าน ช่วยให้ตรงกับความต้องการ ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ ถ้าชุมชนต้องเริ่มทำ ให้โอกาสชุมชนเป็นผู้เริ่มในการจัดการภัยพิบัติ โดยการสนับสนุนของภาครัฐ ที่ไหนก็ตามมีระบบข้อมูล มีศูนย์ภัยพิบัติชุมชน ไม่ตายแน่นอน ดูแลชาวบ้านอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม”

จากเด็กหนุ่มวัย 31 ปีเมื่อปี 2547 ที่ฝันอยากเป็นนักธุรกิจและนักการเมืองท้องถิ่น ผ่านมา 15 ปี คลื่นยักษ์สึนามิ ได้ทำลายความฝันของไมตรี ก็จริง แต่ไม่ได้ทำลายชีวิตของเขา และทำให้เขาค้นพบด้วยว่า สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นนักการเมือง คือการเป็นนักพัฒนาสังคม

ไมตรี ไม่ได้ใช้การช่วยเหลือเพื่อนผู้ประสบภัยในครั้งนั้น หาเสียงเพื่อจะเป็น นายกฯ อบต. แต่เขากลับเลือกเส้นทางทำงานเพื่อชุมชน

จนวันนี้ ไมตรี จงไกรจักร์ คือ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท

“การเป็นนักการเมืองท้องถิ่น เป็นตัวแทนปากเสียงก็จริง แต่วันหนึ่งเราเห็นคุณค่าการที่เราทำงานสังคม มีคุณค่าทำได้เยอะมากกว่า กว้างกว่า เพราะบทเรียนเราแลกมาด้วยชีวิตเลือดเนื้อและชีวิตของญาติพี่น้อง เราก็ไม่อยากให้สูญเสียแบบเราแล้วมาเริ่มต้น อยากให้เขาเริ่มต้นไม่สูญเสีย ผมจึงตั้งปณิธานไว้เลยว่าถ้าเราทำได้เราจะทำเต็มที่สำหรับเรื่องภัยพิบัติ และจะขยายไปเรื่อยๆ”

ไมตรี จงไกรจักร์ จากผู้ประสบภัยสึนามิ สู่การเป็นนักพัฒนาสังคม

Related Posts

Send this to a friend