HUMANITY

ภาคประชาชน ยื่นแถลงการณ์ 3 กระทรวงฯ ระบุควรตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อสนับสนุนบำนาญประชาชน

วันนี้ (17 ส.ค. 66 ) เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครื่อข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) ได้จัดกิจกรรม “ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมสำหรับบรรยากาศหน้ากระทรวงการคลัง ในช่วงเวลา 10.00 น. โดยมีการทำกิจกรรมและอ่านแถลงการณ์ที่บริเวณประตู 4 ซอยอารีย์สัมพันธ์ และมีการปราศรัยคันค้านแนวคิดการลดเงื่อนไขผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยระบุว่า ให้ตัดงบประมาณของ สว. ลดงบประมาณกองทัพ รวมถึงเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า และนำมาใช้กับการทำรัฐสวัสดิการเช่น บำนาญประชาชน 3,000 บาทถ้วนหน้า ซึ่งเป็นข้อเสนอและนโยบายหาเสียงของหลายพรรคการเมืองในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา

จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้อ่านแถลงการณ์ก่อนที่จะพับแถลงการณ์เป็นจรวดแล้วปาเข้าไปในกระทรวงการคลัง โดยกลุ่มผู้ชุมนุมมีการเคบื่อนขบวนต่อมาที่หน้ากระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก่อนยุติกิจกรรมในเวลาประมาณ 13.00 น.

สำหรับการแถลงการณ์ของกลุ่มดังกล่าวได้ระบุเนื้อหาไว้ดังนี้

“ในห้วงยามที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว รัฐบาล ‘ประยุทธ์’ ยังคงรักษาการณ์ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ กระทรวงมหาดไทยได้ออกหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดยเพิ่มคุณสมบัติ การเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ เป็นเงื่อนไขในการรับเบี้ยยังชีพ ทั้งที่ทศวรรษกว่านับตั้งแต่ปี 2552 สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ถูกปรับจากระบบสงเคราะห์คนยากไร้อนาถามาเป็นสิทธิสวัสดิการระบบถ้วนหน้า ขอเพียงให้ประชาชนมีอายุ 60 ปี และไม่ได้รับสวัสดิการหรือบำนาญอื่นใดจากรัฐในลักษณะเดียวกัน

จนเมื่อเข้าสู่การรัฐประหาร 2557 การบริหารประเทศภายใต้การนำของประยุทธ์ จันทร์โอชา การดำเนินนโยบายด้านสวัสดิการสังคม ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย กลับลิตรอนสิทธิสวัสดิการของประชาชน ลดทอนด้อยค่าศักดิ์ตรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการให้พิสูจน์ความยากจน แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นในระบบสวัสดิการถ้วนหน้า อันเป็นการเคารพสิทธิเสมอกันของประชาชน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพลเมืองในประเทศนี้ ยิ่งสังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น รัฐดวรต้องออกโรงมาปกป้องดูแลทรัพยากรมนุษย์ ผู้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ด้วยการเพิ่มสิทธิสวัสดิการ กระดับคุณภาพชีวิต ในฐานะพลเมือง ทรัพยากรบุคคลของประเทศ

ในนามของพลเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากการออกระเบียบของกระทรวงมหาดไทย และหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เราจะร่วมกันปกป้องสวัสดิการประชาชน และร่วมกันคัดด้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยมีข้อเรียกร้องร่วมกันดังนี้

1) กระทรวงมหาดไทย ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม ซึ่งคงสิทธิถ้วนหน้า โดยไม่ต้องพิสูจน์ความยากจน และตัดสิทธิการรับสวัสดิการซ้ำซ้อนไว้แล้ว

2) คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ต้องออกมาปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุทุกคน ไม่ให้ถูกลิดรอนต่ำลงไปกว่าที่เคยเป็น ด้วยการไม่สนองตอบต่อหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2566

3) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญถ้วนหน้า ด้วยการออกเป็นกฎหมายรองรับ ไม่ใช่ใช้หลักนโยบายการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามมติคณะรัฐมนตรี

4) กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ของตัวเองในการศึกษาตัดงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ๆเข้ารัฐ เพื่อเพิ่มรายได้มาเติมเต็มการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนแบบถ้วนหน้า เช่น การศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่ง ภาษีลาภลอย ภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น เป็นตัน

5) รัฐบาลใหม่ ต้องผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเรื่องรัฐสวัสดิการเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าบรรจุในกฎหมายให้ชัดเจน”

ทั้งนี้ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมยังได้ระบุอีกว่า หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ แล้วได้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้วจะกลับมาทวงถามอีกครั้งว่าจะมีแนวทางต่อสิ่งที่ได้เกิดขึ้นอย่างไร

Related Posts

Send this to a friend