นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เตรียมขึ้นรับรางวัล Ramon Magsaysay Award ปี 2019 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิบปินส์ เวลา 15.30 น.วันนี้
นางอังคณา ถือเป็นคนไทยคนที่ 23 ที่ได้รับรางวัลนี้ ในรอบ 54 ปี จากคนแรกคือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อปี 2508 และว่างเว้นมาตลอด 10 ปี หลัง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ได้รับรางวัลเมื่อปี 2552
นางอังคณา เป็นภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ช่วยเหลือคดีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหายตัวไปเมื่อ 15 ปีก่อน นางอังคณา ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้สามีที่เชื่อว่าถูกอุ้มหาย แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่าทนายสมชาย หายไปไหน
การต่อสู้ของนางอังคณา ที่ผ่านมาถูกกระบวนการต่างๆมากมายในการข่มขู่ คุกคาม กับความพยายามค้นหาความจริง ทั้งจากอำนาจรัฐ อำนาจมืด แต่นางอังคณา ต่อสู้ด้วยความกล้าหาญ จนมีส่วนสำคัญในการผลักดันกฏหมายป้องกันการทรมานและบังคับบุคคลสูญหาย และการทำหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในยุครัฐบาล คสช.นางอังคณา ก็มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิทางการเมือง และไม่ได้รับความเป็นธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นางอังคณา จึงถือเป็นนักสิทธิมนุษยชนที่ทำหน้าที่อย่างกล้าหาญ และไม่ท้อถอย ตรงกับประเด็นการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมได้รับ รางวัล Ramon Magsaysay Award ปี 2019 ที่ว่า Courage, Undaunted คือ “ความกล้าหาญ ไม่ท้อถอย”
รางวัล Ramon Magsaysay Award เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ในทวีปเอเชียด้วยความกล้าหาญและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีส่วนส่งเสริมและเปลี่ยนแปลงสังคมของตนเองให้ดีขึ้น
รางวัลนี้ถือเป็น รางวัล โนเบล แห่งภูมิภาคเอเชีย
พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติของฟิลลิปปินส์ วันจันทร์ที่ 9 ก.ย.เวลา 15.30น.
สำหรับคนไทยได้รับรางวัลรามอน แมคไซไซ แล้ว 23 คน (อังคณา เป็นคนที่ 23) เช่น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ นพ.ประเวศ วะสี พล.ตรี จำลอง ศรีเมือง นายอานันท์ ปันยารชุน นายจอน อึ๊งภากรณ์ นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ นายทองใบ ทองเปาด์ นายโสภณ สุภาพงษ์ และ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
สำหรับปีนี้ มีการมอบรางวัลให้กับ 5 บุคคลในเอเชีย ซึ่งนางอังคณา เป็นผู้หญิงคนเดียว ประกอบด้วย
นายคิม จอง กี จากเกาหลีใต้
คิม เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการป้องกันความรุนแรงในเยาวชน the Foundation for Preventing Youth Violence (FPYV) ภายหลังจากที่ลูกชายของเขาฆ่าตัวตายอันเนื่องมาจากปัญหาการ Bully หรือถูกกลั่นแกล้งให้เกลียดชังในโรงเรียน มูลนิธิ FPYV ทำงานเรื่องความรุนแรงในโรงเรียนในฐานะที่เป็นปัญหาทางสังคมที่ส่งผลต่อนักเรียน ครอบครัว โรงเรียน และสังคม มูลนิธิรณรงค์ทางนโยบายตั้งแต่ปี 2547 กระทั่งมีการผ่านกฎหมาย การป้องกันและรับมือความรุนแรงในโรงเรียน (Prevention and Handling of School Violence)
นาย ราวิช คูมาร์ ผู้บรรณาธิการบริหารของสำนักข่าว New Delhi Television Network – NDTV จากอินเดีย
NDTV เสนอข่าว ปัญหาท้องถิ่นซึ่งมักถูกละเลยในประเทศอินเดีย
นาย โค ชเวย วิน บรรณาธิการของสำนักข่าวออนไลน์ Myanmar Now จากประเทศเมียนมาร์ – อายุน้อยที่สุดของผู้ได้รับรางวัลปีนี้ คือ 41 ปี
Myanmar Now เป็นสำนักข่าวออนไลน์ ทำงานข่าวสืบสวนสอบสวนในภาษาเมียนมาร์และภาษาอังกฤษ ชเวย์ วิน วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจของรัฐบาลทหารพม่า พระอัชชิน วิราธู Ashin Wirathu จากการปฏิเสธสถานะของชาวโรฮิงญา รวมทั้งการเผยแพร่ รณรงค์วาทะแห่งความเกลียดชังไปยังนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ชเว วิน ถูกฟ้องโดยพระวิราธู ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทเมื่อปี 2560 และถูกจับกุมเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีนี้และถูกควบคุมตัวจากการฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทที่แจ้งความโดยศิษย์ของพระวิราธู ชเว วินเพื่อได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นายเรมันโด พูจานเต้ คายับยับ จากฟิลิปปินส์ เป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง และผู้ควบคุมวงดนตรี
รางวัลประจำปี รามอน แมกไซไซ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ อดีตประธานาธิบดีคนที่ 7 ของฟิลิปปินส์ รามอน แมกไซไซ ที่ถึงแก่อสัญกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2500 รางวัลซึ่งมอบให้กับผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมอย่างโดดเด่นในด้านต่างๆ ในทวีปเอเชีย เริ่มมอบครั้งแรกในปี 2501 ปีนี้เป็น ครั้งที่ 62 และครบรอบ 112 ปีของอดีตประธานาธิบดี รามอน แมกไซไซ
Send this to a friend