HEALTH

ห่วงเด็กไทยขาดสารอาหาร–โรคอ้วน ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารมีโภชนาการอย่างยั่งยืน

เมื่อการปิดเทอมยาวนานขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 เมื่อเปิดเทอมใหม่มา สิ่งที่เกือบทุกโรเงรียนพบเห็นคือ มีเด็กที่อ้วนกว่าเดิมมาก จากการรับประทานอาหาร (และขนม) มากเกินไปเมื่ออยู่บ้าน และมีเด็กที่ผอมมากจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อวัย และการเจริญเติบโตของพวกเขา ทั้ง 2 กลุ่มเป็นปัญหาทุพโภชนาการที่ต้องร่วมกันดูแล และแก้ไข เพราะจะส่งผลในระยะยาวต่อทั้งสุขภาพ และพัฒนาการของเด็ก 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  หรือซีพีเอฟ หนึ่งในองค์กรที่มุ่งมั่นในการสร้างโภชนาการ และสุขภาวะที่ดี  สานต่อโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน และโครงการ ซีพีเอฟ อิ่ม สุข  ปลูกอนาคต ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการ ตามเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ขจัดความอดอยาก และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน             

“ซีพีเอฟ ตระหนักดีว่าภาวะโภชนาการที่ดี  เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิต โดยในปี  2563  บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายส่งเสริมเด็ก เยาวชน รวมทั้งผู้บริโภค  เข้าถึงข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการ การเรียนรู้และทักษะเกี่ยวกับอาหาร ความรู้ด้านการโภชนาการ  และการบริโภคอย่างยั่งยืน  จำนวน  1.3 ล้านคน ” นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ  กล่าว 

ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ที่มีวิสัยทัศน์ดำเนินธุรกิจสู่การเป็น  “ครัวของโลก” และมุ่งมั่นมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดอาหารและคุณภาพอาหารกลางวันของเด็ก โดยถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารผ่าน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ซึ่งดำเนินการร่วมกับมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทและภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาทุพโภชนาการของเด็กและเยาวชนไทย ตั้งแต่ปี  2532 จนถึงปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ 824 โรงเรียน มอบโอกาสให้นักเรียนของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดารมากกว่า 150,000 คน  และโครงการซีพีเอฟ  อิ่ม  สุข ปลูกอนาคต ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558  ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  80 โรงเรียน เข้าถึงอาหารคุณภาพดี โดยในปี  2562 ช่วยบรรเทาภาวะทุพโภชนาการของเด็กและเยาวชน  ทั้งที่มีภาวะผอม  และภาวะอ้วน เตี้ย ลดลงจาก 15 % เหลือ 11%               

นายวุฒิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 2 โครงการของซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืนของโรงเรียนและชุมชน   เน้นส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัตินอกห้องเรียน   อาทิ  เลี้ยงไก่ไข่  เลี้ยงปลา   ปลูกผักสวนครัว   ฯลฯ  สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประกอบอาชีพต่อไปได้ในอนาคต  เห็นได้จากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19  โรงเรียนที่ร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน และ โครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต  นำผลผลิตไข่ไก่มาจำหน่ายให้คนในชุมชนในราคาย่อมเยา ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนได้            

ภาวะทุพโภชนาการ ความอดอยาก และโรคอ้วน เป็นปัญหาที่กระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา  ขณะที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้กำหนดประเด็นขจัดความอดอยากและสร้างความมั่นคงทางอาหาร  การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ของทุกคน   การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน  และสร้างความร่วมมือระดับสากลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน  ไว้ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ  (Sustainable Development Goals: SDGs)   

Related Posts

Send this to a friend