พบโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในวัยทำงานมากขึ้น หากปล่อยไว้นานเสี่ยงเป็นอัมพาต

โรงพยาบาลเอสสไปน เผย พบโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในวัยทำงานมากขึ้น หากปล่อยไว้นานเสี่ยงเป็นอัมพาต
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักมาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่ผ่านการใช้งานแบบผิด ๆ มาเป็นระยะเวลานาน ซ้ำ ๆ กัน เช่น การยกของหนัก การทำกิจกรรมที่ต้องก้มเงยหลังเป็นประจำ หรือความเสื่อมตามอายุ จนทำให้เกิดจากการฉีกขาดของเส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลัง และจะค่อย ๆ ดันตัวและปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง
ในอดีตโรคนี้จะพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบมากขึ้นในวัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคนี้ถือเป็นภัยคุกคามและสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากเพราะเมื่อกระดูกสันหลังเกิดการทรุดตัว หรือหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาจนไปเบียดทับเส้นประสาท จะเกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง มีความรู้สึกชาบริเวณขา น่อง และเท้า คล้ายเหน็บชา หรือตะคริวถี่ ๆ บางครั้งเป็นจนไม่สามารถเดินต่อได้ บางรายอันตรายถึงขั้นกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง บางคนก็ควบคุมการขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ได้ลำบาก
กรมควบคุมโรค เคยออกมาเตือนว่าโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หากมีอาการปวดหลังมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์ เพราะหากรักษาผิดวิธีอาจทำให้พิการได้ สังเกตได้จากอาการปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ นานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ถ้าทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพาต
ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทาง ห้ามรักษาด้วยวิธีที่ไม่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยัน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเรื้อรัง สำหรับในประเทศไทยเรามีโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังที่ครบครันทั้งบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือ นั่นคือ โรงพยาบาลเอสสไปน์ ที่นี่ถือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลเอสสไปน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกในประเทศไทย ใช้การรักษาแบบ Minimally Invasive Spine Surgery (MIS Spine) แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก และได้ผลการรักษาที่เท่ากัน ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลง
ปัจจุบันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทคนิคการผ่าตัดที่มุ่งเน้นไปยังรอยโรคของผู้ป่วย ทำให้การเสียเลือด การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่าแบบเดิมหลายเท่า อีกทั้งระยะในการนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลก็สั้นกว่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้เร็วขึ้น
โรงพยาบาลเอส สไปน ถือเป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่มีเครื่อง MRI แบบยืน ข้อดีคือสามารถปรับความชันของระดับเตียงให้อยู่ในรูปแบบท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน ท่ากึ่งนั่งกึ่งยืน ท่าก้มหรือท่าแอ่นหลังได้ เพื่อให้เห็นลักษณะการเคลื่อนของกระดูกได้อย่างชัดเจน และใช้ระยะเวลาในการตรวจสั้น สามารถสแกนกระดูกสันหลังเป็นภาพ 3 มิติ เพื่อวัดระยะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังในตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ได้ละเอียดและแม่นยำ