CRIME

ทลายโรงงานเถื่อน จ.สุพรรณบุรี ลักลอบผลิตซิลิโคนเสริมจมูก-หน้าผาก

วันนี้ (23 ธ.ค. 65) พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. และ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมแถลงผลจับกุมโรงงานลักลอบผลิตชิ้นซิลิโคนศัลยกรรมเถื่อน พร้อมตรวจยึดของกลางเป็นเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์การผลิต และซิลิโคนศัลยกรรมเสริมความงามกว่า 1,166 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 3,500,000 บาท

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตํารวจกองกํากับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี และประชาชนว่ามีผู้ ลักลอบผลิตชิ้นส่วนซิลิโคนเสริมจมูก และซิลิโคนเสริมหน้าผาก โดยใช้สถานที่เป็นที่พักคนงานเป็นสถานที่ ลักลอบผลิต จึงสืบสวนจนทราบสถานที่ผลิต ปรากฏพบเป็นโรงสีข้าวซึ่งปัจจุบันยกเลิกกิจการไปแล้ว

ต่อมา วันที่ 20 ธ.ค. 65 เจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับ อย. และ สสจ.สุพรรณบุรี ร่วมกันนําหมายค้นของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 882/2565 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เข้าตรวจค้นโรงสีร้างในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ต.วังหว้า อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี พบคนงานกําลังผลิตซิลิโคนศัลยกรรมสําหรับเสริมจมูกและหน้าผาก โดยใช้สถานที่ลักษณะคล้ายที่พักคนงานเป็นฐานการผลิต

ทั้งนี้ สามารถตรวจยึดของกลางเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ส่วนควบในการผลิตซิลิโคนศัลยกรรม กว่า 16 รายการ ได้แก่ เครื่องจักรสําหรับผลิตซิลิโคนเสริมจมูก จํานวน 4 เครื่อง , เครื่องจักรสําหรับผลิตซิลิโคนเสริมหน้าผาก จํานวน 1 เครื่อง , แม่พิมพ์ซิลิโคนทรงต่างๆ จํานวน 68 แบบ , ซิลิโคนเสริมจมูกและหน้าผากสําเร็จรูป จํานวน 1,098 ชิ้น , ซิลิโคนที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป จํานวน 43 ก้อน (หากนําไปขึ้นรูปผลิต ชิ้นซิลิโคนได้ประมาณ 43,000 ชิ้น)

จากการตรวจสอบสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ขออนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์ แต่อย่างใด เบื้องต้น ดําเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดฐาน “ผลิตเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิต เครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับใบรับแจ้งรายการละเอียด” ขณะที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดทกุข้อกล่าวหา โดยให้การว่า เคยทํางานคลินิกเสริมความงามมาก่อน หน้านี้จากนั้นลาออกแล้วมาเป็นเซลลข์ายซิลิโคนให้กับคลินิกต่างๆ

ต่อมา ศึกษาการผลิตซิลิโคนด้วยตนเองจากข้อมูลโรงงานที่ทําซิลิโคนส่ง ประกอบกับตนเองมีฐานลูกค้าเก่าอยู่ แล้วตอนเป็นเซลล์ จึงผลิตเอง ส่งลูกค้าเอง ทําส่งลูกค้าประมาณ 5,000-10,000 ชิ้นต่อเดือนและมีเซลล์ช่วยขาย ประมาณ 3 คน ส่วนมากจะส่งเอง ตรวจสอบพบว่ามีการส่งให้คลินิกเสริมความงามชื่อดัง ซึ่งมีหลายสาขาทั่ว ประเทศ และคลินิกเสริมความงามชื่อดังทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดหลายสิบแห่ง โดยทํามาแล้ว ประมาณ 2 ปี

นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงซิลิโคนเสริมจมูกและหน้าผาก ว่า ต้องผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์ ต้องมีขบวนการผลิตแบบพิเศษ สะอาด ปลอดเชื้อ เพื่อให้สามารถนํามาใช้กับร่างกายของมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย เรียกว่า Medical Grade จึงขอเตือนไปยังคลินิกทุกแห่ง ให้นึกถึงผู้รับบริการเป็นหลัก อย่านึกเพียงการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพราะหากคลินิกเลือกวัสดุที่ไม่ใช่ Medical Grade Silicone เพราะซิลิโคนจมูก ซิลิโคนหน้าผาก หรือเต้านมเทียม จัดอยู่ในประเภทที่ใช้งานในระยะยาวและฝังในร่างกายทั้งหมด ในระยะยาวอาจจะเกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการศัลยกรรมได้

ปัจจุบัน มีบริษัทผลิตหรือนําเข้าที่ได้รับอนุญาตจาก อย.จํานวน 9 แห่ง และมีผลิตภัณฑ์ซิลิโคนจมูก ซิลิโคนหน้าผาก หรือเต้านม เทียม ที่ได้รับอนุญาตมีจํานวน 407 รายการ จึงขอเตือนคลินิกหรือสถานเสริมความงามว่าให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับอนุญาตมาใช้ในคลินิกเท่านั้น ส่วนผู้บริโภค สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email:1556@fda.moph.go.th Line:@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสํานักงาสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

Related Posts

Send this to a friend