BANGKOK

‘ชัชชาติ’ แนะ ปชช. เลี่ยงเส้นทางจราจรบริเวณถนนสุขุมวิท เหตุถนนทรุด

‘ชัชชาติ’ แนะ ปชช. เลี่ยงเส้นทางจราจรบริเวณถนนสุขุมวิท เหตุถนนทรุด มอง รถบรรทุกน้ำหนักเกินทำให้คานเหล็กใต้แผ่นปูนหัก เตรียมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นตรวจสอบไซต์งานก่อสร้าง ว่ารถออกมาบรรทุกน้ำหนักเกินมาตราฐานหรือไม่

วันนี้ (8 พ.ย. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ภายหลังพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุถนนทรุดตัว จากรถบรรทุก 10 ล้อ ซึ่งเป็นบ่อพักสายใต้ดิน ในโครงการก่อสร้างนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ที่บริเวณซอยสุขุมวิท 64/1 โดยย้ำว่าความปลอดภัยต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกในทุกกระบวนการ และเรื่องการเบี่ยงเส้นทางการจราจรของทางตำรวจ และเทศกิจร่วมกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจร เพราะคาดว่าน่าใช้ระยะเวลานาน

ต่อมา คือเรื่องการใช้เครนรถบรรทุกออก โดยสิ่งที่ต้องระมัดระวังคือฝาปิดบ่อทั้ง 4 แผ่น เพราะกังวลว่าหากยกตัวรถออกอาจจะทำให้ฝาบ่อตกลงไปด้านล่าง เพราะจะต้องนำฝากลับมาใช้ใหม่ ซึ่งฝาบ่อไม่ได้เสียหาย เสียหายเพียงแต่คานเหล็กที่อยู่ใต้ฝาหักลง หากฝาตกลงไปเสียหายอาจะส่งผลให้เสียเวลาหล่อฝาใหม่ และทำให้ระยะเวลานานในการปรับปรุง โดยเบื้องต้นมอบหมาย ให้ ผอ.โยธา ดำเนินการในส่วนนี้ พร้อมยอมรับว่าต้องใช้เวลา เพราะกระบวนการคิดต้องละเอียด โดยการร่วมมือระหว่าง กทม. การไฟฟ้าฯ และ ตำรวจ

สำหรับโครงการก่อสร่างบ่อพักสายดิน มีในถนนสุขุมวิททั้งหมด 27 จุด และบ่อใน กทม. มีทั้งหมด 700 บ่อ เป็นโครงการที่นำสายไฟฟ้าลงดิน เป็นโครงการที่พัฒนาเมืองให้กรุงเทพฯ ปลอดสายไฟ และเป็นโครงการของการไฟฟ้านครหลวง เราในฐานะมีหน้าที่กำกับดูแลมาตราฐาน ก็ได้กำชับแต่คงไม่ได้ลงไปดูทุกฝาเพราะติดเรื่องกำลังคนไม่เพียงพอ ซึ่งคาดสรุปสาเหตุได้ 2 อย่าง คือการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตราฐานกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ที่จะต้องไปพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

นายชัชชาติ กล่าวถึงแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะนี้ขึ้นอีกว่า หลังจากนี้หน่วยงานของ กทม. คงจะต้องมีการวัดหรือชั่งน้ำหนักรถที่บรรทุกที่เข้ามาในกรุงเทพมหานครเองนอกเหนือจากหน่วยงานหลักที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้

ส่วนรถบรรทุกคันนี้เบื้องต้นทราบว่าวิ่งเข้ามาในช่วงเวลาที่ตำรวจอนุญาตให้วิ่งได้เวลา 10:00-15:00 น. ซึ่งถือว่าเขตนี้อยู่นอกวงแหวน สามารถวิ่งได้ แต่หลังจากนี้จะต้องไปทบทวนว่าหลังจากนี้จะตั้งกฎอย่างไร โดยมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับเวลา แต่เป็นเรื่องของน้ำหนักเกิน ซึ่งเรื่องของการช่างน้ำหนักรถ กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะ กทม.ไม่มีเครื่องมือด้านนี้ ก็จะต้องไปหารือเพื่อหาแนวทางป้องกันต่อไป

ทั้งนี้ กทม. ไม่อยากตั้งด่านตรวจน้ำหนักบนท้องถนนเพราะส่งผลกระทบให้การจราจรติดขัด ก็จะเน้นไปตรวจสอบที่ไซส์งานก่อสร้างเป็นหลักว่ารถบรรทุกที่วิ่งออกมามีการบรรทุกน้ำหนักที่เกินมาตรฐานหรือไม่ หากเกินก็จะถูกลงโทษให้หยุดการดำเนินการชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหา เหมือนลักษณะเดียวกับมาตรลดฝุ่นละออง PM2.5 ในการก่อสร้างด้วย

Related Posts

Send this to a friend