BANGKOK

‘งบฐานศูนย์’ เส้นทางพิสูจน์ทฤษฎีจัดสรรงบ จาก มือปั้น ‘ดร.ยุ้ย’

‘งบฐานศูนย์’ ของใหม่ที่สร้างกระแส เส้นทางพิสูจน์ทฤษฎี จัดสรรงบ จาก มือปั้น ‘ดร.ยุ้ย’ ลุยหน้างานกทม.

ทำไม ‘งบฐานศูนย์’ จึงกลับมาเป็นกระแส ทำให้ต้องเจาะลึกเข้าห้องทำงบ กทม. กับ ดร.ยุ้ย โดย ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หรือ หัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านยุทธศาตร์ ผู้นำระบบนี้ตามนโยบายของท่านผู้ว่าฯ และเตรียมความพร้อมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในกทม. เพราะวิธีการนี้แทบจะเรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับการจัดทำงบประมาณเดิมๆ ที่ใช้วิธีการปรับลดหรือปรับเพิ่มโดยอิงจากงบประมาณในอดีตที่ผ่านมา

การจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting หรือ ZBB )  วิธีการจัดสรรงบประมาณแบบนี้ เป็นการนำโครงการที่จะดำเนินการมาวิเคราะห์ในเรื่องความคุ้มค่า และสร้างประโยชน์สูงสุด สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ทำให้สามารถคัดเลือกและตัดงบที่ไม่จำเป็นออกได้ มีการประเมินผล ของการทำโครงการ เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

โดย ดร.ยุ้ย – เกษรา ได้ให้ความเห็นว่า “  Zero-Based Budgeting  ต้องเริ่มต้นด้วยการ ‘คิดใหม่’ และพร้อมกับการทำ OKR (objective key result) หรือตั้งเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดผล และกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน พร้อมตั้งคำถามเสมอว่า “โครงการแบบนี้ยังมีความจำเป็นกับประชาชนหรือไม่ ยังต้องทำหรือเปล่า”    

ถึงตรงนี้…. บอกได้เลยว่า เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ในกระบวนการทำงบประมาณฐานศูนย์   เพราะต้องร่วมทุ่มเท ทั้งทรัพยากร บุคคลและเวลา เพื่อจัดทำเอกสารประกอบการตัดสินใจ อีกทั้งกระบวนการดังกล่าวต้องอาศัยทักษะและองค์ความรู้ชุดใหม่ แน่นอนว่าตามแผนการเดินหน้า การใช้ งบประมาณฐานศูนย์ของกทม. ทั้ง 50 เขต 20 สำนัก ต้องเตรียม การอบรมฝึกฝนให้กับบุคลากร และเมื่อลงมือทำจริงก็ต้องแบ่งกำลังคนบางส่วนมาเร่งจัดการ เพื่อเดินหน้าให้เกิดการใช้ได้จริงที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2568  ที่ขณะนี้ ดร.ยุ้ย ได้เริ่มต้นใช้ในบางโครงการแล้ว ในปีงบประมาณปี 2567  

นับได้ว่าในวันนี้  การบริหาร กทมที่ครบ 1  ปี ของทีมผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังคงเดินหน้าผลักดันนโยบาย 216 ข้อ เพื่อมุ่งสู่ “กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่” พร้อมไปกับการตอบโจทย์ในด้านประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองคนเมืองทุกช่วงวัย ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ภายใต้การจัดงบประมาณใหม่  กทม. จะเป็นหน่วยงานแรกที่จะมาเป็นตัวพิสูจน์ทฤษฎีงบประมาณฐานศูนย์ของไทย นำทีมโดยดร.ยุ้ย ที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติจริง ภายใต้งบประมาณที่จำกัดของ กทม. สอดรับกับแนวทางพรรคการเมืองที่มองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้จะนำมาใช้ในงบประมาณประเทศเช่นกัน

‘งบประมาณฐานศูนย์’ เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผ่านมือทำงาน อย่างดร.ยุ้ย – เกษรา ที่มีประสบการณ์ ทั้งในด้านนักวิชาการ นักบริหาร ของภาคเอกชน ที่เข้าถึง เข้าใจความต้องการของคนในกทม. ซึ่งจะสำเร็จ และใช้ได้เป็นรูปธรรม  คงต้องรอเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นในสังคม และการตอบรับจากประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ดร.ยุ้ย’ เซ็ทระบบขับเคลื่อน งบประมาณฐานศูนย์ หรือ  Zero-Based Budgeting ทดสอบใช้ในโครงการปี 67 ดึง OKR กลไกประเมินผล รับกระแสการเปลี่ยนทั้งปัจจุบันและอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพใช้งบ ตอบโจทย์ สร้างประโยชน์คนกรุงเทพในทุกด้าน  ตามนโยบาย ผู้ว่า ดัน “กรุงเทพเมืองน่าอยู่ของทุกคน” 

Related Posts

Send this to a friend