TECH

เปิด 10 เทรนด์ผู้บริโภคมาแรง ชีวิตในอนาคต ท่ามกลางผลกระทบจากสภาพอากาศ

นายแม็กนัส โฟรไดห์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอีริคสัน ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ที่ครอบคลุมเครือข่ายซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ (Cloud Software and Services) รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน ของเครือข่ายไร้สายระดับองค์กร ล่าสุดเผยข้อมูล 10 เทรนด์ผู้บริโภคมาแรง ท่ามกลางผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง พร้อมด้วยการรับมืออย่างรอบด้าน (Life in a Climate-Impacted Future) โดยรวบรวมข้อมูลอ้างอิงดังกล่าวมาจากรายงาน กิจกรรมการวิจัยทั่วโลกของ Ericsson ConsumerLab โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากแบบสำรวจออนไลน์ ที่จัดทำขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 จากกลุ่มผู้ที่ใช้เทคโนโลยี AR, VR และ Digital Assistant ใน 30 เมืองใหญ่ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าการใช้อินเทอร์เน็ต บวกกับวิธีการแก้ปัญหา จะเชื่อมต่อกันเป็นการรับมือในเชิงรุก เพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ด้านสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

นายแม็กนัส กล่าวว่า “ผู้บริโภคระบุชัดเจนว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่เชื่อถือได้และมีความยืดหยุ่นมีความสำคัญสูงสุด ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา และพวกเขากำลังมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง และมีผลกระทบเชิงลบ จะกลายเป็นเรื่องปกติยิ่งขึ้น ผู้บริโภคไม่คาดหวังว่าการเชื่อมต่อที่จำเป็นนั้น จะต้องเกิดขึ้นในระดับโลก แต่อย่างน้อยก็ขอให้เกิดขึ้นโดยเร็ว”

“ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ ไม่เพียงแต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้น แต่ยังมั่นใจว่ามันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา ในช่วงทศวรรษ 2030 มากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ความสนใจด้านเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตส่วนตัว จะเป็นตัวขับเคลื่อน การเลือกใช้บริการใดๆเป็นอันดับต้นๆ แต่มีความเป็นไปได้ที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ วิธีหรือรูปแบบการทำงานของเรา ระยะเวลาการทำงาน และสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน”

“เช่น เวลาการทำงานที่ไม่อิงตามหน้าปัดนาฬิกาแบบเดิม หรือเข้างาน 9 โมงเช้าเลิก 5 โมงเย็น และทำงานประจำที่ต้องทำทุกวัน ซึ่งอาจเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ก่อให้เกิดเทรนด์ใหม่ของการทำงานที่ไม่เร่งรีบ หรือ No-Rush Mobility สังคมการทำงานที่ถูกกำหนด จากการใช้พลังงานสูงสุดหรือต่ำสุด แทนเวลาตามเข็มนาฬิกา ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามยังคาดหวังว่า บทบาทของ AI จะขยายไปสู่พฤติกรรมของผู้บริโภค ดังที่ระบุไว้ในเทรนด์ Less Is More Digital เช่น เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการบริโภควัสดุแก่ผู้ซื้อ โดยใช้ทางเลือกดิจิทัล แทนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้”

ด้าน ดร.ไมเคิล บียอร์น หัวหน้าฝ่าย Research Agenda ของ Ericsson Consumer และ IndustryLab กล่าวว่า “กระแส Climate Cheaters เน้นให้เห็นถึงการรับรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ ด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ที่อาจจะฝืนความรู้สึก แต่เป็นความจริงอย่างมาก เช่น การโกงเพื่อเลี่ยงการปฏิบัติ ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ ผลกระทบต่อสภาพอากาศ เช่น การจ่ายบิลหรือการบันทึกข้อมูล เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 72% คาดว่าจะใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เลี่ยงข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในระยะสั้น ประเด็นนี้เป็นการเตือนจริงจัง เกี่ยวกับความสำคัญของการมุ่งเน้นไปที่ ความน่าเชื่อถือของบริการอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับ 10 เทรนด์ผู้บริโภคมาแรง

1.Cost Cutters

บริการดิจิทัลจะช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมค่าอาหาร พลังงาน และค่าเดินทางในสถานการณ์สภาพอากาศที่ไม่แน่นอน มากกว่า 60% ของกลุ่มผู้นำกระแสในเขตเมือง แสดงความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในอนาคต

2.Unbroken Connections

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ และมีความยืดหยุ่นจะมีความสำคัญมากขึ้น หากและเมื่อมีเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงเพิ่มขึ้น โดย 80% ของกลุ่มผู้นำกระแสในเขตเมือง เชื่อว่าหากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะมีตัวระบุตำแหน่งสัญญาณอัจฉริยะ ที่แสดงพื้นที่ครอบคลุมอย่างเหมาะสมในทศวรรษ 2030

3.No-Rush Mobility
ตารางเวลาที่เคร่งครัดอาจกลายเป็นเรื่องของเมื่อวานนี้ เมื่อความหมายของความยืดหยุ่นเปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากกฎระเบียบด้านสภาพอากาศ และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ประมาณ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจจะวางแผนกิจกรรม โดยใช้ตัวกำหนดตารางเวลาที่เพิ่มประสิทธิภาพตามต้นทุนด้านพลังงาน ไม่ใช่ประสิทธิภาพด้านเวลา

4.S(AI)fekeepers

คาดว่า AI จะเป็นขุมพลังสำคัญให้กับบริการ ที่คอยปกป้องผู้บริโภคในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนและคาดการณ์ไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้นำกระแสในเขตเมือง เผยว่า พวกเขาจะใช้ระบบเตือนภัยสภาพอากาศ ส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

5.New Working Climate

ข้อจำกัดด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลที่เร่งตัวขึ้น จะกำหนดรูปแบบกิจวัตรการทำงานในอนาคต เจ็ดในสิบคนคาดว่าผู้ช่วย AI ของบริษัทจะวางแผนการเดินทาง กำหนดภาระงาน และทรัพยากรต่างๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

6.Smart Water

เนื่องจากน้ำจืดในทศวรรษ 2030 อาจเป็นของหายากขึ้น ผู้บริโภคจึงคาดหวังบริการน้ำที่มีความอัจฉริยะ เพื่อเก็บและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองกล่าวว่า จะใช้เครื่องดักจับน้ำอัจฉริยะบนหลังคา ระเบียง และหน้าต่างที่เมื่อฝนตก ก็เปิดเพื่อเก็บกักและทำความสะอาดน้ำฝน

7.The Enerconomy

บริการแบ่งปันพลังงานแบบดิจิทัล อาจช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานที่สูงขึ้นในทศวรรษ 2030 พลังงานอาจกลายเป็นสกุลเงินได้ เนื่องจาก 65% ของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองคาดว่าผู้บริโภคจะสามารถชำระค่าสินค้า และบริการเป็นหน่วยกิโลวัตต์/ชั่วโมง โดยใช้แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

8.Less is more digital

การเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล อาจกลายเป็นเครื่องหมายแสดงสถานะ เนื่องจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุมากเกินความจำเป็น อาจทำให้ต้องเผชิญกับราคาแพง และถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม พฤติกรรมลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ ที่เป็นวัตถุจะเร่งขยายตัวขึ้น เนื่องจากหนึ่งในสามของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองเชื่อว่า โดยส่วนตัวแล้วพวกเขาจะใช้แอพพลิเคชั่นช็อปปิ้ง ที่แนะนำทางเลือกดิจิทัล แทนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้

9.Natureverse

การสัมผัสธรรมชาติในเมืองโดยไม่ต้องเดินทาง อาจเป็นเรื่องปกติในยุค 2030 เมื่อต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง และข้อจำกัดด้านการเดินทางที่อาจเกิดขึ้น สี่ในสิบของกลุ่มผู้นำกระแสในเมือง ต้องการใช้บริการการเดินทางเสมือนจริง ที่ช่วยให้พวกเขาได้สัมผัสกับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ และเส้นทางบนภูเขาแบบเรียลไทม์ ประหนึ่งว่าพวกเขาได้อยู่ตรงนั้นเอง

10.Climate Cheaters

ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าผู้บริโภค จะหาทางหลีกเลี่ยงความเข้มงวด ของข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและการปันส่วนพลังงานและน้ำ กว่าครึ่งของกลุ่มผู้นำกระแสในเมือง คาดว่าแอพพลิเคชั่นแฮ็คออนไลน์ จะช่วยให้พวกเขาลักน้ำประปา หรือไฟฟ้าของเพื่อนบ้านมาใช้แบบผิดกฎหมาย

Related Posts

Send this to a friend