TECH

การ์ทเนอร์ คาดผู้บริโภคกว่า 40% ระวังการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวให้กับบริษัทธุรกิจ

การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาให้ข้อมูลเชิงลึกกับบริษัทธุรกิจ ได้คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรไอทีรวมถึงผู้ใช้ในปีนี้และอนาคต โดยการ์ทเนอร์ได้ถอดบทเรียนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เตรียมพร้อมเดินหน้าด้วยการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายและวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที

การ์ทเนอร์ได้จำแนกเทรนด์ต่างๆ 10 ข้อ โดยเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ มีดังนี้

  • ความปลอดภัยของข้อมูลผู้บริโภค

ภายในปี พ.ศ. 2567 ผู้บริโภคราว 40% จะมีพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกติดตามหรือรวบรวมไว้ลดบทบาทลง ซึ่งทำให้ธุรกิจสร้างรายได้จากข้อมูลเหล่านั้นได้ยากขึ้น

ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้นว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทต่าง ๆ ได้จากพวกเขามีมูลค่ามหาศาล ผู้บริโภคส่วนหนึ่งกำลังหาวิธีป้องกันการติดตามข้อมูลและพฤติกรรมส่วนตัวเพื่อเป็นการตอบโต้

ภายในปี พ.ศ. 2568 ข้อมูลสังเคราะห์ (หรือ Synthetic Data) จะลดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรจากการละเมิดความเป็นส่วนตัว (70%)

ข้อมูลที่สร้างโดยใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้น ทำให้ลดการรวบรวม ใช้ หรือแบ่งปันข้อมูลที่มีความอ่อนไหวลง สิ่งนี้มีความสำคัญสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวที่มีความสมบูรณ์และมีความเฉพาะในระดับภูมิภาคได้กดดันให้องค์กรหันมาลดความเสี่ยงของการละเมิดความเป็นส่วนตัว

  • บริษัทและธุรกิจ
    ภายในปี พ.ศ. 2567 ทีมในองค์กรถึง 30% จะทำงานกันได้โดยไม่ต้องมีหัวหน้างาน อันเป็นผลจากการเรียนรู้และกำกับการทำงานด้วยตัวเอง

การระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการทำงานที่มีความคล่องตัวได้ฝังตัวไปในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเปลี่ยนบทบาทการตัดสินใจจากศูนย์กลางมาเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ ช่วยลดปัญหาคอขวดและประหยัดเวลาท่ามกลางสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด นั่นส่งผลให้บทบาทของผู้จัดการในแบบเดิม ๆ ถูกถอดออกไป

ในปี พ.ศ. 2568 สามในสี่ของบริษัทต่าง ๆ จะ “เลิกให้ความสำคัญ” กับกลุ่มลูกค้าที่ไม่เหมาะกับธุรกิจ เนื่องจากต้นทุนการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ลูกค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจ

องค์กรมักลบลูกค้าที่ไม่เข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจออกไปจากกระบวนการขาย ทั้งนี้การรักษาลูกค้าที่ไม่เหมาะกับธุรกิจมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งในแง่ของเวลาที่ใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เช่นเดียวกับต้นทุนค่าเสียโอกาส ความเสื่อมสภาพของแบรนด์ และการสูญเสียผลกำไรระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้

ในปี พ.ศ. 2569 สินทรัพย์ดิจิทัล Non-Fungible Token (NFT) ที่ใช้กลยุทธ์ Gamification จะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรก

สินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs) กำลังกลายเป็นวิธีการสร้างโมเดลธุรกิจให้เติบโตอย่างทวีคูณ ภายในปี พ.ศ. 2567 การ์ทเนอร์คาดว่า 50% ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีสินทรัพย์ดิจิทัล (NFT) ที่สนับสนุนแบรนด์และ/หรือระบบนิเวศดิจิทัลของตน ซึ่ง NFTs จะกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังเพื่อใช้เสริมศักยภาพให้แก่ระบบนิเวศดิจิทัลและประเมินมูลค่าขององค์กรได้รวดเร็วขึ้น

Related Posts

Send this to a friend