เปิดรับข้อเสนอขอรับการสนับสนุนทุนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ประจำปี 2563

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่ากองทุนฯเน้นที่การค้นหาช้างเผือกและสนับสนุนให้เกิดการสร้างสังคมสื่อปลอดภัยโดยในปีนี้ได้มีการขยายขอบเขตประเภทของทุนเป็นประเภทความร่วมมือเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากประเภทเปิดรับทั่วไปและประเภทเชิงยุทธศาสตร์
ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯกล่าวว่าการจะทำให้สื่อปลอดภัยนอกจากจะต้องพัฒนาและดูแลสื่อให้มีความสะอาดปลอดภัยแล้วยังต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับสารอีกด้วยผู้ขอรับการสนับสนุนจึงควรมีความเข้าใจเชิงลึกมีข้อมูลมีการทำวิจัยมารองรับเพื่อให้เกิดโครงการที่ดีและมีประสิทธิภาพให้เกิดสังคมสื่อสร้างสรรค์อย่างแท้จริง
ในงานยังมีการแถลงข่าว และให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนในวงเงิน 300 ล้านบาท โดยมี นาวาเอก พรหมเมธ อติแพทย์ อนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รองศาสตราจารย์พนา ทองมีอาคม ประธานอนุกรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และผู้ช่วยศาสตราจารยวรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินรายการโดยผู้จัดการกองทุนฯ
โดย ทั้งหมดได้เน้นย้ำว่า การนำเสนอโครงการให้เน้นที่การนำมาปฏิบัติได้จริง มุ่งเน้นการนำเสนอว่าสามารถแก้ปัญหาอะไรให้กับสังคม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประทศ และต้องรู้จริงมีข้อมูลมารองรับ โดยระยะเวลาของโครงการคือ 12 เดือนซึ่งการนำเสนอโครงการควรมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและสามารถประเมินผลได้
ผจก. กองทุน เน้นย้ำว่าหลังจากการเปิดรับข้อเสนอในรอบนี้แล้ว กองทุนฯ จะมีการเปิดรับข้อเสนอครั้งใหม่ในช่วงเดือน ม.ค. หรือ ก.พ. ปี 2564
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์โดยมีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงาน โดยแบ่งประเภททุนเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. การให้ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant) (90 ล้านบาท) มีขอบเขตของโครงการหรือกิจกรรมการสนับสนุนดังนี้
1.1 การผลิตสื่อเพื่อกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
1.2 การสื่อสารเพื่อสร้างวินัยและจิตสำนึกสาธารณะ
1.3 การวิจัยปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ
1.4 การส่งเสริมกลไกการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ
2. การให้ทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) (180 ล้านบาท) มีขอบเขตของโครงการหรือกิจกรรมการสนับสนุน ดังนี้
2.1 การแก้ไขการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
– การสร้างความตระหนักถึงผลเสียของ Cyberbullying
– การลดพฤติกรรม Cyberbullying
– การจัดกิจกรรมค่ายเพื่อปรับพฤติกรรม Cyberbullying
2.2 การอนุรักษ์และส่งเสริมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
– การนำเอาเรื่องเล่าของท้องถิ่น มรดกวัฒนธรรม มาถ่ายทอดในรูปแบบที่น่าสนใจ
– การสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมของท้องถิ่น
2.3 การสร้างความภูมิใจในชาติไทย
– การสร้างความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย
– การสร้างความรัก ความภูมิใจในความเป็นคนไทย
2.4 นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
– การสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
– การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2.5 การรับมือกับปัญหาข่าวปลอม
– การสร้างสื่อเพื่อให้ความรู้เรื่องข่าวปลอมกับกลุ่มเสี่ยง
– การใช้ระบบและเทคโนโลยีเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาข่าวปลอม
– การวิจัยแนวทางการแก้ปัญหาข่าวปลอมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ
– การสร้างองค์ความรู้ หลักสูตรการศึกษา การอบรมเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมในคนกลุ่มต่าง ๆ
– การสร้างเกมต่อต้านข่าวปลอม
– การสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังข่าวปลอมโดยประชาชน
2.6 การรู้เท่าทันเกม
– การสร้างสื่อหรือกิจกรรมเพื่อรณรงค์การเล่นเกมอย่างเหมาะสม
– การแนะนำส่งเสริมทักษะและอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกม
– การลดผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกม
3. การให้ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) (30 ล้านบาท) มีขอบเขตของโครงการ หรือกิจกรรมที่ดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และมีภารกิจที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ระดับชาติ หรือตามนโยบาย แผน หรือยุทธศาสตร์ของกองทุนการให้ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) มีขอบเขตของโครงการ หรือกิจกรรมที่ดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 และมีภารกิจที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ระดับชาติ หรือตามนโยบาย แผน หรือยุทธศาสตร์ของกองทุน
ทั้งนี้ สามารถขอรับทุนได้ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล (มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย สถานศึกษา รวมถึงส่วนราชการต่างๆ) โดยสามารถยื่นขอทุนได้ทางออนไลน์ที่ www.thaimediafund.or.th ตั้งแต่วันนี้ – 3 กันยายน 2563 เวลา 16.30 น.