KNOWLEDGE

เผย 4 เทคนิค งานด้านทรัพยากรบุคคล ช่วยคัดเลือกพนักงานให้สอดคล้องไลฟ์สไตล์ยุค New Normal

ผศ. ดร.พัลลภา ปีติสันต์ รองคณบดีงานบริการวิชาการ วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล เผยถึง 4 เคล็ดลับ ไปยังฝ่ายทรัพยากรบุคคลทุกองค์กร ในการบริหารคนยุค New Normal เพื่อเข้ารับทำงาน ท่ามกลางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2566 สืบเนื่องจากการทำงานปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่จะเกิดโควิด-19 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากคนทำงานออฟฟิศ มีความเคยชิน และเสพติดการทำงานแบบ Work From Home การประชุม หรืออบรมแบบออนไลน์ และมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยน ดังนั้นหากองค์กรต่างๆ ควรมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ก็จะช่วยให้คัดเลือกพนักงาน ที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับการทำงานขององค์กรมากขึ้น

ผศ. ดร.พัลลภา กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี นับจากที่องค์กรธุรกิจทั่วโลก และในประเทศเผชิญหน้ากับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาเก็บข้อมูล และสังเกตการณ์ การปรับตัวขององค์กรธุรกิจในมิติต่างๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองกับนักศึกษาปริญญาโท ซึ่งในอีกบทบาทเป็นผู้บริหาร เป็นพนักงานและจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในแวดวงด้านบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ตลอดจนข้อมูลจากหน่วยฝึกอบรมของวิทยาลัยฯ เองมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มองเห็นภาพการทำงาน ของหน่วยงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2566 จะหนักหน่วงและมีความท้าทายไม่แพ้ ในช่วงที่เคยพาองค์กรเผชิญกับสถานการณ์การ แพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 เพราะต้องรับมือกับมิติของการเปลี่ยนแปลงทั้งจากปัจจัยภายนอก และภายในในหลายๆด้าน”

ทั้งนี้การจัดการและดำเนินการ ของผู้บริหารองค์กร และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือ HR ต้องเตรียมรับมือกับประเด็นท้าทาย ที่เกิดขึ้นในปี 2566 ดังต่อไปนี้

1.การปรับโครงสร้างและรูปแบบ การทำงานขององค์กรให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ขององค์กร ที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตามปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ เช่นการตัดสินใจรับพนักงานใหม่ ที่มีความสามารถสอดคล้อง กับแนวทางการทำงานแบบใหม่ขององค์กร การ Reskill หรือ Upskill ให้พนักงาน การปรับลดพนักงานโดยการเลิกจ้าง หรือทำอย่างไรกับพนักงานที่มีประสบการณ์สูง เงินเดือนสูง ในสายงานที่ถูกลดความสำคัญลง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและโจทย์ที่ท้าทายของ HR

2.ปรับแผนงานการสรรหาพนักงาน โปรแกรมการรักษาคนเก่ง สร้างและมัดใจกลุ่มทาเลนท์ขององค์กร และรองรับกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเจเนอเรชัน Z ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน คนกลุ่มนี้สนใจและอยากไปทำงานต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี งานที่ท้าทาย ไม่ยึดติดกับองค์กร คนกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีที่ตัวเองคุ้นเคย เป็นช่องทางในการแสวงหาความก้าวหน้า และสร้างสมดุลชีวิตรวมถึงในการนำตัวเอง ออกไปหาประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศ

3.การปรับเปลี่ยนระบบประเมินผลงาน การกำหนดค่าจ้างค่าตอบแทน ตลอดจนระบบการให้รางวัล และสวัสดิการ เพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด และมีความยืดหยุ่นที่จะรับกับการดูแลพนักงาน ที่ต้องการสับเปลี่ยนโยกย้ายหน้าที่ และภาระงานเดิม ไปสู่รูปแบบการทำงานใหม่ๆ ตามยุทธศาสตร์ขององค์กร

4.เป็นเวลาร่วมสองปี ที่พนักงานส่วนใหญ่ ขององค์กรต้องทำงานแบบ Work from Home จนกระทั่งปัจจุบันองค์กรจำนวนไม่น้อย ก็ยังมีการทำงานแบบ “Hybrid working” หรือการทำงานที่ให้พนักงานทำงานในออฟฟิศสลับกับ Work From Home หรือ การเปิดโอกาสให้พนักงานทำงาน จากที่ไหนก็ได้ (Remote working) แทนที่การทำงานในออฟฟิศทุกวัน ในบางสายงาน หรือนำการประชุมแบบออนไลน์มาใช้เป็นหลัก ทั้งนี้สิ่งที่กล่าวมาเป็นเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคล ขององค์กรยุคใหม่ ที่ควรตระหนักในประเด็นดังกล่าว

Related Posts

Send this to a friend