ENVIRONMENT

WHO เผย แต่ละปีพบขยะก้นบุหรี่กว่า 4.55 ล้านชิ้น

WHO เผย แต่ละปีพบขยะก้นบุหรี่กว่า 4.55 ล้านชิ้น ชี้ ทำลายโลกตั้งแต่ปลูก-ผลิต-สูบ

วันนี้ (18 เม.ย. 65) นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์กรอนามัยโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศประเด็นรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. 65 คือ “ยาสูบ : ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากยาสูบ ด้วยการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากวงจรการปลูก การผลิต การจัดจำหน่ายยาสูบ ของเสีย และขยะที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่จะทำให้คนเลิกสูบบุหรี่

ทั้งนี้ พบว่ากระบวนการปลูก การผลิตและการใช้ยาสูบ ได้ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ ดิน ชายหาดและถนนหนทาง มีการปนเปื้อนของสารพิษในดินและน้ำจากขยะก้นบุหรี่รวมถึงไมโครพลาสติกและขยะจากชิ้นส่วนของบุหรี่ไฟฟ้า และยังพบว่า มีต้นไม้อีกเป็นจำนวนมากถูกตัดเพื่อแผ้วถางพื้นที่สำหรับทำไร่ยาสูบ

“ต้องใช้ต้นไม้ 1 ต้น ในการผลิตบุหรี่ 300 มวน ขณะที่กระบวนการผลิตบุหรี่ 1 มวน ต้องใช้ปริมาณน้ำถึง 3.7 ลิตร โดยเฉลี่ย หากนักสูบ 1 คนเลิกสูบบุหรี่ได้ จะช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 74 ลิตรต่อวัน ขณะที่ชาวไร่ยาสูบเอง ต่างได้รับนิโคตินจากการสัมผัสใบยาในปริมาณสูง เทียบเท่าการได้รับจากบุหรี่ 50 มวนต่อวัน โดยประมาณการว่า แต่ละปีมีขยะก้นบุหรี่ถึง 4.5 ล้านล้านชิ้น ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม” ผู้แทนองค์กรอนามัยโลกฯ กล่าว

Related Posts

Send this to a friend