ENVIRONMENT

มหิดล ศาลายา ชวนเที่ยวในมหาวิทยาลัย หลังปลดล็อกแล้ว

แนะเที่ยวชมแปลงผักปลอดสารพิษ (Organic Farm) ที่อยู่ข้างอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล “ครัวธรรมชาติ” ของประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดล และชาวชุมชนศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เพียงกว่า 20 กิโลเมตร หากใช้ถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นทางหลักจะใช้เวลาประมาณ 30 – 45 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร รถประจำทางสายที่วิ่งผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้แก่ ปอ.515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – เซ็นทรัลศาลายา) ปอ.556 (อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย – วัดไร่ขิง) ไมโครบัส Y70E (มทร.รัตนโกสินทร์ – BTS หมอชิต) สาย 124 (สนามหลวง – แยกพุทธมณฑล สาย 5) และ สาย 84ก (วงเวียนใหญ่ – หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา) 

เมื่อเข้ามาในรั้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา แล้ว สามารถจอดรถได้ที่อาคารจอดรถศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร เพื่อแวะจิบกาแฟ หรือเลือกจอดรถฟรีได้ตาม Park ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จากนั้นสามารถรอขึ้นรถรางฟรีได้ตามจุดต่างๆ ที่กำหนด ซึ่งรถรางสายที่ผ่านร้านผักปลอดสารพิษ ได้แก่ สายสีแดง และสายสีน้ำเงิน

การส่งเสริมปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ นอกจากไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งผู้ปลูกและผู้กินแล้ว รวมทั้งยังทำให้ช่วงเวลาที่ต้องอยู่บ้านในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้กลายเป็นเป็นช่วงเวลาดีๆ ของครอบครัว ที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้มีโอกาสร่วมด้วยช่วยกันปลูกผัก และหากบ้านใดที่มีเด็กเล็กๆ การให้เด็กได้มีส่วนช่วยครอบครัวปลูกและดูแลผัก ตลอดจนได้ร่วมลองทำเมนูใหม่ๆ จากผักด้วยตัวเอง จะเป็นการปลูกฝังให้เด็กชอบกินผัก ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กได้ต่อไปในระยะยาว ถือเป็น “ของขวัญ” จากพ่อแม่ที่ประเมินค่าไม่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ในผู้สูงวัยที่พบปัญหากระดูกเปราะบาง แตกหักง่าย จากการขาดวิตามิน และแคลเซียม การกินผักซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน และแคลเซียม ร่วมกับการออกกำลังกายโดยพอประมาณ และการได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ตลอดจนช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกได้

ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นอกจากแปลงผักปลอดสารพิษแล้ว ยังมี landmark ที่น่าไปแวะเที่ยวชมอีกหลายจุด ไม่ว่าจะเป็น “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” ที่อยู่ใกล้หอประชุมมหิดลสิทธาคาร “เรือนไทยศาลายา” ซึ่งเปิดสำหรับการแสดงกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ

Related Posts

Send this to a friend