ENVIRONMENT

แนะรับมือหมอกควันภาคเหนืออย่างยั่งยืน จูงใจเกษตรกรเปลี่ยนปลูกพืชอื่น ลดพึ่งพาการเผา

เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม และแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนืออย่างยั่งยืน ล่าสุดข้อมูลของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอเกี่ยวกับหมอกควันภาคเหนือ ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน ประกอบกับปัญหามลพิษหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนือนั้น มีสาเหตุแตกต่างจากในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยหมอกควันพิษในพื้นที่เมืองหลวงนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การจราจรหนาแน่น ปัญหาการก่อสร้าง และมีตัวเลขวิกฤตในช่วงฤดูหนาว หรือประมาณกลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ส่วนในพื้นที่ภาคเหนือ มลพิษส่วนใหญ่มาจากการเผาชีวมวล ในพื้นที่เกษตรและไฟป่า ทั้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆในจังหวัดทางภาคเหนือ และเกิดขึ้นในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเมียนมาร์และลาว พื้นที่เผาส่วนใหญ่ เป็นไร่ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งปัญหามลพิษดังกล่าว ไม่เพียงก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน แต่ยังก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาด 10 ไมครอน หรือ PM 10 ที่ปัจจุบันกำลังถูกยกระดับเป็นวาระระดับประเทศ เพื่อระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากช่วงมีนาคม- เมษายน เป็นช่วงที่มลพิษหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนือกลับมารุนแรง อยู่ในระดับโซนสีแดงอีกครั้ง

ข้อมูลของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบุว่า “ปัญหาหมอกควันพิษใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และตาก มีตัวเลขสูงในระดับที่เสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน กลายเป็นข่าวซึ่งพบเห็นได้ทุกปี ฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 และฝุ่นละอองขนาด 10 ไมครอน หรือ PM 10 กำลังถูกยกระดับเป็นวาระระดับประเทศ แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ และแก้ไขปัญหาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนแล้วก็ตาม โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม- เมษายน เวียนมาถึงพร้อมกับ มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ บางช่วงเครื่องมือตรวจวัดทั้งภาคเอกชนและราชการ ระบุตรงกันว่า อากาศส่วนใหญ่ อยู่ในระดับโซนสีแดง ซึ่งหมายความว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ บางวันของเมืองศูนย์กลางของพื้นที่ภาคเหนืออย่างจังหวัดเชียงใหม่ ก็ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดในโลก”

มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือนั้น มีสาเหตุแตกต่างจาก ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยหมอกควันพิษในพื้นที่เมืองหลวงนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การจราจรหนาแน่น ปัญหาการก่อสร้าง และมีตัวเลขวิกฤตในช่วงฤดูหนาว หรือประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เพราะสภาพอากาศฤดูนี้ของกรุงเทพหมานคร มีความกดอากาศสูง และมักจะเกิดสภาพอากาศนิ่ง ไม่ค่อยมีการระบายอากาศ ดังนั้นสิ่งที่เห็นจากช่วงวิกฤต PM 2.5 ของกรุงเทพหมานคร คือ ฝุ่นละอองที่ถูกปล่อยมาแต่ละวัน ที่สะสมตัวในแนวดิ่ง ที่ไม่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน ซึ่งอากาศระบายได้ดี ช่วงฤดูฝนนั้นมลพิษทางอากาศต่างๆ จะถูกยกตัวขึ้นไปในบรรยากาศระดับสูงขึ้น ด้วยการพาความร้อนของอากาศ และฝนที่ตกลงมาก็จะช่วยลดปริมาณฝุ่น

แต่ในพื้นที่ภาคเหนือ มลพิษส่วนใหญ่มาจากการเผาชีวมวล ในพื้นที่เกษตรและไฟป่า ทั้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆในจังหวัดทางภาคเหนือ และเกิดขึ้นในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเมียนมาร์และลาว พื้นที่เผาส่วนใหญ่ เป็นไร่ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน มีรายงานว่า พบการเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตรมากที่สุด ที่จังหวัดน่าน และ จังหวัดพะเยา ขณะที่การเผาชีวมวลในพื้นที่ป่านั้นพบว่า มักเกิดช่วงเดือนกุมภาพันธ์- เมษายน และพบมากที่สุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นบริเวณที่ยังมีพื้นที่ป่ามาก

แต่การเผาไม่ใช่สาเหตุเดียว ที่ทำให้ค่ามลพิษในอากาศพุ่งสูง ปัจจัยอื่นๆอย่างลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาสูงล้อมรอบ เมื่อประกอบกับสภาพอากาศของช่วงหน้าหนาวเปลี่ยนเข้าสู่หน้าร้อน ซึ่งมีสภาพอากาศนิ่ง ก็ยิ่งกลายเป็นปัจจัยเสริมให้มลพิษที่เกิดขึ้นและสะสมตัว พัดไปไหนไม่ได้ เมื่อมีการเผาในที่โล่งจากสาเหตุที่กล่าวมา ก็ยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น

“แม้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะตื่นตัวในเรื่องนี้ มาตรการควบคุมการเผาเป็นเรื่องที่ยังทำได้ยาก เพราะเกษตรกรยังเลือกใช้วิธีเผา เนื่องจากเป็นวิธีที่คุ้มค่า ต้นทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย และทำได้ง่าย ขณะเดียวกัน เมื่อมีการเผา การเข้าไปควบคุมไฟนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในป่าเขาสูงชัน การดับไฟ ต้องอาศัยกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ดังนั้นการแก้ปัญหาหมอกควันในภูมิภาคนี้ สำหรับเหตุการณ์เฉพาะหน้า คือ การสร้างระบบการแจ้งเหตุระงับเหตุ ของท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ประสานกับส่วนกลาง ลดจุดความร้อน หรือ hotspot ในพื้นที่ป่าให้เป็นศูนย์ ระดมสรรพกำลัง อุปกรณ์ เครื่องมือจากนอกพื้นที่ มาเสริมการลาดตระเวน เฝ้าระวังและดับไฟป่า ไม่ให้เกิดการลุกลามของไฟจนไม่สามารถควบคุมได้”

“นอกจากนี้ยังได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกับประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ข้ามแดนตามกลไกลอาเซียน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอย่างจริงจัง ขณะที่ในระยะยาว จำเป็นที่จะต้องหามาตรการดูแลภาคเกษตรที่ยังต้องพึ่งพิงการเผา ชักจูงให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น หรือเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั้งภาครัฐและเกษตรกรต้องใช้เวลา ทั้งในการปรับตัวและสร้างความชำนาญ โดยอาศัยการขยายผลโครงการป่าชุมชนต้นแบบ รวมถึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ทางการเกษตรอย่างหลากหลาย ที่สามารถเพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุนการเพาะปลูกได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการเผา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่นี้อย่างยั่งยืน”

Related Posts

Send this to a friend