เครือข่ายฯคนรักระยอง ยื่นข้อเรียกร้องบอร์ด สวล. จัดการก่อนเดินหน้า EEC
วันนี้ (14 ก.พ. 65) เครือข่ายประชาชนคนรักระยอง ยื่นหนังสือ 14 ข้อเสนอถึงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ขอให้แก้ปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง ก่อนยกเลิกเขตควบคุมมลพิษและขยายการลงทุนในพื้นที่ EEC หลังพบว่า 13 ปีที่ผ่านมา การแก้ปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองยังไม่ประสบความสำเร็จ มลพิษยังคงสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานและสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และยังยังมีการอนุญาตให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทั้งในและนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จึงมีข้อเรียกร้องก่อนรัฐจะเดินหน้าขยายการลงทุนในพื้นที่ EEC ดังนี้
1) ขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศพื้นที่อื่นๆในจังหวัดระยองที่มีมลพิษและมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากที่ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษอยู่แล้ว เป็นเขตควบคุมมลพิษเพิ่มขึ้น
2) จัดส่งข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าในการลดและขจัดมลพิษจังหวัดระยอง ที่เกิดจากการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งมีการดําเนินการมาแล้ว 3 ช่วงเวลา ประชาชนเข้าใจได้โดยง่าย และขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประเมินผลการ ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการฯ ข้างต้นก่อนว่า มีการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลและ มีการจัดทําแผนปฏิบัติการฯตามเจตนารมณ์ของมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวด ล้อม พ. ศ. 2535 ในระดับใด แล้วจึงส่งผลการประเมินให้ประชาชนจังหวัดระยองทราบ พร้อมเอกสารแผนปฏิบัติการฯ และรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนฯ
3) ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ใน พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฉบับที่บังคับใช้ใน ปัจจุบัน เร่งรัดให้แก้ปัญหามลพิษในจังหวัดระยองเพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองเป็นไปตามค่าเกณฑ์มาตรฐาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงอนุญาต/เห็นชอบให้มีการ ดําเนินการของโรงงานที่จะสร้างขึ้นใหม่หรือมีการขยายกําลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่เดิม และขอให้มี การศึกษาศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง (Carrying Capacity) ที่ครอบคลุมมลสารที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมก่อนที่จะมีขยาย อุตสาหกรรมตามโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้ต้องติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพ อากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ได้รับมลสารจากโรงงานทั้งในและนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการศึกษาศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษทั้งพื้นที่ และพื้นที่เขตควบคุมมลพิษที่ จะประกาศขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นตามสภาพปัญหามลพิษในจังหวัดระยองด้วย เพื่อที่จะนําไปกําหนดเป็น โควต้าการระบายมลพิษและเพื่อให้ปัญหามลพิษในจังหวัดระยองเป็นปัญหาร่วมที่โรงงานอุตสาหกรรมจะ ร่วมกันแก้ปัญหาเสียก่อนที่จะเกิดการลงทุนใหม่ และเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน “ตามสิทธิในการ ดํารงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 57
4) จัดส่งข้อมูลจํานวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยองในปัจจุบัน โดยแสดงข้อมูล เปรียบเทียบระหว่างปีที่ประกาศเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองและปีปัจจุบัน จําแนกจํานวนโรงงานรายนิคม อุตสาหกรรม/เขตประกอบการอุตสาหกรรม/ชุมชนอุตสาหกรรม/กลุ่มอุตสาหกรรมหรือที่เรียกเป็นอย่างอื่น รวมทั้งจํานวนโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่นอกเขตควบคุมมลพิษ โดยการจําแนกข้อมูลตามประเภทโรงงาน/ ขนาด ที่ตั้งรายตําบลและอําเภอ ในและนอกพื้นที่แต่ละนิคมอุตสาหกรรม (หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น) เพื่อให้ ประชาชนฯและท้องถิ่นสามารถใช้ข้อมูลนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
5) ขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตรวจสอบ ออกประกาศและสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินงานในด้านต่างๆ ต่อไปนี้โดยเร็ว
6) การรั่วของน้ํามันของโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 21.06 น. เนื่องจาก ท่อมีอายุใช้งานมานานจนเกือบหมดอายุการใช้งานและใช้เทคโนโลยีเก่า จึงขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติสั่งให้มีการดําเนินการตรวจสอบและปรับปรุงเทคโลยีของระบบท่อในการขนส่งของเหลวทางท่อใน ทะเลให้มีระบบการตรวจสอบการรั่วที่ทันสมัย มี safety valve ที่ปลอดภัยก่อนที่จะดําเนินการใช้งานมาตรการนี้ขอให้นํามาใช้กับระบบท่อที่รับสารเคมีอันตรายบนบกด้วย นอกจากนี้ขอให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงข่ายระบบท่อขนส่งของเหลวใต้ทะเลเพื่อเป็นการใช้ มาตรการป้องกันไว้ก่อนด้วย
7) สั่งให้มีการจัดทําคู่มือหลักการปฏิบัติที่ดีเมื่อมีอุบัติเหตุจากโรงงานอุตสาหกรรมทุกโรงงาน ส่วน โรงงานที่จัดทําแล้วให้ทบทวนใหม่และให้ความสําคัญกับการใช้เทคโนยีที่ทันสมัยถึงแม้จะมีราคาแพง และต้อง บังคับให้กลุ่มโรงงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุจากโรงงาน โดยสั่งการให้มีการออกกฎโรงงานให้เป็นมาตฐานการทํางานที่ปลอดภัย มีการจัดทํามาตรฐานของโครงสร้าง เครื่องจักรกลและขั้นตอนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับคุณสมบัติสารและวัสดุ มีการตรวจสอบการทํางานของ ผู้ปฏิบัติงานและการทําวิจัยทางเทคนิคเพื่อความปลอดภัยของระบบการปฏิบัติงานและฝึกอบรม กําหนดให้ โรงงานที่มีอุบัติภัยต้องปลดป้ายการรับรองมาตรฐานที่ได้รับการรับรองออกจากระบบข้อมูลของโรงงานและ ต้องเข้าสู่การขอรับมาตรฐานใหม่โดยเร็ว การขาดระบบการทํางานที่ดีทําให้บริษัทในจังหวัดระยองทําน้ํามันรั่ว ซ้ําห่างจากครั้งแรกเพียง 16 วัน (25 ม.ค.และ 10 ก.พ. 2565)
8) สั่งการ/ออกประกาศบังคับตามกฎหมายให้มีการจัดตั้งศูนย์และกองทุนพร้อมเผชิญอุบัติเหตุโดย ระดมเงินจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ พร้อมกําลังคนที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมทําหน้าที่
9) สั่งการ/ออกประกาศบังคับตามกฎหมายให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรงต้องซื้อประกันความเสี่ยง อุบัติภัยที่พร้อมจ่ายเงินให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ โดยจ่ายงวดแรกทันทีไม่ชักช้า และจ่าย งวดต่อมาให้ประชาชนและความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และค่าใช้จ่ายในการ แก้ปัญหาและฟื้นฟู รวมทั้งต้องวางเงินเพื่อป้องกันการปิดโรงงานโดยเจ้าของหลบหนี ทิ้งปัญหาสารพิษไว้ใน โรงงานซึ่งปัจจุบันมีหลายแห่งในจังหวัดระยองและยังปล่อยมลพิษที่สําคัญอยู่ขณะนี้
10)ขอให้เร่งรัดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทําร่างประกาศและเร่งประกาศบังคับใช้มาตรการ ควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากแหล่งกําเนิดอุตสาหกรรม
11) สั่งการให้ใช้ปัญหามลพิษของเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองไปกําหนดเป็นตัวชี้วัดและเกณฑ์ ในการประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ของนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน อุตสาหกรรม เพื่อยกระดับเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับต่าง ๆ และก่อให้เกิดการพัฒนาของโรงงาน เพื่อลดมลพิษลงอย่างต่อเนื่อง
12) ขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสั่งให้จังหวัดระยองและหน่วยงานต่าง ๆ มีการจัดทําฐานข้อมูลกลางร่วมกัน โดย รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ และประมวลผลให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านประชากร ด้านจํานวน ประเภท ขนาดโรงงาน การปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และ ด้านสุขภาพ
13) เร่งรัดการออกกฎหมายเฉพาะของเขตควบคุมมลพิษ ให้สามารถกําหนดบทลงโทษและกําหนด ให้เก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกันและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากผู้ที่ก่อมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ และกําหนดวิธีการ ใช้งบประมาณที่สามารถดําเนินการเพื่อลดและขจัดมลพิษในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษได้
14) เร่งรัดการออกกฎหมายและบังคับใช้เพื่อกําหนดแนวป้องกันโดยรอบ (Protection Strip) เพื่อ เว้นระยะห่างระหว่างเขตโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชน และแนวพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างพื้นที่ อุตสาหกรรมกับพื้นที่ชุมชน/พื้นที่ท่องเที่ยว เนื่องจากมีการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดระยอง และที่สําคัญคือ ต้องเร่งรัดให้ประกาศ พ.ร.บ. การรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (Pollutant Release and Transfer Registers : PRTR) ซึ่งมีความสําคัญต่อการแก้ปัญหาเขตควบคุมมลพิษ และการ บรรลุเป้าหมายของแผนปฏิรูปประเทศและแผนยุทธศาสตร์ชาติ