POLITICS

‘กรณ์’ ชี้ หนี้เสียพุ่ง 13 ล้านบัญชีจากโควิด เสนอพักชำระเงินต้น-ลดดอกเบี้ย

วันนี้ (27 ส.ค.65) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า แถลงข่าวประเด็นเศรษฐกิจที่รักษาการนายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้า โดยระบุว่า ต้องการแก้อาถรรพ์ตัวเลข 13 เพราะมีพี่น้องประชาชน 13 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้ช่วงโควิด-19 และติดบูโร มูลค่ารวมประมาณ 3-4 แสนล้านบาท เนื่องจากแบบภาระหนี้ไม่ไหว ทั้งยังมีอีก 10 ล้านบัญชีเสี่ยงเป็นหนี้เสีย (NPL) ติดบูโร ทำให้ต้องแก้ปัญหาด้วยทุนนอกระบบ เป็นเรื่องแรกที่รักษาการนายกรัฐมนตรีต้องพูดคุยกับทีมเศรษฐกิจในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารนี้

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บัญชีการกู้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เดิมเพิ่ม ขึ้น 8 แสนบัญชีต่อไตรมาส แต่ปัจจุบันพุ่งสูง 2.5 ล้านต่อไตรมาส ทำให้มีบัญชีเงินกู้เพิ่ม 13 ล้านบัญชี หรือราว 8 ล้านชีวิต โดยเปรียบเทียบตัวเลขหนี้เสียปี 2565 ว่า มกราคม 2565 มีมากกว่า2.3 ล้านบัญชีเงินกู้ คิดเป็น 1.9 ล้านคน มีนาคม 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 ล้านบัญชีเงินกู้ คิดเป็น 2.1 ล้านคน มิถุนายน 2565 เพิ่มเปโน 4.3 ล้านบัญชีเงินกู้ คิดเป็น 2.9 ล้านคน ทั้งหมดเป็นผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง

ที่ผ่านมารัฐเปิดโครงการสินเชื่อเงินกู้จากธนาคารรัฐ และธนาคารพาณิชย์ของเอกชน แต่ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล อัตราสินเชื่อ 3 ปี และอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 4% เมื่อรัฐยื่นหนี้ให้ “รัฐจะต้องไม่ปล่อยให้ประชาชนตาย” พรรคกล้าเสนอแนวคิด “กล้าฟื้นชีวิต” ประกอบด้วย

1.พักชำระเงินต้น 2 ปี
2.ลดดอกเบี้ยเหลือ 1% ใน 1 ปี
3.แขวนอัตราดอกเบี้ยค่าปรับ อย่าให้เป็นภาระแขวนคอประชาชน

นายกรณ์ ยกตัวอย่างกรณีประชาชนมีหนี้ 50,000 บาท ต้องจ่ายเงินต้นและดออกเบี้ย 1,564 บาทต่อเดือน หากทำตามที่พรรคกล้าเสนอจะลดภาระเหลือ 43 บาทต่อเดือนเท่านั้น

ส่วนอีก 10 ล้านบัญชีที่สุ่มเสี่ยงเป็นหนี้เสีย หากไปไหวต้องเข้าโครงการเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากใครไปต่อได้จะเป็นไปตามสัญญาเดิม และจะได้ Cash Back 5% ของเงินต้นด้วย

นายกรณ์ ย้ำว่า ทกุวันที่รัฐบาลนิ่งเฉย ไม่มีมาตรการช่วยประชาชน อาจจะมีประชาชนหลักพัน หลักแสน หรือหลักล้าน พลัดตกไปอยู่ในบูโร ซึ่งทำให้ฟื้นคืนกลับมายาก มาตรการเหล่านี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วออกเป็นนโยบายได้ทันที โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ

Related Posts

Send this to a friend